การทำงาน

เรื่องนี้อย่าบอกหัวหน้านะ ถ้าถูกจับได้ละก้อ แย่แน่เลย....เราช่วยกันแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ถ้าหัวหน้าถามก็บอกไปว่า งานเรียบร้อยดี..ไม่มีปัญหา
ถ้าเธอเอาเรื่องนี้ไปบอกหัวหน้านะ เราเลิกเป็นเพื่อนกัน....ฉันจะหาข้อแก้ตัวดี ๆ ว่าทำไมงานจึงผิดพลาดมากขนาดนี้ แล้วจะบอกเอง
 
คำกล่าวข้างต้น เราคงเดาได้ว่า ผู้พูดกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ทำบางสิ่งผิดพลาดไป และกำลังพยายาม ?ปกปิด? ความผิดนั้นมิให้หัวหน้างานรับรู้ เพราะเกรงว่า ตนเองจะถูกตำหนิ หรือ ลงโทษ โดยไม่ได้มองว่า สิ่งที่ตนเองทำผิดนั้นส่งผลเสียหายร้ายแรง และต้องช่วยกันแก้ไขหรือไม่

         ..."รับทำวุฒิปลอมด่วนราคาถูกเพื่อใช้สมัครงาน" ..."ทำวุฒิของแท้ ใช้เรียน ใช้สมัครงาน ราคากันเอง"

         คำโฆษณาจูงใจที่พบได้ทันที เมื่อพิมพ์คำว่า "ปลอมวุฒิการศึกษา"  ให้ค้นหาในอินเทอร์เน็ต จะพบว่า มีเว็บที่ "รับจ้าง" ปลอมอย่างโจ่งแจ้ง ด้วยคำโฆษณาและรายละเอียดราคาในแต่ละวุฒิ แต่ละสถาบันอย่างละเอียด รวมทั้ง ให้ความมั่นใจว่าจะเหมือนจริงจนแทบไม่มีใครจับได้

         คุณเคยรู้สึก หรือกำลังรู้สึก "หมดไฟ" ในการทำงานหรือไม่ ? 

         หากถามคำถามนี้กับคนในที่ทำงาน ผมเชื่อว่า จะได้รับคำตอบว่า เคย หรือไม่ก็อาจกำลัง "หมดไฟ" -รู้สึกเบื่อหน่าย ทั้งงาน ทั้งเพื่อนร่วมงาน ทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงาน บางคนอาจบอกว่า..แทบไม่อยากจะออกจากบ้านไปทำงานเลย!! 

         คนทำงานจำนวนไม่น้อย เริ่มต้นการทำงาน ด้วยการเป็น ?เด็กใหม่ไฟแรง? ทำงานอย่างกระตือรือร้น ทุ่มเท เรียนรู้ ไม่มีบ่น ไม่มีเบื่อ มุ่งให้สำเร็จตามเป้าหมาย .. แต่ไฟนั้นค่อย ๆ มอดลงตามกาลเวลา ยิ่งทำมานาน ยิ่งหมดไฟไปเรื่อย ๆ จนเรียกได้ว่า "หมดอารมณ์" หรือ "หมดไฟ" ในการทำงานในที่สุด

         จากการเฝ้าสังเกตคนจำนวนนับหมื่น ๆ คนที่ผมได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ด้วยในวาระต่าง ๆ ทำให้ผมพบว่า คนเรามีอายุ 3 อายุ 

         หนึ่ง อายุเวลา หรือ อายุจริงตามเวลาเกิด และอาจรวมไปถึงอายุงาน ซึ่งเป็นการสะสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญชำนาญที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการทำงาน

         สอง อายุหน้า คนส่วนใหญ่ชอบให้อายุเวลาไปก่อนอายุหน้า หรือชอบ ?หน้าอ่อน? มากกว่า ?หน้าแก่? 

         "คำโกหกเพียงครั้งเดียว ทำให้ความจริงนับพันมัวหมองไป"
         อัล เดวิด (Al David) อดีตโค้ชและผู้บริหารทีมอเมริกันฟุตบอลที่มีชื่อเสียง ได้กล่าวความจริงข้างต้นไว้
         ในอาชีพการทำงาน การโกหก...และ ?ถูกจับได้? เพียงครั้งเดียว อาจทำให้อนาคตการทำงาน ชื่อเสียงที่อุตสาห์สะสมไว้ด้วยความเพียรพยายาม ?ล่มสลาย? ลง และไม่มีวันรื้อฟื้นกลับมาได้อีกเลย 

