ความมั่นคงทางอาหารของอินโดนีเซีย : บทเรียนจากนโยบายพึ่งพิงตนเอง
กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน
ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศมากยิ่งขึ้น
อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากปัจจัยหลายๆ ประการ อาทิ การเพิ่มขึ้นของประชากร การเติบโตของเมืองและภาคอุตสาหกรรม และการลดลงของพื้นที่และแรงงานภาคเกษตรกรรม เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลทำให้ความต้องการอาหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ผลผลิตอาหารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า หลายๆ ประเทศจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในประเทศของตนมากขึ้น
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.redcross.ie/public/images/red-cross-map-indonesia.png
ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่เล็งเห็นความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร ถึงแม้ว่าความมั่นคงทางอาหารในประเทศอินโดนีเซียจะอยู่ในระดับที่ดีขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่กระนั้นประชากรกว่า 21 ล้านคนในประเทศ หรือร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมด ยังต้องเผชิญกับภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากทรัพยากรด้านอาหารภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนจำนวนมากในสังคมอินโดนีเซีย
นโยบายความมั่นคงทางอาหารของอินโดนีเซีย
ในเดือนตุลาคม ปี 2555 ที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียได้ริเริ่มนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ที่มีชื่อว่า ?นโยบายพึ่งพิงตัวเอง? (Self-sufficient policy) ซึ่งกำหนดเป้าหมายด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศว่า จะต้องมาจากสินค้าภายในประเทศร้อยละ 90 ภายในปี 2557 โดยสองประเด็นหลักของนโยบายพึ่งพิงตัวเอง คือ เน้นให้ผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศมีที่มาจากทรัพยากรของประเทศ โดยนำเข้าสินค้าอาหารเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนการส่งออกสินค้าอาหารนั้น อินโดนีเซียจะส่งออกสินค้าอาหารก็ต่อเมื่อสินค้าอาหารมีจำนวนเกินกว่าความต้องการของคนในประเทศ
นโยบายนี้มีลักษณะเป็นนโยบายปกป้องทางการค้าที่ค่อนข้างมีประสิทธิผล เพราะหลังจากที่อินโดนีเซียเริ่มใช้นโยบายนี้ในปีที่ผ่านมา ผลผลิตทางการเกษตรของไทยหลายๆ ประเภท อาทิ หัวหอมแดง หอมหัวใหญ่ ทุเรียน ฯลฯ ถูกกีดกันทางการค้าจากตลาดอินโดนีเซีย ทำให้ไทยสูญเสียรายได้จำนวนมาก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่
ผลกระทบของนโยบายพึ่งพิงตัวเองต่อประเทศอินโดนีเซีย
นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดการเพิ่มอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศอินโดนีเซีย สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ลดรายจ่ายของประเทศจากนำเข้าสินค้าอาหาร เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอาหารของคนในชาติ และลดการพึ่งพาอาหารจากต่างชาติ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของประเทศในอนาคต
ในทางตรงข้าม การดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศด้วยเช่นกัน ตัวอย่างผลกระทบเชิงลบของนโยบายดังกล่าว ได้แก่
1. ราคาอาหารสูงขึ้น : การที่ประเทศอินโดนีเซียมีนโยบายลดการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศ ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศมีอยู่อย่างจำกัด และมีการแข่งขันในตลาดลดลง ทำให้ราคาสินค้าอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้นและสูงกว่าตลาดโลก
2. การเข้าถึงอาหารของคนในชาติลดลง : แม้จุดประสงค์เริ่มแรกของนโยบายคือ การเพิ่มโอกาสให้ประชาชนในประเทศเข้าถึงอาหารได้มากยิ่งขึ้น และมีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น แต่ด้วยเหตุที่ราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้ประชาชนมีความสามารถในการซื้ออาหารลดลง ซึ่งขัดแย้งกับวัตถุประสงค์เริ่มแรกของนโยบายพึ่งพิงตนเอง
