อำนาจนี้มี ?เพื่อเธอ?
พ่อแม่จำนวนมากในสังคมมีแนวทางที่หลากหลายแตกต่างกันไปในการอบรมเลี้ยงดูลูกของตน ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ประเภทที่ชอบใช้อำนาจเป็นใหญ่หรือเผด็จการนิยม พ่อแม่ประเภทเมตตามหานิยมเลี้ยงลูกแบบเพื่อน ไม่กล้าใช้อำนาจกับลูกของตน รวมไปถึงพ่อแม่ประเภทประชาธิปไตยที่สมาชิกในครอบครัวทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการไม่มีใครใหญ่กว่าใคร เป็นต้น
แต่ละแนวทางที่พ่อแม่ใช้ในการเลี้ยงดูลูกของตนนั้นล้วนแล้วแต่มาจากมุมมองปรัชญา โลกทัศน์ที่แตกต่างกันในการให้ความหมายหรือนิยามของการเป็น “พ่อแม่” นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ บทบาทหน้าที่ สิทธิต่าง ๆ ของการเป็นพ่อแม่ที่มีต่อลูก รวมทั้งสิทธิหรือหน้าที่ต่าง ๆ ที่ลูกพึงมีต่อพ่อแม่ของตน
จากงานวิจัยพบว่า ในบริบทของสังคมไทย พ่อแม่ในครอบครัวไทยยังคงให้ลูกหลานรักษาระเบียบวินัย และเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ และมักไม่ค่อยให้ลูกมีอิสระมากนัก พ่อแม่ส่วนใหญ่มีแนวคิดตามสุภาษิตไทยว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี และมีแนวคิดค่อนไปทางอำนาจนิยมคิดว่าตนนั้นเป็นผู้นำในครอบครัว เป็นผู้ทำงานหารายได้ เลี้ยงดูส่งเสียให้ลูกได้มีกินมีใช้ เล่าเรียนหนังสือ เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตลูกมา และเชื่อว่าเด็กต้องได้รับการควบคุมบังคับเพื่อจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดี จึงมักแสดงอำนาจเหนือลูกในรูปแบบวิธีการต่าง ๆ วิธีหนึ่งที่ใช้คือ การ “ทำให้กลัว” ด้วยการดุด่าว่ากล่าว การพูดกดดัน การลงโทษด้วยวิธีการตี ตัดสิทธิประโยชน์ เป็นต้น
การใช้อำนาจด้วยการทำให้กลัวนี้อาจนำมาซึ่งปมปัญหาต่าง ๆ ตามมาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น การเกิดช่องว่างระหว่างพ่อแม่และลูก เนื่องจากลูกไม่รับรู้ว่าการใช้อำนาจของพ่อแม่ทำไปด้วยความรัก ความกลัวทำให้ขาดความสนิทสนมระหว่างกัน และการบังคับของพ่อแม่ทำให้ลูกอยากมีอิสระเมื่อโตขึ้น เขาอาจเติบโตมาเป็นคนที่ทำอะไรตามใจตนเอง ไร้ระเบียบวินัย หรือขาดแรงจูงใจที่จะควบคุมตนเองเนื่องจากไม่ต้องกังวลว่าจะถูกบังคับเช่นที่เคยเป็นในสมัยเด็กแต่อย่างใด
ในทางตรงกันข้าม พ่อแม่จำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับการเลี้ยงลูกด้วยการใช้อำนาจและทำให้เกิดความกลัว จึงหันมามาใช้วิธีการดูแลลูกในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ปฏิบัติต่อลูกเสมือนเป็นเพื่อน พูดคุย เป็นกันเอง เตือนได้แต่ไม่ใช้วิธีการรุนแรงใด ๆ หรืออาจเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตย ใช้เสียงข้างมากในการปกครองลูกและครอบครัว ทุกเสียงในครอบครัว พ่อแม่ลูก มีน้ำหนักเท่ากัน ทำให้อาจคิดเล่น ๆ ขำ ๆ ได้ว่า ในอาหารเย็นมื้อหนึ่ง หากลูกทั้งสามคนไม่ต้องการทานอาหารในมื้อนั้นแต่อยากทานไอศกรีมแทน โดยหลักประชาธิปไตยแล้วพ่อแม่มีสองเสียง ลูกมีสามเสียง แพ้ลูกแน่นอน ดังนั้นในมื้ออาหารนั้นพ่อแม่จำเป็นต้องยอมให้ลูกทานไอศกรีมแทนข้าวเย็นหรือไม่ ?
