"วิป" เป็นคำที่เราได้ยินบ่อยในการเมืองการปกครองไทย
"วิป" เป็นคำที่เราได้ยินบ่อยในการเมืองการปกครองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่จะต้องมีการแต่งตั้งประธานวิปรัฐบาลและประธานวิปฝ่ายค้าน คำว่า "วิป" (whip) ซึ่งหากแปลตามตัวอักษรว่า หวด, เฆี่ยน, โบย, ลงแส้, ฝึกอย่างเข้มงวด ยิ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่ามาเกี่ยวข้องกับคำทางการเมืองได้อย่างไร
ในหนังสือสารานุกรมศัพท์ทางรัฐศาสตร์ของ อ.อุทัย หิรัญโต ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า
l"คำว่า whip แปลตามตัวว่า แส้ที่ใช้ปัดยุงหรือสำหรับเฆี่ยนม้า คำนี้เป็นคำที่วงการเมืองอังกฤษยืมมาจากวงการกีฬาส่าสัตว์ กีฬาล่าสัตว์ในอังกฤษสมัยโบราณนั้น พวกขุนนางหรือผู้ดีมักจะเลี้ยงสุนัขไว้เป็นฝูง และฝึกหัดไว้เป็นอย่างอย่างดีเพื่อให้มีหน้าที่ช่วยเหลือในการติดตามหรือล่าสัตว์ ผู้ควบคุมฝูงสุนัขหรือคอยจัดระเบียบให้สุนัขอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่ไม่แตกแยกกัน เพื่อจะติดตามไล่สัตว์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เรียกว่า whip ซึ่งมีชื่อเต็มว่า whipper in ซึ่งต่อมาวงการเมืองของอังกฤษได้นำคำว่า whip มาใช้โดยให้มีความหมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ไล่ต้อนให้สมาชิกไปออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกันนั้นเอง"
พิจารณาในความหมายนี้แล้ว เมื่อนำมาใช้ในการเมืองไทย เราคงเห็น ประธานวิป รองประธานวิป และกรรมการวิป ทำหน้าที่ต่าง ๆ อาทิ ประธานวิปรัฐบาล มีหน้าที่คอยควบคุมบรรดาสมาชิกที่สังกัดพรรคเดียวกันหรือพรรคร่วมรัฐบาลให้มาประชุม ทั้งการประชุมสภาและการประชุมคณะกรรมาธิการ เพื่อให้พรรครัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาลมีเสียงสนับสนุนเพียงพอในการลงมติ และเพื่อป้องกันไม่ให้เสียเปรียบในการลงคะแนนเสียงต่าง ๆ
กล่าวโดยสรุป วิปเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในพรรคการเมือง ที่จะติดต่อเชื่อมโยงบรรดาสมาชิกรัฐสภาในการทำหน้าที่อย่างเป็นเอกภาพเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเสียง ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับเสียงข้างมาก แต่ทั้งนี้สมาชิกรัฐสภาจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึกที่ถูกต้องและเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศมากกว่าประโยชน์สิ่งอื่นใด
Catagories:
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2005-03-27
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 158 ครั้ง
คนไทยเรียนรู้อะไร จากบทเพลงสุดท้ายของพี่ศรี
Total views: อ่าน 74 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร
Total views: อ่าน 239 ครั้ง
บทบาทของไทยและอาเซียนต่อการรวมเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว
Total views: อ่าน 1,998 ครั้ง
การสร้างคุณภาพชีวิตเมืองเพื่อการสร้างชาติ ด้วยโมเดลเมืองน่าอยู่ 12 มิติ: Dr.Dan Can Do’s Livable City Model
Total views: อ่าน 2,638 ครั้ง