การทำงาน

ภาษิตโบราณบทหนึ่งได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าฟังว่า?กองทัพแกะที่นำโดยสิงโตย่อมชนะกองทัพสิงโตที่นำโดยแกะ? (An army of sheep led by a lion would defeat an army of lions led by a sheep.)
 
การมีผู้นำที่มีคุณลักษณะเหมาะสมอยู่ในตำแหน่ง หรือ เป็นแกนนำขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับต่าง ๆ นับว่ามีความสำคัญ ด้วยว่าผู้นำ หรือ แกนนำเหล่านี้จะส่งเสริมให้ประเทศชาติ สังคม และหน่วยงาน/องค์กร สามารถขับเคลื่อนภารกิจการงานให้บรรลุสู่ความสำเร็จ คนกลุ่มต่าง ๆ ให้การยอมรับ เกิดพลังแรงร่วมใจ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการจัดการแก้ไขปัญหาและปฏิบัติกิจการงานร่วมกัน สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศชาติ สังคม และหน่วยงาน/องค์กรให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริง

...บริษัทของคุณมี ?โจร? ทำงานอยู่ด้วยหรือไม่?

คนเหล่านี้อาจจะทำงานเก่ง มีความรู้ความสามารถ มีความกระตือรือร้น หนักเอาเบาสู้ พร้อมช่วยเหลือองค์กรอยู่เสมอ และอยู่มานาน จนมีตำแหน่งสูง คุณอาจจะไม่รู้เลยว่า เบื้องหลังการทำงานให้องค์กร เขากำลัง ?โกง? องค์กร กอบโกยผลประโยชน์มิชอบเข้ากระเป๋าตนเองอยู่

ในช่วงที่ผ่านมา ข่าว ?แชทในเวลางาน ถูกไล่ออก? คงเป็นข่าวที่สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้กับบรรดาลูกจ้าง เพราะคงไม่มีใครคิดว่า เพียงการแชทหรือเล่นอินเตอร์เน็ตในเวลางาน ซึ่งไม่น่าจะเบียดบังเวลางานมาก กลับกลายเป็นความผิด ถึงขั้นเลิกจ้างได้ และแม้ลูกจ้างจะยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลางว่า ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม แต่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เพราะเป็นความจริงที่ทำให้บริษัทนายจ้างได้รับความเสียหาย
 
จากข้อมูลที่ทราบมา มีพนักงานประมาณ 30 คนแล้ว จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ถูกเลิกจ้าง เพราะเบียดบังเวลาทำงาน ไปใช้ในการแชทและเล่นอินเตอร์เน็ตนานกว่า 1 ชั่วโมง ในเรื่องส่วนตัว ทำให้ขาดความจดจ่อในการทำงาน ส่งผลให้งานที่ทำล่าช้า ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่งงานไม่ทันตามกำหนด สร้างความเสียหายต่อองค์กร แม้ได้ตักเตือนด้วยวาจาและออกหนังสือเตือนแล้ว แต่ยังคงพฤติกรรมเช่นเดิม จึงต้องให้ออกจากงาน

ทำงาน 52 นาที พัก 17 นาที เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน....
 
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 จูเลีย กิลฟอร์ด (Julia Gifford) ได้นำเสนอบทความชื่อ The Rule of 52 and 17: It's Random, But it Ups Your Productivity  หรือ กฎทำงาน 52 นาที พัก 17 นาที เพิ่มผลิตภาพ ซึ่งเป็นบทสรุปจากการติดตามและสำรวจผู้ใช้แอพพลิเคชั่น DeskTime ซึ่งเป็นโปรแกรมในการช่วยติดตามการทำงานของผู้เข้ารับวิจัย เพื่อศึกษานิสัยของคนที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 
 
การสำรวจพบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ที่สามารถสร้างผลิตภาพได้สูงสุด จะใช้เวลาพักได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพวกเขาจะใช้เวลาเฉลี่ยในการทำงานอย่างจริงจังต่อเนื่องเป็นเวลา 52 นาที และจากนั้นจะพักประมาณ 17 นาที ก่อนที่จะกลับมาทำงานอย่างตั้งอกตั้งใจต่อไป ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

