ทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา?

วันหนึ่ง ผมไปบรรยายให้กับนักศึกษาและคณาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ในช่วงเช้าก่อนการบรรยาย ?คุณสิริพร? เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งของหน่วยงานนั้น ได้นำอาหารว่างมาให้ผม..ผมทั้งแปลกใจ และประทับใจในเวลาเดียวกัน
อาหารว่างของผมแตกต่างจากอาหารว่างที่เตรียมไว้ให้ทุกคน เพราะนอกจากมีกาแฟ และขนมตามปกติแล้ว ยังมีซุปไก่สกัดหนึ่งขวดวางอยู่ด้วย  ผมยังถ่ายภาพมาเลย ด้วยความประทับใจว่า เจ้าหน้าที่ท่านนี้เป็นคนที่เอาใจใส่ผู้อื่น ทำมากกว่าหน้าที่ที่ควรทำ คือ แทนที่จะนำอาหารว่างที่เหมือน ๆ กับของคนอื่นมาเสิร์ฟให้ผม แต่เขาคิดไปไกลกว่านั้น ด้วยใจที่เอาใจใส่ เพราะรู้ว่า ผมคงเดินทางมาไกล ต้องปฏิบัติภารกิจมาหลายอย่าง อาจจะเหนื่อยและพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงได้เตรียมซุปไก่บำรุงร่างกายเพิ่มมาด้วย 

ผมได้ชมคุณสิริพรให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งฟัง บอกท่านว่า มหาวิทยาลัยนี้ดีที่มีคนแบบนี้อยู่ ไม่ได้ทำเพียงเป็นหน้าที่เท่านั้น แต่ทำดีมากกว่า และเมื่อขึ้นเวทีไปบรรยาย ผมได้หยิบซุปไก่สกัดขึ้นไปบนเวทีด้วย และชื่นชมเจ้าหน้าที่คนนี้ให้ที่ประชุมฟัง  ด้วยความประทับใจ เพราะตั้งแต่ผมไปบรรยายมา ผมยังไม่เคยเห็นมีใครเอาซุปไก่สกัดมาให้ผมเลยตลอดชีวิตนี้ 
 
คุณสิริพร คงคิดไม่ถึงว่า เพียงซุปไก่สกัด 1 ขวดที่เธอเตรียมให้ผม จะได้รับเสียงชื่นชมจากผมผ่านทั้งผู้บริหาร และทั้งที่ประชุมมากขนาดนี้...ผมเชื่อว่า หลังจากวันนั้น เจ้าหน้าที่ท่านนี้คงได้รับเสียงชื่นชมทั้งจากเพื่อนร่วมงานและผู้บริหาร และมีความก้าวหน้าในการทำงานมากขึ้น
 
การที่ผมยกตัวอย่างความประทับใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่ท่านนี้ เพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้อ่าน ในฐานะ ?คนทำงาน?  ให้ตระหนักถึงคุณค่าการทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา? ...ไม่เพียงทำตามหน้าที่ของตน โดยไม่สนใจผู้อื่น แต่คำนึงถึงบุคคลรอบข้างที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงภาพรวม และตัดสินใจทำในสิ่งที่จะเกิดผลดีที่สุด โดยคำนึงว่า ถ้าเป็นตัวเรา เราคงต้องการให้อีกฝ่ายกระทำแบบเดียวกัน
 
ทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา? โดยมองว่า อีกฝ่ายเป็นเช่นไร? ต้องการอะไร? ควรได้รับอะไร? แล้วจึงคิดว่า เราควรทำอะไร? ควรทำอย่างไร? คนทำงานบางคนทำงานแบบไม่สนใจใคร มักจะคิดเพียงว่า เรามีหน้าที่อะไร และทำตามหน้าที่นั้นก็เพียงพอแล้ว เช่น ในกรณีตัวอย่างข้างต้น เจ้าหน้าที่โดยทั่วไป มักทำเพียงยกอาหารว่างมาเสริฟเท่านั้น ย่อมเพียงพอแล้ว และถือว่าปฏิบัติหน้าที่ของตนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่ความผิด แต่คนที่ทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา? จะคิดและทำมากกว่านั้น โดยคำนึงในรายละเอียดเฉพาะบุคคล และทำในสิ่งที่เหมาะสมกับบุคคลนั้นมากที่สุด ด้วยจิตใจที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่น มีความจริงใจอยากให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด 
 
