ค่านิยม

โลกอยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น นับเป็นความท้าทายต่อภาครัฐในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพราะระบบภาครัฐแบบดั้งเดิมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ทั้งสายการบังคับบัญชาที่ยาว การยึดกฎระเบียบมากเกินไป การทำงานแบบแยกส่วน ขาดการมีส่วนร่วมของพลเมือง เน้นนโยบายระยะสั้น และไม่ให้น้ำหนักกับการตอบโจทย์สังคม จากการศึกษาวิจัยและการคิดมาตลอดชีวิต ผมได้ตกผลึกทางความคิดว่า ระบบที่ดี คือ ระบบที่จะทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว ในทางตรงกันข้าม ระบบที่ชั่ว คือ ระบบที่จะทำให้คนดีทำชั่วโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเราไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ และจะมีต้นทุนสูงมากในการควบคุมมิให้คนชั่วไปสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นและส่วนรวม

“ระบบที่ดี คือ ระบบที่ทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว”

เป็นนิยามที่ผมได้จาการตลกผลึกมาหลายสิบปี ด้วยเพราะระบบที่ดีต้องถูกออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้คนเกเรทำสิ่งไม่ดี หรือทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าที่จะกระทำผิดหรือไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับการออกแบบกติกาสังคม ที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อเอื้อคนดี เพราะคนดีทำดีอยู่แล้วแม้ไม่มีระบบ การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น หลีกเลี่ยงการบริหารจัดการไม่ได้ และในการบริหารจัดการก็หลีกเลี่ยงการกำหนดนโยบายไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาเชิงระบบของ “สังคม” ให้บรรลุผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นสังคมโลก สังคมระดับชาติ สังคมระดับกลุ่มหรือองค์กร และสังคมระดับครอบครัว

"จากนิทานเรื่องเต่ากับกระต่าย" เมื่อเต่ากับกระต่ายต้องมาวิ่งแข่งกัน หากมองด้วยสายตาธรรมชาติแล้ว กระต่ายย่อมชนะอย่างแน่นอน  แต่เพราะเต่าทำอย่างเต็มที่หรือทำอย่างดีที่สุด  จึงทำให้ในที่สุดเต่าเข้าเส้นชัยได้ก่อน  ในเหตุการณ์นี้ ถ้ามีใครไปสัมภาษณ์กระต่ายก่อนการแข่งขัน กระต่ายคงไม่รู้ว่าตัวเองจะแพ้  หรือถ้าได้ถามเต่าก่อนการแข่งขัน เต่าก็คงไม่รู้อีกเช่นกันว่าตัวเองจะชนะ


?ตั้งครรภ์ระหว่างเรียน ควรได้เรียนต่อหรือไม่??
ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงในสังคมช่วงที่ผ่านมา จากการที่กรมอนามัยเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีสาระสำคัญประการหนึ่งคือ คุ้มครองให้สถานศึกษาอนุญาตให้หญิงมีครรภ์ที่อยู่ในระหว่างเรียนต่อได้ในระหว่างตั้งครรภ์ และกลับมาศึกษาได้อีกครั้งหลังคลอดบุตร
ในประเด็นควรอนุญาตให้เด็กนักเรียนที่ตั้งครรภ์เรียนต่อได้หรือไม่นั้น ผมมองว่า การให้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการ ?ให้โอกาส? และ ?ให้อนาคต? แก่ทุกคนที่เข้ารับการศึกษา และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ ดังนั้น จึงไม่ควรมีใครสักคนที่ถูกปิดกั้น รวมทั้งหญิงที่ตั้งครรภ์ด้วย ย่อมควรได้รับการเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาต่อไป

   ตั้งครรภ์ระหว่างเรียน


ที่มาของภาพ  http://www.lovecarestation.com/upload/media_library/2010/24-11-2010/672.jpg

     เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของผมในงานสัมมนาที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเกริก เรื่อง ?ยุคสังคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์: ความฝันหรือความจริงแห่งอนาคต? ซึ่งนอกจากผมแล้วยังมีวิทยากรหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ซึ่งปัจจุบันเป็นนโยบายที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นไว้อย่างน่าสนใจ

     นโปเลียน ฮิลล์ ได้กล่าวถึงคุณสมบัติส่วนตัวของนักเดินตลาดที่ประสบความสำเร็จ ข้อหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมตนเอง เขากล่าวว่า “นักเดินตลาดชั้นยอดจะควบคุมความคิดและหัวใจของตนทั้งหมดตลอดเวลา เขารู้ว่าถ้าหากเขาไม่สามารถควบคุมตนเอง เขาย่อมควบคุมบุคคลที่มุ่งหวังให้ซื้อสินค้าไม่ได้”
คนที่ปรารถนาความสำเร็จแห่งชีวิตจำเป็นต้องฝึกการบังคับตนเอง เพราะหากเราไม่สามารถบังคับตนเองได้ในเรื่องที่อาจดูเหมือนเล็กน้อย  เราก็อาจล้มเหลวในขั้นตอนหนึ่งของชีวิตได้  โดยการฝึกฝนการบังคับตนเองนั้นมีหลักการสำคัญคือ

     ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความตึงเครียด แรงกดดันจากสภาพสังคมที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ตั้งแต่แรกเกิด เข้าอนุบาล มหาวิทยาลัย จนเรียนจบออกมาหางานทำ ฯลฯ  สถิติการเกิดภาวะหรือโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นพุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ที่ถดถอยลงอย่างน่าตกใจ  รวมทั้งการขาดทักษะการแก้ปัญหาในชีวิต อันเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การแก้ปัญหาในทางที่ผิดทั้งต่อตนเอง เช่นการทำร้ายตนเอง ฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายผู้อื่นและนำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้งในสังคมมากมายตามมา

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com