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วการเลี้ยงลูกแบบค่อนไปทางตามใจ ไม่มีการลงโทษ ไม่มีการว่ากล่าว ไม่มีการอธิบายเหตุผล ไม่มีการฝึกวินัยในการดำเนินชีวิตและไม่ได้ฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ส่งผลเมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาจะขาดทักษะในการแยกแยะว่าอะไรสมควร ไม่สมควร เมื่อทำบางสิ่งผิดพลาดขึ้นมาพ่อแม่จึงมักไปโทษที่ตัวเด็กเองว่าเป็นเด็กที่ไม่ดีและอาจลงโทษอย่างรุนแรง ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วคนที่สมควรถูกลงโทษร่วมด้วยนั้นก็คือ พ่อแม่ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบชีวิตเขาตั้งแต่เกิดมานั่นเอง
การเลี้ยงลูกเพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะตกแก่ลูก พ่อแม่ควรใช้วิธีเลี้ยงอย่างสมดุล เริ่มจากการมีมุมมองที่สมดุล การใช้อำนาจในบทบาทพ่อแม่นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดหรือเลวร้ายแต่อย่างใด ในฐานะหน้าที่แห่งการเป็น “ผู้นำ” หรือ “ผู้ปกครอง” ของเด็ก ๆ ที่ยังต้องการผู้คอยปกป้อง ให้กำลังใจ ชี้ถูกผิดและนำทิศนำทางเขาไปในทางที่ถูกต้องดีงาม จนกว่าลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถตัดสินใจเลือกเดินในทางที่ถูกต้อง แยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ โดยมีภูมิคุ้มกันในชีวิตอย่างรอบด้าน
ถึงกระนั้น การใช้อำนาจของพ่อแม่จะเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง หากพ่อแม่เองไม่ได้ตระหนักถึงเป้าหมายที่แท้จริงของการใช้อำนาจนั้นว่าใช้ไปเพื่อต้องการเห็นสิ่งดีใด ๆ เกิดขึ้นในชีวิตของลูกไม่ใช่เพื่อการลุแก่อำนาจหรือเพื่อการระบายอารมณ์ของพ่อแม่เอง รวมทั้งการตระหนักถึงสิทธิที่ลูกพึงได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการได้รับความรัก การให้เกียรติ การเลี้ยงดูอย่างดีทั้งร่างกายและจิตใจจากพ่อแม่ของตน
โดยหลักสำคัญของการใช้อำนาจให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลดีสูงสุดกับตัวลูกนั้นต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้
เจือด้วยความรักความเข้าใจ
มีคำกล่าวว่า “การฆ่าคนด้วยวิธีการที่เลือดเย็นมากที่สุดคือ การไม่รัก และการไม่แสดงออกซึ่งความรัก”
พ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่คำนึงถึงจิตใจของเด็กน้อยเกินไป แม้จะมีความรักให้แก่ลูกแต่อาจเป็นการใช้อำนาจในทางที่ก่อให้เกิดความกลัวมากกว่าแสดงออกถึงความรัก อาทิ การจ้องจับผิดลูกอยู่เสมอ มีแต่คอยซ้ำเติม ไม่เคยพูดชมเชยในความพยายามของลูก ไม่ได้ให้เวลา ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอ ไม่ได้เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจแต่เป็นผู้ที่ชอบใช้คำสั่งและอยากให้ลูกทำนั่นทำนี่เสมอ เพราะคิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงออกซึ่งความรักและความหวังดีที่มีต่อลูก
