นโยบายคืนภาษีของบุชจะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐได้จริงหรือ?
* ที่มาของภาพ- http://noezbuckets.files.wordpress.com/2007/07/bush_via_the_daily_mirror.jpg
ตั้งแต่กลางปีที่แล้วเป็นต้นมา ทั้งสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่น ๆ ล้วนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าจากปัญหาซับไพร์มหรือที่เรียกกันว่า ldquo;วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์rdquo;
เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจซบเซาอันเกิดจากปัญหานี้ ในวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯและสภาครองเกรสจึงได้อนุมัติงบประมาณกว่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ งบประมาณดังกล่าวจะถูกแจกจ่ายสู่มือประชาชนโดยตรงผ่านทางการคืนภาษี โดยพลเมืองอเมริกันที่ยังเป็นโสดจะได้รับเงินคืนภาษีอย่างต่ำ 300 เหรียญสหรัฐฯ แต่ไม่เกิน 600 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนพลเมืองที่มีครอบครัวจะได้รับเงินคืนภาษีระหว่าง 600 ถึง 1200 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนั้นยังได้เงินคืนภาษีเพิ่ม 300 เหรียญสหรัฐฯต่อบุตร 1 คนหากการคืนภาษีครั้งนี้เป็นไปตามแผนของรัฐบาลสหรัฐฯ ครอบครัวชาวอเมริกันถึงกว่า 117 ล้านครอบครัวจะได้รับเช็คเงินคืนภาษีภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์บางคนอาจจะเห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่ผมมีความเห็นว่าการใช้จ่ายภาครัฐของสหรัฐอเมริกาครั้งนี้อาจจะล้มเหลวในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และยิ่งไปกว่านั้นยังอาจทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหรัฐแย่ลงด้วย
ประเด็นแรก การคืนภาษีจะทำให้ประชาชนอเมริกันใช้จ่ายมากขึ้นหรือไม่? ผมคิดว่าคำตอบคือ ldquo;ไม่มากนักrdquo; ทั้งนี้จากสถิติดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (Conference Board Consumer Confidence Index -CCI) สำรวจโดย TNS ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยขนาดใหญ่ (ตารางที่ 1) พบว่า เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมปี 2550 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯลดลงถึงกว่าร้อยละ 20 เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตอันเกิดจากปัญหาซับไพร์ม การลดลงดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าคนอเมริกันกำลังใช้จ่ายลดลงแต่กลับออมเงินเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากประชาชนอเมริกันได้รับการคืนภาษีจากรัฐบาลนั้น พวกเขาจึงมีแนวโน้มที่จะนำเงินที่ได้รับไปเก็บออมไว้ เพื่อเตรียมรับมือความไม่แน่นอนในอนาคตมากกว่าที่จะนำเงินออกมาใช้จ่ายในปัจจุบัน
ตารางที่ 1: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (CCI) ตั้งแต่กรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2550
เดือน
|
ก.ค.
|
ส.ค.
|
ก.ย.
|
ต.ค.
|
พ.ย.
|
ธ.ค.
|
CCI
|
111.9
|
105.6
|
99.5
|
95.2
|
87.8
|
88.6
|
คำถามต่อไปคือ หากประชาชนอเมริกันใช้จ่ายมากขึ้น จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอย่างได้ผลหรือไม่? คำตอบคือ ldquo;ไม่rdquo; เช่นเดียวกัน เนื่องจากสหรัฐฯเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้าอย่างหนัก (ตารางที่ 2) ดังนั้น ในรายได้ประชาชาติทั้งหมดของสหรัฐฯนั้น จะมีส่วนที่นำไปซื้อสินค้านำเข้าเป็นปริมาณมาก ซึ่งมีนัยว่าเงินที่ประชาชนอเมริกันได้จากการคืนภาษีในครั้งนี้ จะมีเพียงบางส่วนที่จะถูกนำไปใช้เพื่อซื้อสินค้าและบริการในประเทศอันเป็นรายจ่ายที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯได้จริง
ดังนั้น ผมจึงขอสรุปดังนี้ว่า แผนการคืนภาษีของรัฐบาลสหรัฐฯในครั้งนี้ไม่มีประสิทธิภาพมากนักสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ นอกจากนี้การที่คนอเมริกันมีแนวโน้มที่จะเอาเงินคืนภาษีจำนวนค่อนข้างมากไปใช้ซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ การคืนภาษีจะทำให้ดุลการค้าของสหรัฐที่ขาดดุลอยู่แล้วกลับขาดดุลมากยิ่งขึ้น
ตารางที่ 2: ดุลการค้าของสหรัฐอเมริกา (ล้านดอลลาร์) ตั้งแต่พ.ศ. 2545 - 2549
ปี
|
2545
|
2546
|
2547
|
2548
|
2549
|
ดุลการค้า
|
-423,725
|
-496,915
|
-612,092
|
-714,371
|
-758,522
|
การเปลี่ยนแปลง (%)
|
-
|
17.3
|
23.2
|
16.7
|
6.2
|
สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเล็กและพึ่งพิงการส่งออกในสัดส่วนสูง การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ค้ารายใหญ่ของไทย จะมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยไม่มากก็น้อย แม้รัฐบาลชุดใหม่อาจจะพยายามบรรเทาผลกระทบที่มายังประเทศไทย แต่เป็นไปได้ยากที่หลีกเลี่ยงจากผลกระทบในครั้งนี้
Catagories:
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2008-02-08
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ค่าแรงขั้นต่ำ: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
Total views: อ่าน 115 ครั้ง
สว. 2567 คนแบบคุณก็เป็นได้ โดยไม่ต้องใช้เงิน
Total views: อ่าน 152 ครั้ง
ที่ดิน ส.ป.ก. ทำกินเพื่อเกษตรกร ไม่ใช่ ทุจริตเพื่อข้าราชการ นายทุน และนักการเมือง
Total views: อ่าน 148 ครั้ง
เปลี่ยนเงินหวย เป็น 'สลากออมทรัพย์'
Total views: อ่าน 3,426 ครั้ง
แนวทางการพัฒนา ทุนมนุษย์ สำหรับประเทศไทย
Total views: อ่าน 1,460 ครั้ง