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานขายคนหนึ่ง พยายามบรรยายสรรพคุณต่าง ๆ ของสินค้า และหาเหตุผลชักแม่น้ำทั้งห้าให้ลูกค้าคล้อยตามว่า เพราะเหตุใดจึงควรซื้อ โดยไม่สนใจว่าสินค้านั้น เหมาะสมกับลูกค้าคนนั้นจริง ๆ หรือไม่ ในขณะที่ พนักงานขายอีกคนหนึ่ง เข้าไปพูดคุย สอบถามความต้องการความสนใจของลูกค้า จนเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วจึงนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้อย่างแท้จริง 
 
ถามว่า ลูกค้าจะประทับใจพนักงานขายคนใดมากกว่ากัน? แน่นอนว่า ย่อมเป็นคนที่สอง เพราะไม่เพียงเอาใจใส่มากกว่า ยังมั่นใจว่าสินค้าที่ซื้อไปแล้วนั้น เหมาะสมกับตัวเขาอย่างแท้จริง 
 
ผู้ที่มีนิสัยการทำงานเช่นนี้ ย่อมสร้างความประทับใจให้คนรอบตัวได้มาก และหากอยู่ในอาชีพที่ควรให้ความใส่ใจผู้อื่น เช่น ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการลูกค้า ต้องพบปะพูดคุยกับลูกค้า ประสานงานกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร ฯลฯ การให้ความเอาใจใส่ในรายละเอียดของอีกฝ่าย และตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ย่อมช่วยเพิ่มพูนทั้งความสัมพันธ์อันดี ความประทับใจ และความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันให้มากขึ้นได้
 
ทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา? เพิ่ม ?ทุนความดี? ในตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะแสดงออกถึงนิสัยที่ดี ซึ่งจะทำให้คนรอบข้างประทับใจ เช่น เราเห็นเพื่อนทำงานด่วน มีเวลาจำกัด เราเข้าไปเสนอตัวช่วยเหลือ แม้ไม่ใช่หน้าที่ของตน เพื่อให้งานเสร็จทันเวลา เพราะเห็นแก่เพื่อน และเห็นแก่องค์กรด้วย เพราะหากเสร็จไม่ทัน ลูกค้าอาจไม่รับงานได้ และคิดว่า หากเราเผชิญเหตุการณ์เช่นนี้บ้าง เราคงต้องการให้อีกฝ่ายทำแบบเดียวกัน จึงยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เป็นต้น 
ผลลัพธ์ที่เขาได้รับ นอกจากเพื่อนร่วมงานจะรู้สึกขอบคุณในความมีน้ำใจของเราแล้ว หัวหน้างานย่อมมั่นใจว่า เราเป็นคนที่เห็นแก่ภาพรวม ยินดีเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองอย่างเห็นแก่ตัว ย่อมเป็นคนที่มีโอกาส ?ก้าวหน้า? ในตำแหน่งหน้าที่การงานได้ เมื่อเทียบกับคนที่ทำแต่งานในหน้าที่ของตน โดยไม่ใส่ใจผู้อื่น
 