การใช้อำนาจในบทบาทของการเป็นพ่อแม่จึงต้องเจือด้วยความรักควบคู่ไปด้วยในทุกครั้ง เพื่อสามารถเอาชนะใจลูกได้ และให้ลูกซึมซับในทุกครั้งที่พ่อแม่ใช้อำนาจกับตนว่า นั่นคือการแสดงออกของความรักที่พ่อแม่มีต่อตนเอง แม้ในขณะที่ลูกยังเป็นเด็กจะยังไม่เข้าใจมากนักก็ตาม แต่เขาจะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้เป็นคนที่น่ากลัวสำหรับเขา เขาสามารถกล้าเข้ามาหาได้เมื่อยามที่ทำความผิดและสามารถพูดคุยได้ในทุก ๆ เรื่อง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาในสถานะที่สามารถเลือกที่จะเชื่อฟังหรือไม่เชื่อฟังคำของพ่อแม่ได้นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เขาย่อมมีแนวโน้มเลือกที่จะเชื่อฟังหรือยอมฟังเราอย่างเปิดใจมากกว่าการตั้งป้อมอคติแต่แรก เนื่องจากลูกจะเกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่พ่อแม่สั่ง ห้าม หรืออบรมสั่งสอนมานั้น เป็นเพราะความรักและความห่วงใยอย่างมากมายที่พ่อแม่มีให้แก่เขา อันเป็นเป็นผลมาจากการใช้อำนาจอย่างสมดุลทั้งพระเดชและพระคุณของผู้เป็นพ่อแม่นั่นเอง
การชี้ผิดชี้ถูกอย่างมีเหตุผล
สมาคมชมรมพ่อถึงพ่อ (Dad-to-Dad) ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้แบ่งปันประสบการณ์การเลี้ยงลูกให้เพื่อนสมาชิกและผู้สนใจผ่านเวบไซต์ทางอินเทอร์เน็ตว่า เมื่อ จอห์น ลูกชายวัยสองขวบของผมต้องการที่จะออกไปเล่นนอกบ้าน แกจะเดินมาหาผมแล้วพูดว่า “ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! “ (ด้วยการออกคำสั่ง) แต่ผมจะตามใจแกได้อย่างไรเมื่อในยามที่ฝนกำลังตก หรือเป็นเวลาที่ไม่เหมาะสมในการออกไปข้างนอกบ้าน แทนที่ผมจะตอบคำเว้าวอนของแกว่า “ไม่ ไม่ ไม่ไป” วันหนึ่งผมมองจ้องตาของแกแล้วพูดเบา ๆ ด้วยน้ำเสียงติดตลกว่า “จอห์น … ลูกรู้ไหมว่าทำไมจึงออกไปข้างนอกไม่ได้…เหตุผลหรือ เพราะว่าข้างนอกฝนมันตกน่ะสิ” จอห์นหยุดและนิ่งฟัง หยุดไปชั่วขณะหนึ่งผมจึงพูดต่อ เอาล่ะไหนบอกพ่อมาว่าทำไมลูกจึงออกไปข้างนอกไม่ได้ จอห์นหยุดร้องไห้ เอามือเช็ดน้ำตาแล้วตอบว่า “เพราะฝนกำลังตก” หลังจากนั้นมาผมใช้เทคนิคนี้มาตลอด โดยพบว่าตราบเท่าที่แกค้นพบคำตอบว่าทำไมจึงทำบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ เมื่อพบแล้วจอห์นจะหยุดร้องและถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นทันที โดยจะเริ่มต้นเรื่อง “ไม่” เรื่องใหม่มาให้พ่อแม่ต้องปวดหัวเล่นต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กโต เขาต้องการรู้เหตุผล นอกเหนือไปจากคำสั่ง “ห้าม” แต่เพียงอย่างเดียวในสิ่งที่เขาต้องการจะทำ เพราะการห้ามขึ้นมาลอย ๆ ไม่สามารถทำให้เขาเข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงทำในสิ่งที่ตนเองต้องการนั้นไม่ได้ พ่อแม่จึงต้องคอยชี้แจงเหตุผลให้ลูกเข้าใจอย่างเหมาะสมตามแต่ละช่วงวัยของเขา ไม่ใช่ใช้แต่การออกคำสั่งเท่านั้น โดยตระหนักว่าเด็กต้องการความเข้าใจและต้องการตอบตัวเองให้ได้ว่าเหตุใดเขาจึงทำสิ่งนี้ได้ เหตุใดจึงทำไม่ได้ เพื่อเป็นการฝึกฝนแยกแยะความถูกผิด ดีชั่ว ได้เองต่อไปเมื่อเขาเติบโตขึ้น
แบบอย่างชีวิตที่หนักแน่น
มาริโอ คูโอโม อดีตนักการเมืองพรรคดีโมแครตของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงพ่อของเขาอย่างน่าประทับใจ เมื่อปี ค.ศ. 1984 ว่า “ผมเฝ้าดูชายร่างเล็กผู้ที่มีมือทั้งสองหยาบกระด้างทำงาน 15 -16 ชั่วโมงต่อวัน ครั้งหนึ่งผมเห็นเลือดไหลออกมาจากส้นเท้าของเขา เขาคือชายผู้เดินทางมาที่นี่อย่างโดดเดี่ยว ไร้การศึกษา ไม่สามารถพูดภาษาของที่นี่ได้ แต่ชายคนนี้สอนผมทุกสิ่งที่ผมต้องการจะรู้เกี่ยวกับความศรัทธาและการทำงานหนักด้วยคำพูดโน้มน้าวใจที่แสนจะธรรมดาจากตัวอย่างชีวิตของเขา”
จากหนังสือข้อคิดเพื่อครอบครัวที่ผมเขียนนั้นได้กล่าวไว้ว่า “ชีวิตย่อมดังกว่าคำพูด ลูกจะเลียนแบบชีวิตของพ่อแม่มากกว่าทำตามสิ่งที่ได้รับการพร่ำสอน” การบอกกับลูกว่าจงเชื่อฟังทำตามในสิ่งที่พ่อแม่สอน แต่อย่าทำตามในสิ่งที่พ่อแม่ทำนั้นนับเป็นเรื่องที่ไร้สาระอย่างแท้จริง เพราะหากเราต้องการเป็นพ่อแม่ที่สามารถเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีได้ เราต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกด้วย เช่น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เป็นแบบอย่างเรื่องความประหยัดด้วยการจัดทำแผนการใช้เงินสำหรับครอบครัว ตนเอง และลูก ๆ เป็นแบบอย่างเรื่องความเสียสละด้วยการให้ได้แม้แต่ของรักของหวง เป็นแบบอย่างความยุติธรรมด้วยการรักลูก ๆ ทุกคนอย่างเท่าเทียม เป็นแบบอย่างการเห็นคุณค่าความสำเร็จด้วยการพากเพียรเอาจริงเอาจังทำงานหนักไม่ลดละหรือเลิกกลางคัน หรือเป็นแบบอย่างความมีวินัยในชีวิตด้วยการมีตารางเวลา การตรงต่อเวลา รักษาระเบียบของบ้าน เป็นต้น ทุกสิ่งที่พ่อแม่สอนลูกด้วยลักษณะชีวิตจะช่วยให้ลูก ๆ สามารถมีพฤติกรรมเลียนแบบได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการใช้อำนาจบีบบังคับหรือการพูดมาเพียงลอย ๆ อันเป็นการยากที่ลูกจะเรียนรู้และประพฤติปฏิบัติตามได้
พ่อแม่นับได้ว่ามีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยมในการอบรมดูแลเลี้ยงดูลูกของตนในฐานะผู้นำหรือผู้ปกครองของครอบครัว แต่การใช้อำนาจนั้นต้องกอปรไปด้วยความรัก ความเข้าใจ การมีเหตุมีผลและการเป็นแบบอย่างชีวิตควบคู่ไปด้วยเสมอ อำนาจการปกครองนั้นจึงสามารถสัมฤทธิ์ผลในการสร้างลูกให้เติบโตมาเป็นคนดีมีคุณภาพของสังคมได้อย่างน่าภาคภูมิใจ