บทเรียนสำหรับประเทศไทย
ถึงแม้ว่านโยบายของอินโดนีเซียจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่แท้จริงของความมั่นคงทางอาหาร ในการทำให้ประชาชนมีความสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง แต่การกำหนดนโยบายพึ่งพิงตนเองของรัฐบาลอินโดนีเซียสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหารประเทศอินโดนีเซียมองเห็นถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากผลกระทบของการเปิดเสรีการค้าและจากปัจจัยอื่นๆ
ถึงกระนั้นอินโดนีเซียได้บทเรียนที่สำคัญคือ การกำหนดนโยบายและตัวชี้วัดที่ไม่เหมาะสมทำให้นโยบายพึ่งพาตนเองไม่สามารถทำให้อินโดนีเซียไปถึงผลลัพธ์ด้านความมั่นคงทางอาหารได้ เนื่องจากนโยบายหรือตัวชี้วัดดังกล่าวขัดแย้งกับบริบทการแข่งขันในอนาคตที่มีแนวโน้มเสรีมากขึ้น
สำหรับประเทศไทย แม้ว่าไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก แต่ไม่ได้หมายความว่าเรามีความมั่นคงทางอาหารสูงหรือไม่มีความเสี่ยงขาดความมั่นคงทางอาหารในอนาคต ทั้งนี้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์การเกษตรหลายประเภทที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ และมีแนวโน้มแข่งขันได้ยากเมื่อต้องเปิดเสรีตามความตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและความตกลงอื่นๆ
ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่แรงงานภาคเกษตรและพื้นที่ทำการเกษตรจะลดลง ซึ่งจะทำให้การผลิตอาหารมีต้นทุนสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าและเริ่มพัฒนาภาคเกษตรมากขึ้น ทำให้มีผลผลิตการเกษตรราคาถูกจากประเทศเหล่านี้เข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของไทย
นโยบายความมั่นคงทางอาหารของอินโดนีเซีย
ในเดือนตุลาคม ปี 2555 ที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียได้ริเริ่มนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ที่มีชื่อว่า ?นโยบายพึ่งพิงตัวเอง? (Self-sufficient policy) ซึ่งกำหนดเป้าหมายด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศว่า จะต้องมาจากสินค้าภายในประเทศร้อยละ 90 ภายในปี 2557 โดยสองประเด็นหลักของนโยบายพึ่งพิงตัวเอง คือ เน้นให้ผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศมีที่มาจากทรัพยากรของประเทศ โดยนำเข้าสินค้าอาหารเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนการส่งออกสินค้าอาหารนั้น อินโดนีเซียจะส่งออกสินค้าอาหารก็ต่อเมื่อสินค้าอาหารมีจำนวนเกินกว่าความต้องการของคนในประเทศ
นโยบายนี้มีลักษณะเป็นนโยบายปกป้องทางการค้าที่ค่อนข้างมีประสิทธิผล เพราะหลังจากที่อินโดนีเซียเริ่มใช้นโยบายนี้ในปีที่ผ่านมา ผลผลิตทางการเกษตรของไทยหลายๆ ประเภท อาทิ หัวหอมแดง หอมหัวใหญ่ ทุเรียน ฯลฯ ถูกกีดกันทางการค้าจากตลาดอินโดนีเซีย ทำให้ไทยสูญเสียรายได้จำนวนมาก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่
ผลกระทบของนโยบายพึ่งพิงตัวเองต่อประเทศอินโดนีเซีย
นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดการเพิ่มอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศอินโดนีเซีย สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ลดรายจ่ายของประเทศจากนำเข้าสินค้าอาหาร เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอาหารของคนในชาติ และลดการพึ่งพาอาหารจากต่างชาติ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของประเทศในอนาคต
ในทางตรงข้าม การดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศด้วยเช่นกัน ตัวอย่างผลกระทบเชิงลบของนโยบายดังกล่าว ได้แก่
1. ราคาอาหารสูงขึ้น : การที่ประเทศอินโดนีเซียมีนโยบายลดการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศ ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศมีอยู่อย่างจำกัด และมีการแข่งขันในตลาดลดลง ทำให้ราคาสินค้าอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้นและสูงกว่าตลาดโลก
