เด็กเหงา... อินเทอร์เน็ตและเกมเป็นเพื่อน
จากเหตุการณ์อันน่าสลดในญี่ปุ่น เมื่อชายหนุ่มวัย 25 ปี ขับรถบรรทุกพุ่งชนและใช้มีดไล่แทงผู้คนย่านอากิฮาบาระ กรุงโตเกียว มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บนับสิบคน ภายหลังจับกุม คนร้ายให้การว่า เบื่อหน่ายกับการมีชีวิตอยู่และต้องการฆ่าคน เมื่อสืบสวนไปที่การเลี้ยงดูของครอบครัวพบว่า คนร้ายเป็นเด็กเรียนดีตั้งแต่ประถม จนกระทั่งมัธยมปลายผลการเรียนต่ำลง และแม่ได้เข้มงวดเรื่องเรียน จึงรู้สึกว่าแม่ไม่รัก รู้สึกไร้ค่า รู้สึกว่าถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว กลายเป็นคนเก็บตัว มีโลกส่วนตัว และใช้อินเทอร์เน็ต การ์ตูน และเกมเป็นเพื่อน
ปรากฏการณ์เด็กและเยาวชนทั่วโลก ใช้อินเทอร์เน็ตและเกมมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตเด็กและเยาวชนอย่างมาก รวมถึงเด็กไทย เนื่องด้วยผู้ปกครองต่างต้องต้องดิ้นรนทำมาหากิน ไม่มีเวลาดูแล ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ เรื่อง "การเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตในกลุ่มเยาวชน" ศึกษาเยาวชนอายุ 10-24 ปี ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,441 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 8-25 กรกฎาคม พ.ศ.2550 พบว่า โดยภาพรวม เยาวชนส่วนใหญ่เล่นเกมทุกวัน/เกือบทุกวัน วันปกติเล่นตั้งแต่ 12.01-22.00 น. โดย 17.01-20.00 น. เล่นมากที่สุด สำหรับวันหยุดเล่นตั้งแต่ 09.01-22.00 น. โดย 13.01-17.00 น. เล่นมากที่สุด ก่อนสำรวจ 30 วัน เกมที่เด็กเล่นมากที่สุดคือ เกมที่รุนแรง
สาเหตุที่เด็กติดเกมและอินเทอร์เน็ต โดยการศึกษาของนักวิชาการจากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ผลว่า ครอบครัวที่ต่างคนต่างอยู่และไม่มีกิจกรรมสนุกสนานทำร่วมกัน เด็กจะเกิดความเหงา เบื่อหน่าย และหากิจกรรมอื่นทำ ซึ่งเกมคอมพิวเตอร์สนุกและตื่นเต้นมากกว่า นอกจากนี้ เด็กที่มีปัญหาอารมณ์ ซึมเศร้า เข้ากับเพื่อนไม่ได้ มีปัญหาการเรียน และรู้สึกไม่มีค่า เสี่ยงติดเกมมากที่สุด
ปัจจัยแวดล้อมทางสังคม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักให้เด็กใช้อินเทอร์เน็ตและเล่นเกมมากขึ้น เนื่องด้วยสังคมขาดกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ ที่เด็กได้ใช้ประโยชน์ เรียนรู้ ด้วยความสนุกสนาน ตัวอย่างเด็กและเยาวชนใน กทม. จำนวนมาก จึงใช้เวลาว่างในการเดินห้างสรรพสินค้า เล่นอินเทอร์เน็ต และเกม ติดยาเสพติด ฯลฯ
ดังนั้น จึงจำเป็นที่ชุมชนต้องร่วมมือในการพัฒนาสถานที่และกิจกรรมที่มีส่วนเสริมสร้างการเรียนรู้ ให้ถูกใจเด็กและวัยรุ่น เช่น กทม. ต้องมี แหล่งเรียนรู้ทุกตารางกิโลเมตร ,562.2 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น แหล่งเรียนรู้ใน กทม. ต้องมีอย่างน้อย 1,562 แห่ง เพื่อให้เด็ก เยาวชน และคนในพื้นที่มีต้นทุนในการเข้าถึงต่ำที่สุด เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้สะดวกรวดเร็ว และจัดแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ น่าสนใจ กิจกรรมหลากหลาย และดำเนินการต่อเนื่อง โดย ldquo;ต้องมีการจัดการ (organize) อย่างเป็นระบบrdquo; รวมถึงพัฒนาฐานข้อมูลและการให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรืออื่น ๆ แก่ผู้ที่สนใจ มีระบบชักชวนหรือจูงใจให้เข้าสู่แหล่งเรียนรู้ มีระบบระดมทุนเพื่อจะอยู่ได้ด้วยตนเอง และปรับเปลี่ยนให้เด็กเยาวชนไทยมีโอกาสได้ทำกิจกรรมในการพัฒนาสมองและความรู้ตามความถนัดและสนใจมากขึ้นกทม. มีพื้นที่ 1
Tags:
เผยแพร่:
หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์
เมื่อ:
2008-07-15