อินเทอร์เน็ต

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร ให้เป็นประธานเปิดงาน Real Tech # 2 By REP  Smart City for Life ซึ่งเป็นงานจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผมได้กล่าวปาฐกถา เรื่อง “The future of real estate” หรืออนาคตของอสังหาริมทรัพย์

ผมมองว่า มนุษย์เป็นนักโทษที่ติดอยู่ในกรงขังของ 2 มิติ คือกาละและเทศะ

กาละ คือ กาลเวลา (time) เทศะ คือ สถานที่ (space) มนุษย์ต้องอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง ไม่สามารถปรากฏอยู่หลายสถานที่ในเวลาเดียวกันได้ และต้องอยู่ในเวลาปัจจุบันเพียงเวลาเดียว ไม่สามารถอยู่ในอดีตหรืออนาคตพร้อมกันได้ เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้อยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง จึงทำให้อสังหาริมทรัพย์มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์เสมอ ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์จำเป็นต้องครอบครองพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เช่น การอยู่อาศัย การทำมาหากิน การพักผ่อน เป็นต้น

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับ Digital Disruption หรือการทำลายล้างสิ่งเก่า ๆ ออกไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากเทคโนโลยีด้านดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และกว้างขวาง ส่งผลกระทบไปทุกแวดวง ทั้งการค้า การทำธุรกิจ การผลิต การใช้ชีวิต การใช้จ่าย พักผ่อน การศึกษา ฯลฯ ในขณะเดียวกัน โลกมีแนวโน้มเข้าสู่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th industrial revolution) ด้วย อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการต่อยอดและผสมผสานหลอมรวมของเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ชั้นสูง ระบบอัตโนมัติรูปแบบใหม่ เทคโนโลยีบล็อคเชน (block chain) เครื่องพิมพ์ 3 มิติ การพัฒนาตัดต่อยีนทางพันธุกรรม คอมพิวเตอร์ควอนตัม เป็นต้น

โลกกำลังอยู่ในสังคมข้อมูลข่าวสารคาบเกี่ยวกับสังคมความรู้ ผู้ที่สามารถจัดการข้อมูลและเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้ ย่อมมีความได้เปรียบเพราะการประยุกต์ใช้ความรู้จะนำไปสู่การต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากการนำเครื่องจักร หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น International Federation of Robotics คาดการณ์ว่า ภายในปี 2561 หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกจะมีจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านยูนิต และ BCG คาดว่า ในปี 2568 หุ่นยนต์หรือ AI จะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ถึง 1 ใน 4 และธนาคารกลางอังกฤษคาดว่า ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า งานในอังกฤษและสหรัฐฯ กว่า 40-50% จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ ในบทความตอนนี้ จะนำเสนอ 2 ประการสุดท้ายของแนวโน้มการเงินการธนาคารในศตวรรษที่ 21 ดังต่อไปนี้

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินการธนาคารที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุด คือ
การเปลี่ยนจาก “บริการออฟไลน์” สู่ “บริการออนไลน์” และจาก “สังคมใช้เงินสด” สู่ “สังคมไร้เงินสด” ทั้ง 2 แนวโน้มกำลังปรากฏมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมไทย
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากแนวโน้มข้างต้น ในบทความตอนนี้ ผมขอนำเสนออีก 2 แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับระบบการเงินการธนาคาร ดังนี้
     “เด็กและเยาวชนไทยสามารถเป็นผู้ที่นำการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการหล่อหลอมจากพ่อแม่ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีของการเป็นพลเมืองในประเทศ”
     การสร้างความตระหนักในการเป็น “พลเมือง” ของประเทศเป็นสิ่งสำคัญ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เสียสละ อาสาตัวไม่เพิกเฉยต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความรักประเทศชาติ  อันเปรียบเสมือนกับบ้านที่ตนเองอยู่อาศัย   บ้านมีปัญหา บ้านไฟไหม้ จะอยู่ไปอย่างหลับหูหลับตาไม่รับรู้ปัญหา ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นในบ้านของตนได้อย่างไร  

