No Vote : ความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
จากการเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549 มีหลายประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ โดยเฉพาะ ผลการเลือกตั้งที่ออกมาอย่างไม่เป็นทางการว่า ldquo;ไม่เลือกใครrdquo; ในเขตกรุงเทพมหานครฯ มีคะแนนมากถึง 1,319,268 เสียง มากกว่าคะแนนของผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.รวมกัน 35 เขต และมีจำนวนบัตรเสียมากถึง 95,910 ใบ ในขณะที่ต่างจังหวัด จำนวนของลงคะแนน ldquo;ไม่เลือกใครrdquo; มีมากถึง 6,766,883 เสียง และมีจำนวนบัตรเสียมากถึง 2,962,593 บัตร นอกจากนี้ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ในเขตพื้นที่ทั่วประเทศจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ถึง 35 เขต 15 จังหวัด
ปัญหาไม่ได้มีเพียงการเลือกตั้งส.ส.ใหม่อีก 35 เขตเท่านั้น แต่อีกประเด็นที่น่าจับตามองคือ กรณีของว่าที่ ส.ส.ซึ่งได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 20 และได้คะแนนเสียงน้อยกว่าจำนวนผู้ที่ลงคะแนน ldquo;ไม่เลือกใครrdquo; แต่ด้วยเหตุที่มีผู้สมัครมากกกว่า 1 คน จึงทำให้ได้เป็น ส.ส. ขณะที่บางพื้นที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว แต่ถึงแม้จะได้คะแนนมากกว่าเขตที่มีผู้สมัครหลายคน แต่กลับไม่ได้เป็น ส.ส. เพราะได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20
เช่นในกรณีของเขตที่ 3 พื้นที่ในจังหวัดตรัง ที่มีผู้สมัคร 2 คน ผู้สมัครจากไทยรักไทยได้คะแนนเสียง 7,431 คะแนน ในขณะที่คะแนน ldquo;ไม่เลือกใครrdquo; สูงถึง 46,977 คะแนน และจำนวนบัตรเสีย 11,404 ใบ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยยังสามารถเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯได้เพราะว่ามีคู่แข่งในเขตนั้น แต่ในขณะเดียวกันการเลือกตั้งในเขตที่ 4 จังหวัดตรังเช่นกัน มีผู้สมัครเพียงคนเดียวได้คะแนน 9,857 คะแนน แต่ไม่ถึงร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จึงต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ทั้งที่ได้คะแนนเสียงมากกว่าผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดตรัง
ปรากฏการณ์ของผู้ที่ได้เป็น ส.ส.เพียงเพราะมีคู่แข่งในการลงเลือกตั้ง แม้ผู้ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่จะไม่ต้องการ จึงไม่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่
ตัวอย่างการเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศสมีการใช้ระบบการใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือตัดสินว่าผู้สมัครคนใดควรจะได้เข้ามาเป็นผู้แทนฯ เช่น หากมีผู้สมัคร 5 คน คนที่จะได้รับเลือกจะต้องได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 50 หรือในกรณีที่คะแนนไม่ถึงร้อยละ 50 คนที่ได้เสียงมากที่สุดและรองลงมาจะต้องมีการเลือกกันอีกครั้งเพื่อเป็นการตัดสินอย่างชัดเจน
ดังนั้นผมมีความคิดเห็นว่า ในอนาคต กกต.ควรจะเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการตัดสินให้เป็นรูปแบบของ ldquo;เสียงส่วนใหญ่rdquo;
(Majority Vote) แต่คงไม่จำเป็นต้องยุ่งยากซับซ้อนเหมือนกับประเทศฝรั่งเศส ผมขอเสนอว่า ผู้ที่จะได้เป็น ส.ส.ควรได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในจำนวนผู้สมัคร โดยต้องคำนึงถึงผู้ที่ลงคะแนนงดออกเสียงด้วย ไม่เช่นนั้นคนที่ได้เป็น ส.ส. อาจจะไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ และเพื่อเป็นการสะท้อนความต้องการของผู้มีสิทธิอย่างแท้จริงว่าต้องการอะไร ผมมีความเห็นว่า ผู้ที่จะได้เป็น ส.ส. ควรที่จะได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนที่งดออกเสียงด้วย