ผู้ประกอบการเพื่อสังคม: ความหวังใหม่ในการพัฒนาสังคมไทย
แนวคิดการสร้าง ldquo;ผู้ประกอบการเพื่อสังคมrdquo; หรือ Social Entrepreneur อาจฟังไม่คุ้นหูคนไทย แต่ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาระยะหนึ่งและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
แนวคิดนี้เริ่มต้นมาจากความคาดหวังเดิมที่ต้องการเห็นภาคธุรกิจและประชาสังคม (NGOs) เป็นตัวขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาสังคม
อย่างไรก็ตามทั้งสองภาคส่วนดังกล่าวต่างมีความจำกัดในตัวเอง คือ ภาคธุรกิจมุ่งเน้นไปที่การแสวงหากำไร ไม่ได้สนใจปัญหาสังคมอย่างแท้จริง แม้ว่าบางส่วนจะตอบแทนแก่สังคมบ้าง แต่เป็นลักษณะการสร้างภาพลักษณ์เสียเป็นส่วนมาก ขณะที่กลุ่ม NGOs แม้เป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เข้มแข็งและเลี้ยงตัวเองไม่ได้ เพราะขาดแหล่งทุนสนับสนุนที่ต่อเนื่อง และระบบการบริหารจัดการที่ไม่เข้มแข็ง ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่นไม่มีความยั่งยืน
ldquo;ผู้ประกอบการเพื่อสังคมrdquo; จึงอาจเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น และรุนแรงขึ้น การหวังให้ภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวเป็นตัวหลักในการแก้ปัญหาสังคมคงทำได้ไม่ง่าย จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในสังคม
ลักษณะของผู้ประการเพื่อสังคมเป็นอย่างไร
ลักษณะของผู้ประกอบการเพื่อสังคมมีความพิเศษ คือ เป็นผู้มีส่วนผสมระหว่างความคล่องตัว ความมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมแบบผู้ประกอบการ ร่วมกับความมีจิตสำนึกต่อสังคมแบบนักพัฒนาสังคมไว้ด้วยกัน
ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าผู้ประการเพื่อสังคมมีความโดดเด่นกว่าผู้ประกอบการ หรือ NGOs โดยทั่วไป เพราะนอกจากเขาจะมีความสามารถในการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและเลี้ยงตัวเองได้แล้ว เขายังใช้ธุรกิจนั้นเป็นเครื่องมือหาแหล่งเงินทุน เพื่อให้การสนับสนุนความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาสังคมที่ตนเองสนใจให้สามารถดำเนินไปได้อย่างไม่ขาดตอน
เมื่อพิจารณาจากภายนอก โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้ประกอบการเพื่อสังคมกับผู้ประกอบการทั่วไปนั้นแทบไม่มีความแตกต่างกัน แต่หากพิจารณาแรงจูงใจภายในของผู้ประกอบการเพื่อสังคมนั้น ไปไกลกว่าการแสวงหาความมั่งคั่งเพื่อตนเอง แต่เขาปรารถนาที่จะเห็นสังคมถูกพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
น่าเสียดาย หากประเทศของเราจะมีแต่ผู้ประกอบการที่มีความสามารถจำนวนไม่น้อย แต่ผู้ประกอบการเหล่านี้กลับไม่สนใจต่อปัญหาสังคม โดยมุ่งแต่แสวงหาผลกำไรให้กับธุรกิจของตนเป็นที่ตั้ง และน่าเสียดายเช่นเดียวกัน หากเรามีแต่นักพัฒนาสังคมที่มีความตั้งใจดีต่อชาติบ้านเมือง แต่บุคคลเหล่านี้ขาดกำลังทรัพย์สนับสนุน และขาดทักษะในการทำกิจกรรมเพื่อหาทุน ความตั้งใจที่ดีต่อสังคมนั้นจึงมีโอกาสสำเร็จได้ยาก
แนวคิดนี้เริ่มต้นมาจากความคาดหวังเดิมที่ต้องการเห็นภาคธุรกิจและประชาสังคม (NGOs) เป็นตัวขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาสังคม
อย่างไรก็ตามทั้งสองภาคส่วนดังกล่าวต่างมีความจำกัดในตัวเอง คือ ภาคธุรกิจมุ่งเน้นไปที่การแสวงหากำไร ไม่ได้สนใจปัญหาสังคมอย่างแท้จริง แม้ว่าบางส่วนจะตอบแทนแก่สังคมบ้าง แต่เป็นลักษณะการสร้างภาพลักษณ์เสียเป็นส่วนมาก ขณะที่กลุ่ม NGOs แม้เป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เข้มแข็งและเลี้ยงตัวเองไม่ได้ เพราะขาดแหล่งทุนสนับสนุนที่ต่อเนื่อง และระบบการบริหารจัดการที่ไม่เข้มแข็ง ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่นไม่มีความยั่งยืน
ldquo;ผู้ประกอบการเพื่อสังคมrdquo; จึงอาจเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น และรุนแรงขึ้น การหวังให้ภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวเป็นตัวหลักในการแก้ปัญหาสังคมคงทำได้ไม่ง่าย จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในสังคม
ลักษณะของผู้ประการเพื่อสังคมเป็นอย่างไร