แต่ละแนวทางที่พ่อแม่ใช้ในการเลี้ยงดูลูกของตนนั้นล้วนแล้วแต่มาจากมุมมองปรัชญา โลกทัศน์ที่แตกต่างกันในการให้ความหมายหรือนิยามของการเป็น “พ่อแม่” นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ บทบาทหน้าที่ สิทธิต่าง ๆ ของการเป็นพ่อแม่ที่มีต่อลูก รวมทั้งสิทธิหรือหน้าที่ต่าง ๆ ที่ลูกพึงมีต่อพ่อแม่ของตน
จากงานวิจัยพบว่า ในบริบทของสังคมไทย พ่อแม่ในครอบครัวไทยยังคงให้ลูกหลานรักษาระเบียบวินัย และเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ และมักไม่ค่อยให้ลูกมีอิสระมากนัก พ่อแม่ส่วนใหญ่มีแนวคิดตามสุภาษิตไทยว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี และมีแนวคิดค่อนไปทางอำนาจนิยมคิดว่าตนนั้นเป็นผู้นำในครอบครัว เป็นผู้ทำงานหารายได้ เลี้ยงดูส่งเสียให้ลูกได้มีกินมีใช้ เล่าเรียนหนังสือ เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตลูกมา และเชื่อว่าเด็กต้องได้รับการควบคุมบังคับเพื่อจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดี จึงมักแสดงอำนาจเหนือลูกในรูปแบบวิธีการต่าง ๆ วิธีหนึ่งที่ใช้คือ การ “ทำให้กลัว” ด้วยการดุด่าว่ากล่าว การพูดกดดัน การลงโทษด้วยวิธีการตี ตัดสิทธิประโยชน์ เป็นต้น
การใช้อำนาจด้วยการทำให้กลัวนี้อาจนำมาซึ่งปมปัญหาต่าง ๆ ตามมาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น การเกิดช่องว่างระหว่างพ่อแม่และลูก เนื่องจากลูกไม่รับรู้ว่าการใช้อำนาจของพ่อแม่ทำไปด้วยความรัก ความกลัวทำให้ขาดความสนิทสนมระหว่างกัน และการบังคับของพ่อแม่ทำให้ลูกอยากมีอิสระเมื่อโตขึ้น เขาอาจเติบโตมาเป็นคนที่ทำอะไรตามใจตนเอง ไร้ระเบียบวินัย หรือขาดแรงจูงใจที่จะควบคุมตนเองเนื่องจากไม่ต้องกังวลว่าจะถูกบังคับเช่นที่เคยเป็นในสมัยเด็กแต่อย่างใด
ในทางตรงกันข้าม พ่อแม่จำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับการเลี้ยงลูกด้วยการใช้อำนาจและทำให้เกิดความกลัว จึงหันมามาใช้วิธีการดูแลลูกในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ปฏิบัติต่อลูกเสมือนเป็นเพื่อน พูดคุย เป็นกันเอง เตือนได้แต่ไม่ใช้วิธีการรุนแรงใด ๆ หรืออาจเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตย ใช้เสียงข้างมากในการปกครองลูกและครอบครัว ทุกเสียงในครอบครัว พ่อแม่ลูก มีน้ำหนักเท่ากัน ทำให้อาจคิดเล่น ๆ ขำ ๆ ได้ว่า ในอาหารเย็นมื้อหนึ่ง หากลูกทั้งสามคนไม่ต้องการทานอาหารในมื้อนั้นแต่อยากทานไอศกรีมแทน โดยหลักประชาธิปไตยแล้วพ่อแม่มีสองเสียง ลูกมีสามเสียง แพ้ลูกแน่นอน ดังนั้นในมื้ออาหารนั้นพ่อแม่จำเป็นต้องยอมให้ลูกทานไอศกรีมแทนข้าวเย็นหรือไม่ ?
