ลดแรงเสียดทาน สร้างหลักประกัน ม.นอกระบบ

กระแสความไม่พอใจของประชาคมมหาวิทยาลัยต่อนโยบายของรัฐในการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ สาเหตุหนึ่งเนื่องจาก ที่ผ่านมายังไม่มีหลักประกันที่สร้างความมั่นใจแก่ผู้เรียนผู้ปกครอง สังคม รวมถึงประชาคมมหาวิทยาลัย ประเด็นเหล่านี้ รัฐจำเป็นต้องชัดเจน เพราะจะเป็นตัวชี้ทิศทางอุดมศึกษาไทยในอนาคต

จากการที่ผมได้มีโอกาสอภิปรายในวาระรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.. hellip;. การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ...มหาวิทยาลัยมหิดล พ.. hellip;. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.. hellip;. เมื่อสมัยรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ผมมีข้อเสนอเกี่ยวกับการลดแรงเสียดทานจากกระแสดังกล่าว โดยการสร้างหลักประกันทั้ง 5 ด้าน อันได้แก่

หลักประกันแก่ผู้เรียน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้เรียนได้รับความเป็นธรรมในการรับภาระค่าเล่าเรียน เช่น จัดทำกรอบค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงการศึกษา และการเข้าถึงอุดมศึกษาของผู้เรียนยากจน ด้อยโอกาส ในรูปของกองทุนเพื่อการศึกษาแก่ผู้เรียนยากจน ทั้งกองทุนจากรัฐบาล มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน และกำหนดสัดส่วนการอุดหนุนคนกลุ่มนี้ร้อยละเท่าใด

หลักประกันแก่สังคม เพื่อสร้างความมั่นใจแก่สังคมในการที่มหาวิทยาลัยจะยังคงเจตนารมณ์เดิมในการดำเนินการเพื่อรับใช้สังคม ไม่ถูกทุนนิยมครอบงำ และให้สังคมมีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบาย เช่น การระบุเป็นเจตนารมณ์ในการร่างกฎหมายของการออกนอกระบบ ที่ยังต้องดำเนินการเพื่อสังคม การระบุสัดสัดส่วนของกลุ่มคนอย่างชัดเจนในส่วนของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก รวมถึงการอุดหนุนในบางสาขาวิชาที่ไม่สร้างรายได้ แต่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ เช่น ปรัชญา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

หลักประกันด้านคุณภาพการศึกษา เพื่อให้สังคมเกิดความมั่นใจในการรักษา และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การวิจัย การบริการสังคมของมหาวิทยาลัยภายหลังการออกนอกระบบ โดยการจัดอันดับระดับสาขาวิชาหรือคณะ แทนการจัดอันดับภาพรวมของมหาวิทยาลัย การประกันคุณภาพการศึกษาทั้งจากหน่วยงานประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอก ทั้งหลักสูตรภาคปกติ และภาคพิเศษที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น

หลักประกันแก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความมั่นใจแก่พนักงานมหาวิทยาลัยในการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินใจด้านการบริหารมหาวิทยาลัย รวมถึงการเรียกร้องความเป็นธรรมจากนายจ้าง และการถูกเอาเปรียบ โดยการเปิดช่องกฎหมายให้พนักงานสามารถรวมตัวกัน เพื่อดูแลสิทธิประโยชน์และความมั่นคงของพนักงานด้วยกันเอง และมีอำนาจต่อรองในการนำข้อเรียกร้องเข้าสู่การพิจารณาของมหาวิทยาลัย

หลักประกันแก่มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมและมีทุนมากพอที่ดำเนินการ โดยไม่เป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายไปยังผู้เรียนมากเกินความจำเป็น เช่น เงินช่วยเหลือสนับสนุนมหาวิทยาลัยที่ไม่มีความพร้อม เงินตั้งต้นมหาวิทยาลัย ใช้กลไกภาษีช่วยระดมทุนจากภาคเอกชน ยกเว้นภาษีบางด้านแก่มหาวิทยาลัย

ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบหรือไม่ ผมเห็นว่าประเด็นสำคัญคือ การที่มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งควรเพิ่มบทบาทตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ด้านการผลิตกำลังคนของประเทศระยะยาวที่มีคุณภาพสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ด้านวิชาการและด้านการศึกษาวิจัยที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคม ด้านหลักสูตรการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสังคม รวมถึงด้านความแตกต่างตามศักยภาพของมหาวิทยาลัยที่สร้างความโดดเด่นในด้านนั้นอย่างเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการพัฒนามหาวิทยาลัยไทย ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-12-18