     คนดี คือ คนที่เห็นแก่ส่วนรวม มากกว่า ส่วนตัว
     นิยาม ?คนดี? ในมุมมองของผมสรุปง่าย ๆ จะต้องเป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แต่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่น และประโยชน์ส่วนรวมในมุมที่กว้างที่สุดก่อนเสมอ
     หากทุกแวดวงวิชาชีพ คนทำงานทุกคนยึดนิยามคนดีเช่นนี้ สังคมจะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ค่านิยมการแข่งขัน เพื่อความสำเร็จโดยยึด มูลค่า เป็นหลัก เช่น องค์กรมุ่งทำกำไร ทำยอดขาย กินส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด โดยไม่ใส่ใจประโยชน์หรือปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมากเพียงพอ หรือ คนทำงาน ทำเพื่อให้ตัวเองได้เงิน ได้ชื่อเสียง ได้ผลตอบแทนมากที่สุด และจะไม่ทำถ้าตัวเองไม่ได้ประโยชน์ โดยไม่ได้ดูว่าจะสร้างความเสียหายต่อผู้อื่นอย่างไร ฯลฯ ย่อมจะเปลี่ยนมาเป็นการคำนึงถึง คุณค่า ของสิ่งที่ทำมากยิ่งขึ้น เช่น ทำสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เอาเปรียบ ยึดมั่นในจรรยาบรรณ เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายร่วมกัน

"ถ้าการกระทำของคุณสร้างแรงบันดาลใจให้คนภายใต้ ..มีฝันที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เรียนรู้ได้เพิ่มขึ้น ทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น และทำหน้าที่ในบทบาทต่าง ๆ ได้หลากหลายขึ้น  ..คุณคือผู้นำ" จอห์น ควินซี อดัมส์ (John Quincy Adams) ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวข้อความข้างต้นไว้ สะท้อนบทบาทสำคัญประการหนึ่งของผู้นำ นั่นคือ ผู้นำต้อง "สร้างคน"
คนเก่งที่ทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นไม่ได้ มักไม่เป็นที่ต้องการ เพราะความสำเร็จของงาน คือ ความสำเร็จของทีม...ไม่ใช่ของคน ๆ เดียว
 
คำกล่าวข้างต้นเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ในองค์กรการทำงาน ถ้าหน่วยงานนั้นมี 2 คนขึ้นไป ย่อมต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีม และทีมงานที่แข็งแกร่ง ประสานงาน ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันอย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ย่อมมีพลังในการขับเคลื่อนองค์กรบรรลุเป้าหมาย และฝ่าฟันวิกฤตต่าง ๆ ได้

"อย่าบดบังรัศมีเจ้านาย"

โรเบิร์ต กรีน (Robert Greene) เจ้าของหนังสือ กฎแห่งอำนาจ 48 ข้อ (The 48 Laws of Power) ได้แนะนำวิธีเพิ่มอำนาจให้กับตนเอง กฎข้อแรกเลย คือ ?อย่าบดบังรัศมีเจ้านาย?  ถ้าอยากได้ดิบได้ดีในอนาคต อย่าทำตัวเก่งกว่า เหนือกว่าเจ้านาย การแสดงท่าว่าตนเองเก่งกว่า ฉลาดกว่า อาจเป็นการกระทำที่ ?ดับอนาคต? ของตนเองได้เลยทีเดียว เพราะหัวหน้าเราจะรู้สึกว่า ตนเองกำลังถูกคุกคาม เกิดความกลัว รู้สึกไม่มั่นคงในตำแหน่งของตน และทำให้มองเราเป็นศัตรูที่ต้องจัดการได้

เมื่อคนเก่งมารวมตัวกัน อาจเป็น ?ทีมที่แย่ที่สุด?!!!
 
ข้อสรุปหนึ่งที่ผมได้รับจากประสบการณ์ทำงานเป็นทีม ในคณะทำงานที่ประกอบไปด้วย คนเก่ง คนมีความรู้ความสามารถ ผู้เชี่ยวชาญชำนาญการ ผู้มีตำแหน่งสูง ๆ มักจะขับเคลื่อนงานด้วยความยากลำบาก เพราะแต่ละท่านมักมีวาระของตน พยายามนำเสนอความคิดเห็นของตนเองให้ทุกคนยอมรับ แต่กลับไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้ไม่สามารถได้ข้อสรุปที่เป็นข้อตกลงของทุกคนในทีมได้
 
ปัญหาที่เกิดจากทีมงานที่มี ?อีโก้สูง? มีอยู่ทั่วไป เดวิด บรู๊กซ์ (David Brooks) คอลัมนิสต์นิวยอร์กไทมส์ กล่าวไว้ในรายการ Charlie Rose   ว่า บางครั้งมีคนฉลาดมากเกินไป ก็กลายเป็นปัญหา เขาชี้ให้เห็นว่าความยากลำบากในการบริหารงานของรัฐบาลโอบามา สาเหตุเกิดจากทีมนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศที่ล้วนแต่มีคนเก่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาไม่ได้อยู่ที่สติปัญญาที่เฉลียวฉลาด แต่อยู่ที่คนเหล่านี้มักยึดติดในความคิดตนเอง พวกเขาปักใจเชื่อมั่นว่าความคิดของตนเองนั้น ?ดีกว่า? มีเหตุผลหนักแน่นกว่า ความคิดของเพื่อนร่วมงาน