วิเคราะห์ปัญหาการเข้าถึงการศึกษาในมุมเศรษฐศาสตร์
ldquo;การศึกษาrdquo; ในมุมมองเศรษฐศาสตร์ เป็นบริการประเภทหนึ่งที่ผู้รับบริการ (ผู้เรียน) มิใช่เป็นผู้รับประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว แต่สังคมโดยรวมยังได้รับประโยชน์อีกด้วย เพราะหากผู้เรียนได้รับการศึกษา มีแนวโน้มที่จะก่อปัญหาสังคมน้อยลงและยังสามารถช่วยผู้อื่นได้อีกด้วย ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าผลกระทบภายนอกเชิงบวก (positive externality) แต่แม้ว่าการศึกษาจะมีประโยชน์ กลับพบว่าผู้เรียนได้รับบริการการศึกษาต่ำ หากวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์พบว่า สาเหตุที่ผู้เรียนได้รับการศึกษาในระดับต่ำ มีดังนี้
1.การศึกษาไม่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน
แม้รัฐจะเข้ามาแทรกแซงการจัดการศึกษา โดยจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ผู้เรียน ซึ่งทำให้ต้นทุนการเข้าถึงการศึกษาต่ำลง แต่เกิดปัญหาคือ รัฐไม่ทราบความจำเป็นหรือความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง ซึ่งเศรษฐศาสตร์เรียกภาวะนี้ว่า ldquo;ความอสมมาตรของข้อมูล (Asymmetric information)rdquo; กรณีประเทศไทย รัฐทำตัวเป็น ldquo;คุณพ่อรู้ดีrdquo; แม้ได้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นแล้วก็ตาม จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรัฐกับความต้องการของผู้เรียน ส่งผลให้เกิดปัญหา อาทิ เด็กในพื้นที่ต่างกัน ต้องการการศึกษาที่ต่างกัน แต่รัฐจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมือนกัน เด็กบางกลุ่มขาดโอกาสในการศึกษา เพราะรัฐเข้าไปไม่ถึง หรือถึงแต่คุณภาพแย่ หรือการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงอีกด้วย ดังนั้น เด็กก็ไม่สามารถรับการศึกษาที่ดีได้ เนื่องจากต้นทุนสูงเกินไป
2.การนำทรัพยากรที่เป็นทุนทางไปได้ไม่เต็มที่
ทรัพยากรบุคคล การใช้ทรัพยากรบุคคลไม่เต็มที่คือ ใช้คนไม่ถูกประเภท ไม่ใช้คนตามความถนัดในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียน เช่น มีคนคนหนึ่งมีความตั้งใจที่จะสร้างโรงเรียนตามอัธยาศัย เพื่อสอนภาษาอังกฤษเด็กในชุมชนแออัด แต่เมื่อดำเนินการมาสักระยะเริ่มมีปัญหา เนื่องจากไม่มีทุนสนับสนุน เพราะไม่มีทักษะการหาทุน สอนได้อย่างเดียว ทั้งที่ในความเป็นจริงควรหาผู้ที่มีความสามารถในการระดมทุนมาช่วย โดยไม่จำเป็นต้องทำเอง ใช้คนไม่เต็มศักยภาพ มีคนจำนวนมากมีเวลาว่างเพื่อช่วยเหลือสังคม แต่ยังไม่ได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ถือเป็น ldquo;ต้นทุนค่าเสียโอกาสrdquo; ดังนั้น การสร้างโอกาสการศึกษาให้ผู้เรียน โดยมองข้ามการนำเวลามาใช้ถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ในชุมชนอาจมีแม่บ้าน ซึ่งไม่ได้ทำงานประจำ คนเหล่านี้อาจนำมาฝึกอบรม เพื่อถ่ายทอดความรู้หรือจัดกิจกรรมให้กับเด็กในชุมชน เป็นต้น
ทรัพยากรวัตถุและสถานที่ แต่ละชุมชนมีทรัพยากรทางวัตถุและสถานที่ ซึ่งยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ อาทิ ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน วัด สวนสาธารณะ รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญ จังหวัดจันทบุรีและระยอง สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำสวนผลไม้ และการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น ดังนั้น ควรหาช่องทางนำทรัพยากรชุมชนมาร่วมจัดการศึกษาให้มากที่สุด
ทุนทางสังคม เป็นทรัพยากรพื้นฐานของชุมชน ซึ่งแต่ละแห่งจะมีทุนทางสังคมต่างกัน อาทิ บุคคล กลุ่มบุคคล เช่น เครือข่ายทางสังคม สมาคมลูกเสือ คณะกรรมการโรงเรียน สโมสรฟุตบอล ผู้คนที่ต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต ฯลฯ โดยพบว่าบ่อยครั้งทุนทางสังคมมักถูกมองข้าม และไม่นำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าในการจัดการศึกษา ดังนั้น หากมีนำเอาทุนทางสังคมเหล่านี้มาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นการเพิ่มโอกาสการศึกษาให้ผู้เรียนได้อีกทางหนึ่ง
3.ผู้เรียนตัดสินใจรับการศึกษาโดยขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่จะได้รับ
การตัดสินใจเลือกใช้บริการนั้น ผู้เรียนจะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ตนเองได้รับเป็นหลัก ดังนั้น หากผู้เรียนเห็นว่าการศึกษา ให้ผลตอบแทนกลับมาไม่คุ้มค่าหรือไม่ได้รับในระยะเวลาอันสั้น เขาอาจไม่ตัดสินใจเข้ารับการศึกษา แม้ว่าการศึกษาจะทำให้เขาได้รับประโยชน์ก็ตาม เช่น ใช้เวลาในการศึกษานาน แต่จบมาแล้วไม่มีงานทำ เป็นต้น
การแก้ปัญหาการขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาของเด็กไทย จำเป็นต้องพิจารณาจากหลากหลายมุมมองอาทิ หากรัฐไม่สามารถจัดการศึกษาได้อย่างเหมาะสมหรือสอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียน รัฐควรสนับสนุนให้ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ เข้าร่วมจัดการศึกษา หากเกิดจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากทรัพยากรที่เป็นทุนทางสังคม ควรมีการวิเคราะห์สภาพชุมชน การวิเคราะห์จุดแกร่งและโอกาส เพื่อนำทรัพยากรในชุมชนเข้าร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษา ฯลฯ หรือหากเกิดจากการตัดสินใจรับการศึกษาของผู้เรียนขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่ได้รับ ควรต้องจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานหรือในระดับสูง หรือจัดการศึกษาในสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
Catagories:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-12-18
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ ศักยภาพมนุษย์ ในแนวคิด ดร.แดน
Total views: อ่าน 1,500 ครั้ง
บูรณาการวิทยาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ 21
Total views: อ่าน 2,336 ครั้ง
คิดเป็นระบบ Systematic Thinking ช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร
Total views: อ่าน 4,268 ครั้ง
ความสัมพันธ์ของการศึกษากับการเป็นมหาเศรษฐี
Total views: อ่าน 2,081 ครั้ง
STEMMAD-CINDERELLA สร้างบุคลากรด้านนวัตกรรมเพื่อการสร้างชาติ
Total views: อ่าน 4,486 ครั้ง