ความมั่นคงทางอาหาร

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศมากยิ่งขึ้น

อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากปัจจัยหลายๆ ประการ อาทิ การเพิ่มขึ้นของประชากร การเติบโตของเมืองและภาคอุตสาหกรรม และการลดลงของพื้นที่และแรงงานภาคเกษตรกรรม เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลทำให้ความต้องการอาหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ผลผลิตอาหารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า หลายๆ ประเทศจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในประเทศของตนมากขึ้น

ประเด็นเรื่องความมั่นคงเป็นสิ่งที่รัฐบาลในทุกประเทศให้ความสนใจ มิติเรื่องความมั่นคงที่กล่าวถึงในปัจจุบันไม่ได้มุ่งเน้นเพียงความมั่นคงทางการทหาร ความมั่นคงทางการเมืองหรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมมิติอื่นด้วย โดยเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้นนั่นคือ ความมั่นคงทางอาหาร
 
ในอนาคตทุกประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะประสบปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร แต่หากพิจารณาแนวโน้มประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารมากสุดคงหนีไม่พ้นประเทศจีน ซึ่งมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 22 ของโลกและจำนวนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจีนมีพื้นที่เพาะปลูกไม่ถึงร้อยละ 10 ของพื้นที่โลก ในปี 2015 ประชากรของจีนคาดว่าจะเติบโตถึง 1.39 พันล้านคน และรัฐบาลคาดว่าการบริโภคธัญหารในประเทศจะมากถึง 572.5 ล้านตันในปี 2020 ดังนั้นแม้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวสูง ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ความมั่นคงด้านอาหารเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้จีนมากที่สุดในเวลานี้
 
ด้วยเหตุนี้ในต

จากอีเมล์ครั้งที่ผ่านมา ผมได้แสดงความคิดเห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็น วิกฤตที่เกิดจากปัจจัยภายนอกคือราคาน้ำมันและภาวะความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก บวกกับปัจจัยภายในคือนโยบายของรัฐบาลเอง โดยนโยบายหนึ่งที่ผมมีความกังวลมาก คือการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างรีบเร่ง