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วการเลี้ยงลูกแบบค่อนไปทางตามใจ ไม่มีการลงโทษ ไม่มีการว่ากล่าว ไม่มีการอธิบายเหตุผล ไม่มีการฝึกวินัยในการดำเนินชีวิตและไม่ได้ฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ส่งผลเมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาจะขาดทักษะในการแยกแยะว่าอะไรสมควร ไม่สมควร เมื่อทำบางสิ่งผิดพลาดขึ้นมาพ่อแม่จึงมักไปโทษที่ตัวเด็กเองว่าเป็นเด็กที่ไม่ดีและอาจลงโทษอย่างรุนแรง ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วคนที่สมควรถูกลงโทษร่วมด้วยนั้นก็คือ พ่อแม่ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบชีวิตเขาตั้งแต่เกิดมานั่นเอง
การเลี้ยงลูกเพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะตกแก่ลูก พ่อแม่ควรใช้วิธีเลี้ยงอย่างสมดุล เริ่มจากการมีมุมมองที่สมดุล การใช้อำนาจในบทบาทพ่อแม่นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดหรือเลวร้ายแต่อย่างใด ในฐานะหน้าที่แห่งการเป็น “ผู้นำ” หรือ “ผู้ปกครอง” ของเด็ก ๆ ที่ยังต้องการผู้คอยปกป้อง ให้กำลังใจ ชี้ถูกผิดและนำทิศนำทางเขาไปในทางที่ถูกต้องดีงาม จนกว่าลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถตัดสินใจเลือกเดินในทางที่ถูกต้อง แยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ โดยมีภูมิคุ้มกันในชีวิตอย่างรอบด้าน
ถึงกระนั้น การใช้อำนาจของพ่อแม่จะเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง หากพ่อแม่เองไม่ได้ตระหนักถึงเป้าหมายที่แท้จริงของการใช้อำนาจนั้นว่าใช้ไปเพื่อต้องการเห็นสิ่งดีใด ๆ เกิดขึ้นในชีวิตของลูกไม่ใช่เพื่อการลุแก่อำนาจหรือเพื่อการระบายอารมณ์ของพ่อแม่เอง รวมทั้งการตระหนักถึงสิทธิที่ลูกพึงได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการได้รับความรัก การให้เกียรติ การเลี้ยงดูอย่างดีทั้งร่างกายและจิตใจจากพ่อแม่ของตน
โดยหลักสำคัญของการใช้อำนาจให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลดีสูงสุดกับตัวลูกนั้นต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้
เจือด้วยความรักความเข้าใจ
มีคำกล่าวว่า “การฆ่าคนด้วยวิธีการที่เลือดเย็นมากที่สุดคือ การไม่รัก และการไม่แสดงออกซึ่งความรัก”
พ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่คำนึงถึงจิตใจของเด็กน้อยเกินไป แม้จะมีความรักให้แก่ลูกแต่อาจเป็นการใช้อำนาจในทางที่ก่อให้เกิดความกลัวมากกว่าแสดงออกถึงความรัก อาทิ การจ้องจับผิดลูกอยู่เสมอ มีแต่คอยซ้ำเติม ไม่เคยพูดชมเชยในความพยายามของลูก ไม่ได้ให้เวลา ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอ ไม่ได้เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจแต่เป็นผู้ที่ชอบใช้คำสั่งและอยากให้ลูกทำนั่นทำนี่เสมอ เพราะคิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงออกซึ่งความรักและความหวังดีที่มีต่อลูก