การตัดสินที่ผิดพลาดและล้มเหลวของ ?คนเก่ง? จำนวนไม่น้อย เกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป จนละเลยที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ไม่ขอคำปรึกษา ไม่ฟังคำแนะนำจากผู้อื่นก่อนตัดสินใจ แต่คิดเองทำเอง ...ในที่สุด เมื่อตัดสินใจผิดพลาด ไม่เพียงตัวเองรับผล แต่บุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรต้องรับผลร้ายไปด้วย 
 
ตัวอย่างของ จิม บาลซิลี (Jim Balsillie) อดีตซีอีโอ ของบริษัท RIM (Research In Motion) ผู้ผลิต Blackberry น่าจะเป็นบทเรียนการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ดี จากความประมาทคู่แข่ง โดยในปี 2007 แอปเปิ้ลเปิดตัวไอโฟน แทนที่เขาจะรับมือด้วยการสร้างแบรนด์ตัวเองให้แข็งแกร่งในตลาดสมาร์ทโฟน เขากลับเพิกเฉยไม่เชื่อว่าไอโฟนจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวได้ เพราะฐานลูกค้าของ Blackberry ในตอนนั้นนำหน้าไอโฟนอยู่หลายช่วงตัว เขาใช้เวลาในช่วงนั้น วุ่นวายอยู่กับการพยายามซื้อทีมฮ็อคกี้ 
สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาไม่ถึง 1 ปี ส่วนแบ่งการตลาดของ Blackberry ในสหรัฐฯ ร่วงลงจากร้อยละ 44 เหลือเพียงร้อยละ 9 และหุ้นบริษัทร่วงลงไปถึงร้อยละ 70 ด้วยความประมาท 

จากการเป็นผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ หลายแห่ง ได้มีโอกาสร่วมงานกับคนจำนวนมาก  ผมพบว่า  เพื่อนร่วมงานทุกคน แม้จะมีส่วนดี มีศักยภาพอยู่ในตัว สามารถทำงานในหน้าที่และร่วมงานกับผู้อื่นได้อย่างดี แต่ผมสังเกตเห็นว่า ระหว่างพนักงานที่เริ่มต้นงานพร้อม ๆ กัน ทำงานได้เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะเห็นความแตกต่าง สามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ผมเรียกว่า กลุ่มก้าวหน้า กับ กลุ่มอนุรักษ์


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.trulia.com/pro/files/2013/04/iStock_000019078452Small.jpg
 
พนักงานคนนี้ จบระดับปริญญาโท แต่ทำงานไม่เป็นเลย แถมยังหยิ่ง ใครสอนอะไรไม่เคยฟัง...
 
หัวหน้าคนนี้ เรียนสูง จบสถาบันมีชื่อเสียง เข้าคอร์สอบรมต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่มีศิลปะในการบริหารคน ลูกน้องลาออกกันเป็นว่าเล่น...
 
เรียนก็เก่งนะ แต่ไม่ค่อยมีไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แบบนี้แทนที่จะช่วยแบ่งเบาภาระ กลับกลายเป็นเพิ่มภาระให้องค์กรอีก...

"คนทำงานเก่ง แต่นำเสนอไม่เก่ง = ไม่เก่ง
คนทำงานไม่เก่ง แต่นำเสนอเก่ง = เก่ง"

คำกล่าวเหน็บแนมที่หลายคนคงยอมรับว่า เป็นความจริง "ในแวดวงการทำงาน คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินคนจากภายนอก" ถ้าพูดเก่ง นำเสนอตนเอง นำเสนองานเก่ง ก็มักจะได้รับการประเมินว่า เก่ง ทั้ง ๆ ที่อาจจะทำงานไม่เก่ง ทำงานไม่เป็น ขาดความรับผิดชอบ ขณะที่คนทำงานได้ดีกว่า มีความรับผิดชอบมากกว่า แต่กลับพูดไม่เป็น นำเสนอไม่เก่ง มักจะถูกประเมินว่า ไม่เก่ง ?


แหล่งที่มาของภาพ : https://p.gr-assets.com/540x540/fit/hostedimages/1382121194/5679696.jpg