2. การเข้าถึงอาหารของคนในชาติลดลง : แม้จุดประสงค์เริ่มแรกของนโยบายคือ การเพิ่มโอกาสให้ประชาชนในประเทศเข้าถึงอาหารได้มากยิ่งขึ้น และมีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น แต่ด้วยเหตุที่ราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้ประชาชนมีความสามารถในการซื้ออาหารลดลง ซึ่งขัดแย้งกับวัตถุประสงค์เริ่มแรกของนโยบายพึ่งพิงตนเอง
บทเรียนสำหรับประเทศไทย
ถึงแม้ว่านโยบายของอินโดนีเซียจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่แท้จริงของความมั่นคงทางอาหาร ในการทำให้ประชาชนมีความสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง แต่การกำหนดนโยบายพึ่งพิงตนเองของรัฐบาลอินโดนีเซียสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหารประเทศอินโดนีเซียมองเห็นถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากผลกระทบของการเปิดเสรีการค้าและจากปัจจัยอื่นๆ
ถึงกระนั้นอินโดนีเซียได้บทเรียนที่สำคัญคือ การกำหนดนโยบายและตัวชี้วัดที่ไม่เหมาะสมทำให้นโยบายพึ่งพาตนเองไม่สามารถทำให้อินโดนีเซียไปถึงผลลัพธ์ด้านความมั่นคงทางอาหารได้ เนื่องจากนโยบายหรือตัวชี้วัดดังกล่าวขัดแย้งกับบริบทการแข่งขันในอนาคตที่มีแนวโน้มเสรีมากขึ้น
สำหรับประเทศไทย แม้ว่าไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก แต่ไม่ได้หมายความว่าเรามีความมั่นคงทางอาหารสูงหรือไม่มีความเสี่ยงขาดความมั่นคงทางอาหารในอนาคต ทั้งนี้ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์การเกษตรหลายประเภทที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ และมีแนวโน้มแข่งขันได้ยากเมื่อต้องเปิดเสรีตามความตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและความตกลงอื่นๆ
ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่แรงงานภาคเกษตรและพื้นที่ทำการเกษตรจะลดลง ซึ่งจะทำให้การผลิตอาหารมีต้นทุนสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าและเริ่มพัฒนาภาคเกษตรมากขึ้น ทำให้มีผลผลิตการเกษตรราคาถูกจากประเทศเหล่านี้เข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารของไทย
ผมได้เขียนหนังสือ ?เศรษฐกิจกระแสกลาง? เมื่อประมาณ 15 ปีก่อน โดยเสนอแนวคิดว่า ประเทศไทยควรวางแผนการผลิตปัจจัยอยู่รอด (ซึ่งรวมถึงอาหารด้วย) ให้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศทั้งในยามปกติและยามวิกฤติ ในขณะเดียวกันต้องพัฒนาให้ปัจจัยอยู่รอดเหล่านั้นแข่งขันได้ด้วยเพื่อมิให้ขัดแย้งกับกลไกตลาดภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันเสรีมากขึ้น โดยได้เสนอแนวทางการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจกระแสกลางไว้หลายแนวทาง อาทิ การเกษตรเพื่อผลิตสินค้าสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นต้น
แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยไม่ว่ายุคใด นอกจากจะไม่ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหารแล้ว มิหนำซ้ำนโยบายของรัฐบาลหลายๆ ชุดยังบ่อนทำลายขีดความสามารถของภาคการเกษตรอีกด้วย โดยการเข้าแทรกแซงหรืออุดหนุนสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังผลให้ภาคเกษตรของไทยอ่อนแอลงอีกด้วย
เรียกได้ว่า ?ใกล้เกลือ กินด่าง? จริงๆ
ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.agricorner.com/wp-content/uploads/2013/07/veg-market-300x200.jpg
Catagories:
Tags:
Post date:
Tuesday, 3 December, 2013 - 11:47
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ค่าแรงขั้นต่ำ: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
Total views: อ่าน 90 ครั้ง
สว. 2567 คนแบบคุณก็เป็นได้ โดยไม่ต้องใช้เงิน
Total views: อ่าน 136 ครั้ง
ที่ดิน ส.ป.ก. ทำกินเพื่อเกษตรกร ไม่ใช่ ทุจริตเพื่อข้าราชการ นายทุน และนักการเมือง
Total views: อ่าน 131 ครั้ง
เปลี่ยนเงินหวย เป็น 'สลากออมทรัพย์'
Total views: อ่าน 3,418 ครั้ง
แนวทางการพัฒนา ทุนมนุษย์ สำหรับประเทศไทย
Total views: อ่าน 1,427 ครั้ง