เศรษฐกิจฐานความรู้

โลกอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ โดยเฉพาะการกระชากเปลี่ยน (disruption) ทางเทคโนโลยี ที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
         

ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคม รวมไปถึง “ความเหลื่อมล้ำทางปัญญา” ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาและสร้างสังคมปัญญานิยมให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเริ่มต้นจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เพราะประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หากประเทศไทยยังนิ่งเฉย จะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างด้านสังคมแห่งปัญญาระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559 ผมได้มีโอกาสบรรยายพิเศษในการประชุมสภาปัญญาสมาพันธ์เรื่อง ?กฎ 99-1 กับความเหลื่อมล้ำ? ซึ่งมีการถ่ายทอดผ่านทาง Live Facebook ด้วย เนื่องด้วยผมเห็นว่าประเด็นความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น และปัญหานี้จะส่งผลต่อการพัฒนาและนำมาซึ่งปัญหาในมิติอื่นๆ ทั้งเชิงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

กฎ 99-1 (99 -1 Rule) คือ แนวโน้มความเหลื่อมล้ำแบบรุนแรง โดยคนส่วนน้อย ซึ่งแสดงด้วยตัวเลขสัญลักษณ์ คือ ร้อยละ 1 ครอบครองหรือมีอำนาจควบคุมส่วนแบ่งความมั่งคั่งเกือบทั้งหมด ซึ่งแสดงด้วยตัวเลขสัญลักษณ์ คือ ร้อยละ 99 กฎนี้สามารถเกิดขึ้นในหลายระดับ ทั้งในระดับโลก ประเทศ สังคม อุตสาหกรรม ตลาด ทั้งนี้ภายใต้กลุ่มย่อยหรือหน่วยย่อย ร้อยละ 1 บนสุด ยังมีร้อยละ 1 ย่อยที่มีส่วนแบ่งร้อยละ 99 ซ้อนเป็นชั้นๆ เป็นรูปแบบเดียวกันนี้ด้วย

รัฐบาลพยายามผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 หรือไทยแลนด์ 4.0 กล่าวคือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี เป็นการเน้นภาคบริการ แทนภาคอุตสาหกรรม เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่สร้างความมั่งคั่งผ่านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ เนื่องด้วยนโยบายนี้มีความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศ ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอมุมมองของผมในการใช้ทุนวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยให้ความสำคัญกับมิติทางเศรษฐกิจเป็นหลัก
ในอนาคต ความเป็นเมืองจะขยายตัวมากขึ้น กล่าวคือ ประชากรจะอาศัยอยู่ในเมืองร้อยละ 60 ในปี 2020 และเป็นร้อยละ 70 ในปี 2050 ความเป็นเมืองช่วยให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพและการสร้างนวัตกรรม สังเกตได้จากส่วนแบ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP ของเมืองมากกว่าสัดส่วนของประชากรในเมือง GDP ของเมืองมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 80 ของ GDP โลก แต่มีประชากรในเมืองเพียงร้อยละ 54 ของประชากรโลก

     นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมายเหลือคณานับ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนและรับรู้ปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศด้วยพระองค์เอง ซึ่งทำให้พระองค์พบว่า ราษฎรส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรนั้น ล้วนยากจน ผลิตพืชผลทางการเกษตรได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ อันเนื่องจากความแห้งแล้ง ขาดแคลนพื้นที่ทำกิน อีกทั้งขาดแคลนความรู้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ให้มีสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พระองค์จึงได้ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า 4,000 โครงการ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้พ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประจักษ์พยานให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านเศรษฐกิจของพระองค์อย่างชัดเจน

?ถ้าเราพิการทางกาย เรายังพอจะหาวิธีทดแทนได้ แต่ถ้าเราพิการทางภาษาอังกฤษ เราจะเป็นอัมพาตทางโอกาสตลอดชีวิตอย่างแท้จริง? 

คำกล่าวข้างต้น เป็นข้อสรุปความสำคัญของภาษาอังกฤษในยุคนี้ ซึ่งผมได้กล่าวไว้ในการบรรยายที่ต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนไม่ว่าอยู่ในแวดวงใด จะได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : http://m5.paperblog.com/i/55/556628/rwandan-knowledge-based-economy-illusion-L-EYjaoi.jpeg

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษเรื่อง "เศรษฐกิจโลก ... เวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง" ในงานสัมมนาการส่งเสริมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียน ในการบรรยายครั้งนี้ ผมได้คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกไว้หลายด้าน แต่ในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกสู่ "เศรษฐกิจฐานความรู้"

การเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้เป็นไปตามแนวคิด "คลื่นอารยะ 7 ลูก" ที่ผมได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือ "สยามอารยะ แมนนิเฟสโต : แถลงการณ์สยามอารยะ" ซึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมของโลกจากคลื่นลูกที่ 0 คือสังคมเร่ร่อน สู่คลื่นลูกที่ 1 - 3 คือ สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม และสังคมข้อมูลข่าวสารตามลำดับ และปัจจุบัน โลกกำลังจะเข้าสู่คลื่นลูกที่ 4 คือ สังคมแห่งความรู้


แหล่งที่มาของภาพ : http://khaosarnboston.com/wp-content/uploads/2013/12/woman-preparing-thai-food-at-floating-market.jpg

 

เดลินิวส์
คอลัมน์ ?แนวคิด ดร.แดน?

ประชากรหลายล้านคนในโลกยังคงมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก เนื่องจากปัญหาความยากจน การขาดแคลนอาหารและน้ำสะอาด สภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่ประชากรในหลายประเทศต้องเผชิญภาวะสงครามจนต้องกลายเป็นผู้อพยพ

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าสัดส่วนของประชากรที่ยากจน (ความยากจนแบบสัมบูรณ์) มีแนวโน้มลดลง แต่ปัญหาการกระจายรายได้กลับไม่ดีขึ้น (ความยากจนแบบสัมพัทธ์) ประชาชนส่วนหนึ่งจึงยังมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ในขณะที่สังคมไทยยังมีความเสี่ยงจากปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งทางการเมืองที่มีแนวโน้มไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงบทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในการสร้างความมั่งคั่งและการมีส่วนพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในการบรรยายของผมในการประชุม World Chinese Economic Forum ครั้งที่ 4 ส่วนในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึง ทิศทางนโยบายของจีนเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดบทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในอนาคต

รัฐบาลจีนดำเนินยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล โดยการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ความรู้สึกของชาวจีนโพ้นทะเลกับประเทศบ้านเกิด เช่น การจัดตั้งสถาบันเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับคนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ (เช่น Oversea Chinese Affairs office และ All China?s Federation of Returned Overseas Chinese) การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรของชาวจีนโพ้นทะเล เป็นต้น


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.bloggang.com/data/copy/picture/1162720956.jpg