จำไว่ว่า การเอาใจใส่ผู้อื่น และทำสิ่งดีเพื่อผู้อื่น แม้ไม่ใช่เป็นหน้าที่ แม้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในทางบวกให้กับชีวิตเราได้ 
วันหนึ่ง ผมไปบรรยายให้กับนักศึกษาและคณาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ในช่วงเช้าก่อนการบรรยาย ?คุณสิริพร? เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งของหน่วยงานนั้น ได้นำอาหารว่างมาให้ผม..ผมทั้งแปลกใจ และประทับใจในเวลาเดียวกัน
อาหารว่างของผมแตกต่างจากอาหารว่างที่เตรียมไว้ให้ทุกคน เพราะนอกจากมีกาแฟ และขนมตามปกติแล้ว ยังมีซุปไก่สกัดหนึ่งขวดวางอยู่ด้วย  ผมยังถ่ายภาพมาเลย ด้วยความประทับใจว่า เจ้าหน้าที่ท่านนี้เป็นคนที่เอาใจใส่ผู้อื่น ทำมากกว่าหน้าที่ที่ควรทำ คือ แทนที่จะนำอาหารว่างที่เหมือน ๆ กับของคนอื่นมาเสิร์ฟให้ผม แต่เขาคิดไปไกลกว่านั้น ด้วยใจที่เอาใจใส่ เพราะรู้ว่า ผมคงเดินทางมาไกล ต้องปฏิบัติภารกิจมาหลายอย่าง อาจจะเหนื่อยและพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงได้เตรียมซุปไก่บำรุงร่างกายเพิ่มมาด้วย 
 
ผมได้ชมคุณสิริพรให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งฟัง บอกท่านว่า มหาวิทยาลัยนี้ดีที่มีคนแบบนี้อยู่ ไม่ได้ทำเพียงเป็นหน้าที่เท่านั้น แต่ทำดีมากกว่า และเมื่อขึ้นเวทีไปบรรยาย ผมได้หยิบซุปไก่สกัดขึ้นไปบนเวทีด้วย และชื่นชมเจ้าหน้าที่คนนี้ให้ที่ประชุมฟัง  ด้วยความประทับใจ เพราะตั้งแต่ผมไปบรรยายมา ผมยังไม่เคยเห็นมีใครเอาซุปไก่สกัดมาให้ผมเลยตลอดชีวิตนี้ 
 
คุณสิริพร คงคิดไม่ถึงว่า เพียงซุปไก่สกัด 1 ขวดที่เธอเตรียมให้ผม จะได้รับเสียงชื่นชมจากผมผ่านทั้งผู้บริหาร และทั้งที่ประชุมมากขนาดนี้...ผมเชื่อว่า หลังจากวันนั้น เจ้าหน้าที่ท่านนี้คงได้รับเสียงชื่นชมทั้งจากเพื่อนร่วมงานและผู้บริหาร และมีความก้าวหน้าในการทำงานมากขึ้น
 
การที่ผมยกตัวอย่างความประทับใจที่มีต่อเจ้าหน้าที่ท่านนี้ เพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้อ่าน ในฐานะ ?คนทำงาน?  ให้ตระหนักถึงคุณค่าการทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา? ...ไม่เพียงทำตามหน้าที่ของตน โดยไม่สนใจผู้อื่น แต่คำนึงถึงบุคคลรอบข้างที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงภาพรวม และตัดสินใจทำในสิ่งที่จะเกิดผลดีที่สุด โดยคำนึงว่า ถ้าเป็นตัวเรา เราคงต้องการให้อีกฝ่ายกระทำแบบเดียวกัน
 
ทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา? โดยมองว่า อีกฝ่ายเป็นเช่นไร? ต้องการอะไร? ควรได้รับอะไร? แล้วจึงคิดว่า เราควรทำอะไร? ควรทำอย่างไร? คนทำงานบางคนทำงานแบบไม่สนใจใคร มักจะคิดเพียงว่า เรามีหน้าที่อะไร และทำตามหน้าที่นั้นก็เพียงพอแล้ว เช่น ในกรณีตัวอย่างข้างต้น เจ้าหน้าที่โดยทั่วไป มักทำเพียงยกอาหารว่างมาเสริฟเท่านั้น ย่อมเพียงพอแล้ว และถือว่าปฏิบัติหน้าที่ของตนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่ความผิด แต่คนที่ทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา? จะคิดและทำมากกว่านั้น โดยคำนึงในรายละเอียดเฉพาะบุคคล และทำในสิ่งที่เหมาะสมกับบุคคลนั้นมากที่สุด ด้วยจิตใจที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่น มีความจริงใจอยากให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด 
 
