ควรจัดทำคู่มือ ช่วยคนไทยเข้าใจรัฐธรรมนูญ
แม้ว่ารัฐบาล พยายามผลักดันให้ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็น ให้เป็นที่สนใจของสาธารณชนจนเกิดความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น การทำความเข้าใจรับรู้เนื้อหารัฐธรรมนูญ การเสนอแนะถกเถียงในเชิงสร้างสรรค์ ไปจนถึงการลงประชามติรับร่างฯ มากเพียงใด แต่ก็ยังพบว่า คนไทยในปัจจุบันมีความเข้าใจเนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ ตลอดจนการนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์ไม่มากนัก
หนังสือเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ในบางหมวดบางมาตรา อาจถูกตั้งข้อสงสัยถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ไม่ชัดเจน หรือตัวบทกฎหมายที่มีความคลุมเครือ จนต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความและวินิจฉัยในข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นจำนวนหลายร้อยคดีในรอบ 9 ปีเศษที่ผ่านมา ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องรับภาระอย่างมาก และทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศในกรณีที่ทำให้สถาบันทางการเมืองไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ
ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรจัดทำldquo;หนังสือเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญrdquo;ควบคู่ไปกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งหนังสือดังกล่าวจะอธิบายถึงที่มาของมาตรา เหตุผลและความจำเป็นในมาตราดังกล่าว เสมือนตำราคู่มือในการศึกษารัฐธรรมนูญให้กับประชาชน เรียนรู้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วประเทศเกิดความรู้ความเข้าใจวัตถุประสงค์ เนื้อหา และที่มาของรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตรา
ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็น ที่ได้ตีพิมพ์ออกมาให้ประชาชนศึกษากัน ก่อนที่จะถึงเวลาลงประชามติเพื่อรับร่างฯนั้น ปรากฏว่าเนื้อหาในร่างฯ มีคำเฉพาะที่อาจตีความได้มากกว่าหนึ่งอย่าง การใช้ภาษาหรือข้อความบางประโยคอธิบายขอบเขตของกฎหมายยังคลุมเครือ และยากต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไปได้
อาทิ ในมาตรา 68 (2) ที่มีข้อความว่า ภาวะวิกฤติ เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง อาจก่อให้เกิดความสงสัยถึงระดับความวิกฤติ ลักษณะเหตุการณ์คับขันว่าเป็นอย่างไรในมาตรา73 (1)มีคำว่า หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งแปลมาจากคำว่า Good Governance และ ในมาตรา 117 มีคำว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งคำเหล่านี้ยังมีความหมายเป็นนามธรรมอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประชาชนผู้อ่านและใช้รัฐธรรมนูญอาจไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้
ดังนั้น รัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์จะเข้าถึงประชาชนทั่วไปได้ และเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี ได้รับการยอมรับเนื่องด้วยเนื้อหาสาระที่สมเหตุสมผล เป็นประโยชน์ และใช้ได้จริงท่ามกลางภาวะบ้านเมืองปัจจุบัน รวมถึงไม่เพิ่มความสับสนวุ่นวายในการตีความคำคลุมเครือ จึงควรมีการนิยามเพื่ออธิบายความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน โดยจัดทำ ldquo;หนังสือนิยามศัพท์รัฐธรรมนูญrdquo; พิมพ์ออกมาควบคู่กับรัฐธรรมนูญของปวงชนชาวไทยด้วย
ในส่วนของเนื้อหาที่จะบรรจุในหนังสือนิยามศัพท์รัฐธรรมนูญนั้น ควรประกอบด้วยคำศัพท์หรือข้อความที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ หรือสามารถตีความได้หลายรูปแบบ เป็นการปิดกั้นโอกาสผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ผลประโยชน์ตกแก่ตนเองและพวกพ้อง รวมทั้งเปิดโอกาสให้การศึกษาแก่ประชาชนมากขึ้น ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีคำอธิบายอย่างชัดเจน ลดปัญหาการตีความเมื่อต้องนำไปใช้ให้มากที่สุด
ผมจึงหวังว่าข้อเสนอนี้ จะไม่ทำให้สูญเสียงบประมาณในการผลิตคู่มือทั้ง 2 ฉบับไปอย่างสูญเปล่า แต่ในทางกลับกันจะยิ่งช่วยประหยัดเวลาในการตีความถ้อยคำที่คลุมเครือ และป้องกันการถูกใช้ไปในทางที่ผิดได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางปัญญาแก่ประชาชนในการทำความเข้าใจกฎหมายสูงสุดของประเทศ อันเป็นการสร้างรากฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ประชาชนชาวไทยอีกทางหนึ่ง จึงอยากฝากข้อเสนอนี้ไว้ให้กับคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา เพื่อดำเนินการจัดทำคู่มือเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้
เนื่องจากพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ความสนใจต่อประเด็นรัฐธรรมนูญของคนไทยมีความแตกต่างกันมาก ระหว่างผู้ที่มีความสนใจที่มีการศึกษาสูงหรือมีความรู้กับชาวบ้านที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่เมื่อร่างฯ ผ่านการลงประชามติแล้วกลับต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญนั้น ฉะนั้นความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน คือ การจัดทำคู่มือประกอบรัฐธรรมนูญควบคู่ไปกับการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย อาทิ
หนังสือเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ในบางหมวดบางมาตรา อาจถูกตั้งข้อสงสัยถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ไม่ชัดเจน หรือตัวบทกฎหมายที่มีความคลุมเครือ จนต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความและวินิจฉัยในข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นจำนวนหลายร้อยคดีในรอบ 9 ปีเศษที่ผ่านมา ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องรับภาระอย่างมาก และทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศในกรณีที่ทำให้สถาบันทางการเมืองไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ
ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรจัดทำldquo;หนังสือเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญrdquo;ควบคู่ไปกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งหนังสือดังกล่าวจะอธิบายถึงที่มาของมาตรา เหตุผลและความจำเป็นในมาตราดังกล่าว เสมือนตำราคู่มือในการศึกษารัฐธรรมนูญให้กับประชาชน เรียนรู้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วประเทศเกิดความรู้ความเข้าใจวัตถุประสงค์ เนื้อหา และที่มาของรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตรา
ขณะเดียวกัน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ในนประโยชการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันแก่ผู้นำไปปฏิบัติใช้ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ฯลฯ ที่จะไม่ตีความรัฐธรรมนูญตามใจปรารถนาของตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปในการทำความเข้าใจเจตนารมณ์ในแต่ละเรื่องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ช่วยให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันในมุมมองที่มีต่อรัฐธรรมนูญอีกด้วย
หนังสือนิยามศัพท์รัฐธรรมนูญ
ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับรับฟังความคิดเห็น ที่ได้ตีพิมพ์ออกมาให้ประชาชนศึกษากัน ก่อนที่จะถึงเวลาลงประชามติเพื่อรับร่างฯนั้น ปรากฏว่าเนื้อหาในร่างฯ มีคำเฉพาะที่อาจตีความได้มากกว่าหนึ่งอย่าง การใช้ภาษาหรือข้อความบางประโยคอธิบายขอบเขตของกฎหมายยังคลุมเครือ และยากต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไปได้
อาทิ ในมาตรา 68 (2) ที่มีข้อความว่า ภาวะวิกฤติ เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง อาจก่อให้เกิดความสงสัยถึงระดับความวิกฤติ ลักษณะเหตุการณ์คับขันว่าเป็นอย่างไรในมาตรา73 (1)มีคำว่า หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งแปลมาจากคำว่า Good Governance และ ในมาตรา 117 มีคำว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งคำเหล่านี้ยังมีความหมายเป็นนามธรรมอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประชาชนผู้อ่านและใช้รัฐธรรมนูญอาจไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้
ดังนั้น รัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์จะเข้าถึงประชาชนทั่วไปได้ และเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี ได้รับการยอมรับเนื่องด้วยเนื้อหาสาระที่สมเหตุสมผล เป็นประโยชน์ และใช้ได้จริงท่ามกลางภาวะบ้านเมืองปัจจุบัน รวมถึงไม่เพิ่มความสับสนวุ่นวายในการตีความคำคลุมเครือ จึงควรมีการนิยามเพื่ออธิบายความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน โดยจัดทำ ldquo;หนังสือนิยามศัพท์รัฐธรรมนูญrdquo; พิมพ์ออกมาควบคู่กับรัฐธรรมนูญของปวงชนชาวไทยด้วย
ในส่วนของเนื้อหาที่จะบรรจุในหนังสือนิยามศัพท์รัฐธรรมนูญนั้น ควรประกอบด้วยคำศัพท์หรือข้อความที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ หรือสามารถตีความได้หลายรูปแบบ เป็นการปิดกั้นโอกาสผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ผลประโยชน์ตกแก่ตนเองและพวกพ้อง รวมทั้งเปิดโอกาสให้การศึกษาแก่ประชาชนมากขึ้น ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีคำอธิบายอย่างชัดเจน ลดปัญหาการตีความเมื่อต้องนำไปใช้ให้มากที่สุด
ผมจึงหวังว่าข้อเสนอนี้ จะไม่ทำให้สูญเสียงบประมาณในการผลิตคู่มือทั้ง 2 ฉบับไปอย่างสูญเปล่า แต่ในทางกลับกันจะยิ่งช่วยประหยัดเวลาในการตีความถ้อยคำที่คลุมเครือ และป้องกันการถูกใช้ไปในทางที่ผิดได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางปัญญาแก่ประชาชนในการทำความเข้าใจกฎหมายสูงสุดของประเทศ อันเป็นการสร้างรากฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ให้ประชาชนชาวไทยอีกทางหนึ่ง จึงอยากฝากข้อเสนอนี้ไว้ให้กับคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา เพื่อดำเนินการจัดทำคู่มือเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้
Catagories:
Tags:
เผยแพร่:
สยามรัฐรายวัน
เมื่อ:
2007-06-22
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 145 ครั้ง
คนไทยเรียนรู้อะไร จากบทเพลงสุดท้ายของพี่ศรี
Total views: อ่าน 66 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร
Total views: อ่าน 229 ครั้ง
บทบาทของไทยและอาเซียนต่อการรวมเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว
Total views: อ่าน 1,991 ครั้ง
การสร้างคุณภาพชีวิตเมืองเพื่อการสร้างชาติ ด้วยโมเดลเมืองน่าอยู่ 12 มิติ: Dr.Dan Can Do’s Livable City Model
Total views: อ่าน 2,625 ครั้ง