ลักษณะของผู้ประกอบการเพื่อสังคมมีความพิเศษ คือ เป็นผู้มีส่วนผสมระหว่างความคล่องตัว ความมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมแบบผู้ประกอบการ ร่วมกับความมีจิตสำนึกต่อสังคมแบบนักพัฒนาสังคมไว้ด้วยกัน
ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าผู้ประการเพื่อสังคมมีความโดดเด่นกว่าผู้ประกอบการ หรือ NGOs โดยทั่วไป เพราะนอกจากเขาจะมีความสามารถในการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและเลี้ยงตัวเองได้แล้ว เขายังใช้ธุรกิจนั้นเป็นเครื่องมือหาแหล่งเงินทุน เพื่อให้การสนับสนุนความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาสังคมที่ตนเองสนใจให้สามารถดำเนินไปได้อย่างไม่ขาดตอน
เมื่อพิจารณาจากภายนอก โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้ประกอบการเพื่อสังคมกับผู้ประกอบการทั่วไปนั้นแทบไม่มีความแตกต่างกัน แต่หากพิจารณาแรงจูงใจภายในของผู้ประกอบการเพื่อสังคมนั้น ไปไกลกว่าการแสวงหาความมั่งคั่งเพื่อตนเอง แต่เขาปรารถนาที่จะเห็นสังคมถูกพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
น่าเสียดาย หากประเทศของเราจะมีแต่ผู้ประกอบการที่มีความสามารถจำนวนไม่น้อย แต่ผู้ประกอบการเหล่านี้กลับไม่สนใจต่อปัญหาสังคม โดยมุ่งแต่แสวงหาผลกำไรให้กับธุรกิจของตนเป็นที่ตั้ง และน่าเสียดายเช่นเดียวกัน หากเรามีแต่นักพัฒนาสังคมที่มีความตั้งใจดีต่อชาติบ้านเมือง แต่บุคคลเหล่านี้ขาดกำลังทรัพย์สนับสนุน และขาดทักษะในการทำกิจกรรมเพื่อหาทุน ความตั้งใจที่ดีต่อสังคมนั้นจึงมีโอกาสสำเร็จได้ยาก
แนวคิดการสร้างผู้ประกอบการเพื่อสังคม
การสร้างผู้ประกอบการเพื่อสังคมเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ยกตัวอย่างใน สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยหลายแห่งมีหลักสูตรเพื่อสร้างผู้ประกอบการเพื่อสังคมโดยเฉพาะ ซึ่งหลักสูตรที่ว่านี้ดึงความสนใจของนักศึกษาที่สนเรื่องการทำธุรกิจหรืออยากเป็นผู้ประกอบการ ให้หันไปสนใจการแก้ไขปัญหาสังคมด้วย ดังนั้นนักศึกษาที่จบออกมาจะเป็นบุคคลที่มีความเป็นนักธุรกิจและนักพัฒนาสังคมในบุคคลคนเดียวกัน
นักศึกษาที่เข้ามาเรียนจะถูกฝึกฝนให้เป็นนักธุรกิจ เพื่อสามารถเขียนแผนธุรกิจของตน โดยตัวธุรกิจนั้นต้องไม่ทำร้ายสังคม เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข หรือ กิจกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ธุรกิจนั้นจะต้องสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนและเติบโตมีกำไรเหมือนกับธุรกิจทั่วไป มากยิ่งกว่านั้น แผนธุรกิจนั้นไม่ได้มีเป้าหมายหลักเพื่อแสวงหากำไรสูงสุดแก่องค์กร แต่นำกำไรที่ได้สนับสนุนงานเพื่อแก้ปัญหาสังคมให้สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
กรณีประเทศไทยผมขอเสนอแนวทางเป็นเบื้องต้นว่า การสร้างคนให้เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ต้องเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ และมหาวิทยาลัย โดยใช้มหาวิทยาลัยที่สร้างคน ทั้งนี้อาจจัดตั้งเป็นคณะหรือสาขาหรือหลักสูตรใหม่ เช่น Master of Social Entrepreneur หรือร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ที่จบออกไปสามารถทำงานได้จริง
ผมคิดว่าสังคมไทยถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้างผู้ประกอบการเพื่อสังคมขึ้นมาให้มีจำนวนมากเพื่อเป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหาสังคม แม้แนวทางนี้ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่และหลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะทำได้จริง แต่ผมเชื่อว่าสังคมไทยยังมีคนที่มีความตั้งใจดีและมีศักยภาพที่อยากเห็นปัญหาสังคมได้รับการแก้ไขและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Catagories:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-03-24
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ค่าแรงขั้นต่ำ: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
Total views: อ่าน 90 ครั้ง
การหมิ่นประมาท คือ ฆาตกรรมชื่อเสียง
Total views: อ่าน 61 ครั้ง
Passive Outcome
Total views: อ่าน 186 ครั้ง
เกียรติระบบ : Honour System สังคมให้เกียรติ หลู่เกียรติ ทอนเกียรติ ตู่เกียรติ
Total views: อ่าน 160 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 122 ครั้ง