การใช้อำนาจในบทบาทของการเป็นพ่อแม่จึงต้องเจือด้วยความรักควบคู่ไปด้วยในทุกครั้ง เพื่อสามารถเอาชนะใจลูกได้ และให้ลูกซึมซับในทุกครั้งที่พ่อแม่ใช้อำนาจกับตนว่า นั่นคือการแสดงออกของความรักที่พ่อแม่มีต่อตนเอง แม้ในขณะที่ลูกยังเป็นเด็กจะยังไม่เข้าใจมากนักก็ตาม แต่เขาจะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้เป็นคนที่น่ากลัวสำหรับเขา เขาสามารถกล้าเข้ามาหาได้เมื่อยามที่ทำความผิดและสามารถพูดคุยได้ในทุก ๆ เรื่อง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาในสถานะที่สามารถเลือกที่จะเชื่อฟังหรือไม่เชื่อฟังคำของพ่อแม่ได้นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เขาย่อมมีแนวโน้มเลือกที่จะเชื่อฟังหรือยอมฟังเราอย่างเปิดใจมากกว่าการตั้งป้อมอคติแต่แรก เนื่องจากลูกจะเกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่พ่อแม่สั่ง ห้าม หรืออบรมสั่งสอนมานั้น เป็นเพราะความรักและความห่วงใยอย่างมากมายที่พ่อแม่มีให้แก่เขา อันเป็นเป็นผลมาจากการใช้อำนาจอย่างสมดุลทั้งพระเดชและพระคุณของผู้เป็นพ่อแม่นั่นเอง
การชี้ผิดชี้ถูกอย่างมีเหตุผล
สมาคมชมรมพ่อถึงพ่อ (Dad-to-Dad) ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้แบ่งปันประสบการณ์การเลี้ยงลูกให้เพื่อนสมาชิกและผู้สนใจผ่านเวบไซต์ทางอินเทอร์เน็ตว่า เมื่อ จอห์น ลูกชายวัยสองขวบของผมต้องการที่จะออกไปเล่นนอกบ้าน แกจะเดินมาหาผมแล้วพูดว่า “ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! “ (ด้วยการออกคำสั่ง) แต่ผมจะตามใจแกได้อย่างไรเมื่อในยามที่ฝนกำลังตก หรือเป็นเวลาที่ไม่เหมาะสมในการออกไปข้างนอกบ้าน แทนที่ผมจะตอบคำเว้าวอนของแกว่า “ไม่ ไม่ ไม่ไป” วันหนึ่งผมมองจ้องตาของแกแล้วพูดเบา ๆ ด้วยน้ำเสียงติดตลกว่า “จอห์น … ลูกรู้ไหมว่าทำไมจึงออกไปข้างนอกไม่ได้…เหตุผลหรือ เพราะว่าข้างนอกฝนมันตกน่ะสิ” จอห์นหยุดและนิ่งฟัง หยุดไปชั่วขณะหนึ่งผมจึงพูดต่อ เอาล่ะไหนบอกพ่อมาว่าทำไมลูกจึงออกไปข้างนอกไม่ได้ จอห์นหยุดร้องไห้ เอามือเช็ดน้ำตาแล้วตอบว่า “เพราะฝนกำลังตก” หลังจากนั้นมาผมใช้เทคนิคนี้มาตลอด โดยพบว่าตราบเท่าที่แกค้นพบคำตอบว่าทำไมจึงทำบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ เมื่อพบแล้วจอห์นจะหยุดร้องและถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นทันที โดยจะเริ่มต้นเรื่อง “ไม่” เรื่องใหม่มาให้พ่อแม่ต้องปวดหัวเล่นต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กโต เขาต้องการรู้เหตุผล นอกเหนือไปจากคำสั่ง “ห้าม” แต่เพียงอย่างเดียวในสิ่งที่เขาต้องการจะทำ เพราะการห้ามขึ้นมาลอย ๆ ไม่สามารถทำให้เขาเข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงทำในสิ่งที่ตนเองต้องการนั้นไม่ได้ พ่อแม่จึงต้องคอยชี้แจงเหตุผลให้ลูกเข้าใจอย่างเหมาะสมตามแต่ละช่วงวัยของเขา ไม่ใช่ใช้แต่การออกคำสั่งเท่านั้น โดยตระหนักว่าเด็กต้องการความเข้าใจและต้องการตอบตัวเองให้ได้ว่าเหตุใดเขาจึงทำสิ่งนี้ได้ เหตุใดจึงทำไม่ได้ เพื่อเป็นการฝึกฝนแยกแยะความถูกผิด ดีชั่ว ได้เองต่อไปเมื่อเขาเติบโตขึ้น