ผมได้นำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชั่นการผลิต (Production Function) มาจับประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก ตั้งแต่ยุคบรรพกาล จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปยังอนาคต สร้างเป็นทฤษฎี “การเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก” ซึ่งอยู่ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ได้แก่ คลื่นลูกที่ 0 – ยุคสังคมเร่ร่อน คลื่นลูกที่ 1 – ยุคสังคมเกษตรกรรม คลื่นลูกที่ 2 – ยุคสังคมอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 3 – ยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร คลื่นลูกที่ 4 – ยุคสังคมความรู้ คลื่นลูกที่ 5 – ยุคสังคมปัญญา คลื่นลูกที่ 6 – ยุคสังคมความดี การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม ประเทศที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ สามารถก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก โลกกำลังจะเปลี่ยนจากสังคมข้อมูลข่าวสารเข้าสู่สังคมความรู้ ทำให้ความรู้และนวัตกรรมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขันและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีสถานการณ์ที่สะท้อนถึงความจำเป็นของนวัตกรรมต่อเศรษฐกิจโลก ได้แก่

“‘การสร้างชาติ’ จะต้องเกิดมาจากความร่วมมือของประชาชนทั้งประเทศ และมีเป้าหมายในการนำประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นอารยะ กล่าวคือ ไม่ได้มุ่งแก้เพียงอาการของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ต้องแก้ไปถึงรากของปัญหาที่อยู่เบื้องลึก” ไม่ว่าเด็ก เยาวชน หรือผู้ใหญ่ ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างชาติได้  โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะกลายเป็นกำลังหลักในอนาคตในการกำหนดทิศทางของประเทศชาติบ้านเมือง เป็นช่วงวัยที่มีพลัง มีมุมมองทัศนคติต่อประเทศและโลกที่เปิดกว้าง ก้าวทัน และว่องไวในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นทั้งผู้รับและผู้ดำเนินการพัฒนาประเทศในอนาคต เมื่อวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา สถาบันการสร้างชาติ (NBI) และนักศึกษาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ (นสช.) รุ่นที่ 2 ได้จัดค่ายเยาวชนสร้างชาติ (NBI – Youth Camp) รุ่นที่ 1  ณ ค่ายลูกเสือ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนักเรียนและนักศึกษาเข้าร่วมค่ายกว่า 300 คน และผมได้บรรยายในประเด็น “ทำไมเยาวชนต้องสร้างชาติ” ซึ่งจะขอนำเสนอในบทความตอนนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีเยาวชนจำนวนมากที่สร้างการเปลี่ยนแปลงแก่โลกใบนี้ เช่น

ทำไมประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นอันดับ 1 ตามการจัดอันดับ Global Innovation Index

ทั้งที่เป็นประเทศเล็กบนเทือกเขาแอลป์ ไม่มีทางออกทะเล ขาดแคลนทรัพยากร ?

ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคม รวมไปถึง “ความเหลื่อมล้ำทางปัญญา” ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาและสร้างสังคมปัญญานิยมให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเริ่มต้นจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เพราะประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หากประเทศไทยยังนิ่งเฉย จะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างด้านสังคมแห่งปัญญาระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

จากทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ที่ผมเขียนนั้น กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน โลกกำลังอยู่ในคลื่นลูกที่ 3 ยุคข้อมูลข่าวสาร และกำลังเคลื่อนไปสู่คลื่นลูกที่ 4 ยุคสังคมแห่งความรู้ การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม และประเทศใดที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อนจะเป็น “ผู้ชนะ” คือ สามารถก้าวกระโดดสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก ในมิติทางเศรษฐกิจ ผมมีแนวคิดมโนทัศน์ “เศรษฐกิจหลากสี” อันเป็นแนวคิดที่ระบุถึง เศรษฐกิจหลากหลายมิติที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสร้างชาติให้เป็นผู้ชนะในโลกคลื่นลูกที่ 3 ถึง 6 โดยเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) หรือเศรษฐกิจ “สี” ใสเป็นมิติหนึ่งในแนวคิดดังกล่าว