แหล่งเรียนรู้คนเมือง สวนสมองคนเมือง



http://www.mymanmitt.com/mitt-romney/uploaded_images/brain-763982.jpg
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เชื่อมโยงและแข่งขันทั่วโลก อีกทั้งกรุงเทพฯ ในฐานะเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการค้า ธุรกิจ การศึกษา ฯลฯ ของประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาคนกรุงเทพฯ ให้เป็นคนแห่งการเรียนรู้ เพื่อเผชิญหน้ารับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเท่าทัน สามารถปรับตัว อยู่รอด และแข่งขันได้
ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า คน กทม. จำนวนมาก ใช้เวลาว่างในการดูโทรทัศน์ ฟังเพลง พักผ่อนอยู่กับบ้าน เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า ฯลฯ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องด้วยการขาดความหลากหลายทางเลือกของแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมสำหรับคนเมือง
ดังนั้น แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจสำหรับคนเมือง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องจัดให้เกิดขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้คนได้รับการพัฒนาความรู้ตามที่ตนเองถนัดและสนใจ ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อีกทั้งจะมีส่วนลดปัญหาและป้องกันไม่ให้ใช้เวลาว่างไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ ไม่เหมาะสม หรือที่อาจเสี่ยงต่อการกระทำผิดรูปแบบต่าง ๆ
ผมเสนอ ให้ กทม. พัฒนาให้มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และกระจายในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่ว กทม. โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ทั้งความรู้ ความสนุกสนาน ความตื่นเต้น การพัฒนาความมั่นใจและการเห็นคุณค่าตนเอง และทักษะทางสังคม ฯลฯ โดยแนวคิดพัฒนาแหล่งเรียนรู้คนเมือง มีดังนี้
แหล่งเรียนรู้ทุกตารางกิโลเมตร หมายถึง ให้ทุก 1 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่ กทม. มีแหล่งเรียนรู้อย่างน้อย 1 แห่ง พื้นที่ กทม. มี 1,562.2 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น แหล่งเรียนรู้ใน กทม. ต้องมีอย่างน้อย 1,562 แห่ง เพื่อให้คนในพื้นที่มีต้นทุนในการเข้าถึงต่ำที่สุด สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้สะดวก และรวดเร็ว
แหล่งเรียนรู้ทุกประเภทสำหรับทุกวัย ต้องศึกษาและสำรวจความต้องการแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยกำหนดว่าแหล่งเรียนรู้ใดที่จำเป็นสำหรับกลุ่มคนในวัยใด โดยมีให้ครบตั้งแต่ปฐมวัยถึงผู้สูงวัย กระจายแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ต่าง ๆ ให้กลุ่มคนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ พัฒนาให้เป็น rdquo;แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตอย่างครบวงจรrdquo; อาจเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต สวนสาธารณะที่มีชีวิต พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ฯลฯ
แหล่งเรียนรู้ระดับโลก พัฒนา ldquo;แหล่งเรียนรู้บนพื้นฐานจุดแกร่งของ กทม. ให้มีชื่อเสียงที่สุดในโลกrdquo; มีการกำหนดมาตรฐานและจัดระบบให้ความรู้ เช่น กทม. มีสวนดอกไม้เขตร้อนกลางเมืองใหญ่ที่สุด ที่หลากหลายและสวยที่สุดในโลก โดยพัฒนาสวนหลวง ร.9 ฯลฯ การมีแหล่งเรียนรู้ว่าวที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก โดยเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตว่าว เช่น ชุมชนสามัคคี ที่เขตมีนบุรี มีการจัดแข่งขัน ประกวดและพัฒนานวัตกรรมการผลิตและชักว่าว การมีศูนย์หัตถกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่แสดงกิจกรรมผลิตและพัฒนานวัตกรรมด้านหัตถกรรม หรือศูนย์อาหารแห่งชาติที่มีกิจกรรมประจำทั้งปีในการจัดแสดง แข่งขัน จำหน่ายอาหารและขนมไทยที่อร่อยและใหญ่ที่สุดในโลก เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้ทุกแห่งระบบบริหารจัดการและประเมินผล แหล่งเรียนรู้จะมีคุณภาพ มีความน่าสนใจ มีกิจกรรมที่หลากหลาย และดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ จำเป็น ldquo;ต้องมีการจัดการ (organize) อย่างเป็นระบบrdquo; เช่น มีศูนย์รับผิดชอบแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมทั่ว กทม. โดยกำหนดมาตรฐานแหล่งเรียนรู้ พัฒนาฐานข้อมูลและการให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตหรืออื่น ๆ แก่ผู้ที่สนใจ มีระบบชักชวนหรือจูงใจให้เข้าสู่แหล่งเรียนรู้ พัฒนาระบบระดมทุนเพื่อจะอยู่ได้ด้วยตนเอง มีระบบวัดประเมินผลและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ
แหล่งเรียนรู้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีคุณภาพ และน่าสนใจ จะต้องมีเจ้าภาพในการดำเนินการ และควรดำเนินการตามความเชี่ยวชาญ โดยอยู่บนพื้นฐานคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการ หมายถึง กทม. ควร ldquo;กระจายความรับผิดชอบพัฒนาแหล่งเรียนรู้rdquo; เช่น ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน รัฐวิสาหกิจ หน่วยราชการ ชุมชน โรงเรียน หรืออาจเป็นสถานประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) ต่าง ๆ โดย กทม. ต้องมีแรงจูงใจมากพอ เช่น มาตรการด้านภาษี การเอาระบบ CSR เข้ามาช่วย การให้สิทธิประโยชน์อื่น ๆ รวมถึงการอุดหนุนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความเชี่ยวชาญ ฯลฯ
* นำมาจากนิตยสารการศึกษาวันนี้ ปีที่ 8 ฉบับ 387 วันพฤหัสบดีที่ 5- วันพฤหัสบดีที่12 มิถุนายน2551

แสดงความคิดเห็น
admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2008-06-16