แบบอย่างชีวิตที่หนักแน่น
มาริโอ คูโอโม อดีตนักการเมืองพรรคดีโมแครตของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงพ่อของเขาอย่างน่าประทับใจ เมื่อปี ค.ศ. 1984 ว่า “ผมเฝ้าดูชายร่างเล็กผู้ที่มีมือทั้งสองหยาบกระด้างทำงาน 15 -16 ชั่วโมงต่อวัน ครั้งหนึ่งผมเห็นเลือดไหลออกมาจากส้นเท้าของเขา เขาคือชายผู้เดินทางมาที่นี่อย่างโดดเดี่ยว ไร้การศึกษา ไม่สามารถพูดภาษาของที่นี่ได้ แต่ชายคนนี้สอนผมทุกสิ่งที่ผมต้องการจะรู้เกี่ยวกับความศรัทธาและการทำงานหนักด้วยคำพูดโน้มน้าวใจที่แสนจะธรรมดาจากตัวอย่างชีวิตของเขา”
จากหนังสือข้อคิดเพื่อครอบครัวที่ผมเขียนนั้นได้กล่าวไว้ว่า “ชีวิตย่อมดังกว่าคำพูด ลูกจะเลียนแบบชีวิตของพ่อแม่มากกว่าทำตามสิ่งที่ได้รับการพร่ำสอน” การบอกกับลูกว่าจงเชื่อฟังทำตามในสิ่งที่พ่อแม่สอน แต่อย่าทำตามในสิ่งที่พ่อแม่ทำนั้นนับเป็นเรื่องที่ไร้สาระอย่างแท้จริง เพราะหากเราต้องการเป็นพ่อแม่ที่สามารถเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีได้ เราต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกด้วย เช่น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เป็นแบบอย่างเรื่องความประหยัดด้วยการจัดทำแผนการใช้เงินสำหรับครอบครัว ตนเอง และลูก ๆ เป็นแบบอย่างเรื่องความเสียสละด้วยการให้ได้แม้แต่ของรักของหวง เป็นแบบอย่างความยุติธรรมด้วยการรักลูก ๆ ทุกคนอย่างเท่าเทียม เป็นแบบอย่างการเห็นคุณค่าความสำเร็จด้วยการพากเพียรเอาจริงเอาจังทำงานหนักไม่ลดละหรือเลิกกลางคัน หรือเป็นแบบอย่างความมีวินัยในชีวิตด้วยการมีตารางเวลา การตรงต่อเวลา รักษาระเบียบของบ้าน เป็นต้น ทุกสิ่งที่พ่อแม่สอนลูกด้วยลักษณะชีวิตจะช่วยให้ลูก ๆ สามารถมีพฤติกรรมเลียนแบบได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการใช้อำนาจบีบบังคับหรือการพูดมาเพียงลอย ๆ อันเป็นการยากที่ลูกจะเรียนรู้และประพฤติปฏิบัติตามได้
พ่อแม่นับได้ว่ามีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยมในการอบรมดูแลเลี้ยงดูลูกของตนในฐานะผู้นำหรือผู้ปกครองของครอบครัว แต่การใช้อำนาจนั้นต้องกอปรไปด้วยความรัก ความเข้าใจ การมีเหตุมีผลและการเป็นแบบอย่างชีวิตควบคู่ไปด้วยเสมอ อำนาจการปกครองนั้นจึงสามารถสัมฤทธิ์ผลในการสร้างลูกให้เติบโตมาเป็นคนดีมีคุณภาพของสังคมได้อย่างน่าภาคภูมิใจ
Tags:
เผยแพร่:
นิตยสารแม่และเด็ก
เมื่อ:
31/12/2009