นโยบายเศรษฐกิจวางยา : ชี้เป็นชี้ตายภาคการผลิต

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลตลอด 5 ปีที่ผ่านมาไม่เพียงบั่นทอนศักยภาพของคนภายในประเทศเท่านั้น แต่นโยบายบางส่วนยังเป็นการทำลายภาคการผลิตภาคส่วนให้ล่มสลาย โดยเหลือไว้เพียงส่วนที่คนในรัฐบาลและพวกพ้องจะได้ประโยชน์เท่านั้น ซึ่งหากปล่อยให้การดำเนินนโยบายเป็นไปตามการสั่งการของรัฐบาล ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือประชาชนที่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากนโยบายที่ไม่รอบคอบของรัฐบาล

นโยบายเศรษฐกิจกรัมม็อกโซน (ยาฆ่าหญ้า) คือนโยบายเปิดเขตการค้าเสรี หรือ FTA ที่ขาดส่วนผสมของความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และการศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบ นโยบายนี้มีสรรพคุณ lsquo;เหี่ยวทั้งใบ ตายถึงราก (หญ้า)rsquo; รัฐบาลเลือกได้ตามใจชอบว่า จะให้ภาคการผลิตใดอยู่รอดหรือตาย และมีผลทำให้รากหญ้าตายได้ทันทีที่เปิดเสรี

การเจรจา FTA ที่ผ่านมา ผู้ที่ได้ประโยชน์เป็นกลุ่มธุรกิจใกล้ชิดรัฐบาล แต่กลุ่มที่ตายคือเกษตรกรรากหญ้าที่ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกหอม กระเทียม ผัก ผลไม้ โคนม และโคเนื้อนับล้านครอบครัว และหากการเจรจา FTA กับสหรัฐสำเร็จ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองอีกเป็นล้านครอบครัวต้องเลิกอาชีพ เร่งให้สังคมชนบทล่มสลาย เกษตรกรอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในเมืองมากขึ้น และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร ในยามที่เกิดวิกฤต

นโยบายเศรษฐกิจยาสั่ง เป็นนโยบายที่รัฐบาลทำตัวเหมือน ldquo;คุณพ่อรู้ดีrdquo; และใช้ ldquo;สั่งrdquo; เพื่อชี้เป็นชี้ตายภาคการผลิตต่าง ๆ เช่น การตั้งเป้าให้ไทยเป็นฮับด้านต่าง ๆ จำนวนมาก การกำหนดสาขาการผลิตที่จะทำให้เป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) 5 กลุ่ม คือ อาหาร ยานยนต์ แฟชั่น ท่องเที่ยว และซอฟท์แวร์ โดยที่ไม่ได้มีรากฐานมาจากการวิจัย นโยบายยาสั่งทำให้เกิดการบิดเบือน ทำให้บางอุตสาหกรรมได้อภิสิทธิ์จากนโยบายรัฐ และจะทำให้คนไทยเสียประโยชน์ หากรัฐบาลเลือกอุตสาหกรรมที่ผิด ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะเลือกอุตสาหกรรมผิด

จากงานวิจัยที่ผมนำเสนอต่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ชื่อ ldquo;ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตไทยrdquo; พบว่าอุตสาหกรรมที่รัฐบาลควรจะส่งเสริม คือ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์อโลหะ เครื่องมือและเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์จากยางและพลาสติก และผลิตภัณฑ์จากไม้ หากเปรียบเทียบผลการวิจัยกับกลุ่มอุตสาหกรรม 5 กลุ่มที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมนั้น พบว่ามีเพียง 2 กลุ่มที่มีความสามารถในการแข่งขัน

นโยบายเศรษฐกิจดีดีที (ยาฆ่าแมลง) คือนโยบายส่งเสริมการผูกขาด ทั้งจากกลุ่มทุนในประเทศและกลุ่มทุนต่างชาติ เป็นเสมือนนโยบายดีดีทีที่ทำให้กิจการขนาดเล็กทยอยกันตายเกลี้ยง ขณะที่ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบ เพราะเหลือแต่กิจการใหญ่ ๆ อาทิ การเตะถ่วงการพัฒนากฎหมายการแข่งขันทางการค้า ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการป้องกันการผูกขาด การควบรวมกิจการ และการใช้อำนาจเหนือตลาด ตลอดจนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยยังรักษาการผูกขาดเอาไว้ รวมทั้งใช้อำนาจรัฐกำหนดนโยบายและออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดใหญ่ของกลุ่มทุนใกล้ชิดรัฐบาล และนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะกิจการโทรคมนาคม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ธุรกิจค้าปลีก และกิจการสาธารณูปโภค

ที่ผ่านมารัฐบาลวางยาประชาชน โดยใช้นโยบายที่ฉาบฉวยเห็นผลเพียงระยะสั้น แต่ไม่ได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ศักยภาพ และความเข้มแข็งของประชาชน เพื่อให้เศรษฐกิจไทยแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในอนาคต แม้วันนี้ประชาชนบางส่วนอาจจะยังรู้สึกดีอยู่ แต่ยากำลังเริ่มออกฤทธิ์ และจะทำให้รากฐานเศรษฐกิจไทยค่อย ๆ ตายลงทีละเล็กละน้อย

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-02-10