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานขายคนหนึ่ง พยายามบรรยายสรรพคุณต่าง ๆ ของสินค้า และหาเหตุผลชักแม่น้ำทั้งห้าให้ลูกค้าคล้อยตามว่า เพราะเหตุใดจึงควรซื้อ โดยไม่สนใจว่าสินค้านั้น เหมาะสมกับลูกค้าคนนั้นจริง ๆ หรือไม่ ในขณะที่ พนักงานขายอีกคนหนึ่ง เข้าไปพูดคุย สอบถามความต้องการความสนใจของลูกค้า จนเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วจึงนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้อย่างแท้จริง 
 
ถามว่า ลูกค้าจะประทับใจพนักงานขายคนใดมากกว่ากัน? แน่นอนว่า ย่อมเป็นคนที่สอง เพราะไม่เพียงเอาใจใส่มากกว่า ยังมั่นใจว่าสินค้าที่ซื้อไปแล้วนั้น เหมาะสมกับตัวเขาอย่างแท้จริง 
 
ผู้ที่มีนิสัยการทำงานเช่นนี้ ย่อมสร้างความประทับใจให้คนรอบตัวได้มาก และหากอยู่ในอาชีพที่ควรให้ความใส่ใจผู้อื่น เช่น ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการลูกค้า ต้องพบปะพูดคุยกับลูกค้า ประสานงานกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กร ฯลฯ การให้ความเอาใจใส่ในรายละเอียดของอีกฝ่าย และตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ย่อมช่วยเพิ่มพูนทั้งความสัมพันธ์อันดี ความประทับใจ และความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันให้มากขึ้นได้
 
ทำงานแบบ ?เอาใจเขามาใส่ใจเรา? เพิ่ม ?ทุนความดี? ในตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะแสดงออกถึงนิสัยที่ดี ซึ่งจะทำให้คนรอบข้างประทับใจ เช่น เราเห็นเพื่อนทำงานด่วน มีเวลาจำกัด เราเข้าไปเสนอตัวช่วยเหลือ แม้ไม่ใช่หน้าที่ของตน เพื่อให้งานเสร็จทันเวลา เพราะเห็นแก่เพื่อน และเห็นแก่องค์กรด้วย เพราะหากเสร็จไม่ทัน ลูกค้าอาจไม่รับงานได้ และคิดว่า หากเราเผชิญเหตุการณ์เช่นนี้บ้าง เราคงต้องการให้อีกฝ่ายทำแบบเดียวกัน จึงยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เป็นต้น 
 
ผลลัพธ์ที่เขาได้รับ นอกจากเพื่อนร่วมงานจะรู้สึกขอบคุณในความมีน้ำใจของเราแล้ว หัวหน้างานย่อมมั่นใจว่า เราเป็นคนที่เห็นแก่ภาพรวม ยินดีเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองอย่างเห็นแก่ตัว ย่อมเป็นคนที่มีโอกาส ?ก้าวหน้า? ในตำแหน่งหน้าที่การงานได้ เมื่อเทียบกับคนที่ทำแต่งานในหน้าที่ของตน โดยไม่ใส่ใจผู้อื่น
 
จำไว่ว่า การเอาใจใส่ผู้อื่น และทำสิ่งดีเพื่อผู้อื่น แม้ไม่ใช่เป็นหน้าที่ แม้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในทางบวกให้กับชีวิตเราได้ 
 

ที่มา: งานวันนี้

งานวันนี้ ปีที่ 15 ฉบับที่ 693 วันที่ 1-8 กรกฎาคม 2557
 

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com

แหล่งที่มาของภาพ : http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/701/529/large_hearts.jpg?1300263891

Catagories: