วิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายพรรคการเมือง
ที่มาของภาพ http://img227.imageshack.us/img227/3018/coloration6vm.jpg
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเวลานี้ อาจมีคำถามต่อนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองแต่ละพรรคว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และควรจะพิจารณาเลือกตั้งอย่างไร
เมื่อพิจารณานโยบายของแต่ละพรรค พบว่ามีกลิ่นอายของแนวคิดประชานิยมอย่างชัดเจน แต่ละพรรคล้วนต่อยอดนโยบายมาจากแนวคิดประชานิยมของพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น และนโยบายบางพรรคกลับมีความเป็นประชานิยมมากกว่าเดิม อาทิ
...........โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รางคู่ ถนนลาดยาง ชลประทาน
...........นโยบายพลังงานทดแทน ซึ่งทุกพรรคต่างเสนอว่าจะใช้พลังงานจากชีวมวล ไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล์ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม
............นโยบายเรียนฟรี รักษาฟรี และนโยบายเศรษฐกิจชุมชน ที่ถูกบรรจุอยู่ในนโยบายแทบทุกพรรคการเมือง
แม้ว่า แต่ละพรรคจะพยายามพัฒนานโยบายให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น และมีจุดเด่นของนโยบายที่แตกต่างกันไป อาทิ พรรคพลังประชาชนเน้นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวสร้างรายได้ 1.5 ล้านล้านบาทต่อปี และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ด้วยงบประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ชูนโยบายเร่งด่วน 99 วัน ส่วนพรรคมัชฌิมาธิปไตย เสนอนโยบายรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสายเป็นเวลา 10 ปี ประกันราคาสินค้าเกษตร 7 ชนิด และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ 7 ประเภท
ในความเหมือนของความเป็นนโยบายประชานิยม พบความต่างของระดับความเป็นเสรีนิยมในนโยบายของแต่ละพรรค กล่าวคือ
พรรคที่มีแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมมาก คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน สังเกตจาก การยอมให้เอกชนถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจหลัก และพรรคชาติไทยที่ปล่อยให้กลไกราคาพลังงานสะท้อนต้นทุน
ขณะที่พรรคที่มีแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมน้อยกว่า คือ พรรคมัชฌิมาธิปไตยที่เน้นบทบาทของรัฐสูงมาก โดยเฉพาะการแทรกแซงกลไกราคาพลังงาน รถไฟฟ้า และสินค้าเกษตร นโยบายยกเลิกกฎหมาย 11 ฉบับและข้อตกลงระหว่างประเทศที่กระทบคนไทย และถึงแม้ว่าจะมีนโยบายเปิดเสรีการตั้งธนาคารพาณิชย์ แต่กลับเสนอควบคุมส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ เป็นต้น
ทางด้านพรรคพลังประชาชนเน้นบทบาทของรัฐมากเช่นกัน อาทิ การแทรกแซงกลไกราคา พลังงาน รถไฟฟ้า และสินค้าเกษตร รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่เสนอนโยบาย แทรกแซงกลไกราคาพลังงานและไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เป็นสาธารณูปโภค
หากพิจารณาเหตุผลของการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ จะเห็นได้ว่านโยบายของพรรคต่าง ๆ มีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป
พรรคขนาดใหญ่ ทั้งพรรคพลังประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์ เน้นนโยบายที่สนองกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั้งประเทศ เพราะฐานเสียงของพรรคที่มีความหลากหลาย
ในขณะที่พรรคขนาดกลางเน้นนโยบายเจาะกลุ่มเป้าหมายในระดับที่เล็กลง โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่เป็นฐานเสียงของพรรค เช่น พรรคชาติไทยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนในชนบท นโยบายจึงเน้นด้านเกษตร เช่นเดียวกับพรรคเพื่อแผ่นดินที่มีฐานเสียงในภาคอีสาน และพรรคประชาราชที่มีฐานที่มั่นในจังหวัดสระแก้ว ส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่เน้นเจาะกลุ่มชนชั้นกลาง นโยบายจึงเน้นเจาะกลุ่มคนเมืองเป็นหลัก
ยกเว้นพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งแม้ว่าเป็นพรรคขนาดกลาง แต่กลับเน้นนโยบายในภาพรวม เนื่องจากพรรคเกิดจากการรวมตัวของสองกลุ่มการเมืองที่มีฐานเสียงมาจากคนละกลุ่ม ทำให้นโยบายจึงต้องครอบคลุมทั้งคนเมืองและชนบท
อย่างไรก็ตาม พรรคขนาดกลางและเล็ก ไม่เน้นแข่งขันเชิงนโยบายเป็นหลัก แต่เน้นเจาะคนบางกลุ่มหรือบางพื้นที่ โดยใช้กลยุทธ์อื่น ๆ อาทิ พรรคเพื่อแผ่นดินเสนอตัวว่าเป็นพรรคของคนอีสานและเสนอหัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรีของคนอีสาน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาชูภาพ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เพราะเน้นกลุ่มชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครราชสีมา ส่วนพรรคชาติไทยและประชาราชเน้นให้ผู้สมัครรักษาฐานคะแนนเสียงของตนเอง
จะเห็นได้ว่า นโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ มุ่งที่จะตอบสนองต่อฐานเสียงของตนเองฉะนั้น ก่อนที่ประชาชนจะตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใดเข้ามาบริหารประเทศ ควรพิจารณานโยบายของพรรคการเมืองอย่างรอบคอบ รอบด้าน ครบถ้วน โดยจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการนำมาปฏิบัติจริง แนวทางในการหาเงินเพื่อมาใช้จ่ายสำหรับนโยบายต่าง ๆ ความสามารถในการผลักดันนโยบาย รวมถึงบุคคลที่ทางพรรคกำหนดว่าจะให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ว่า มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ๆ หรือไม่ เพราะมิเช่นนั้น นโยบายต่าง ๆ ที่พรรคการเมืองหาเสียง จะกลายเป็นนโยบายเพ้อฝัน ที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ลักษณะโดยรวมของนโยบาย
พรรคการเมือง
|
พปช.
|
ปชป.
|
ชท.
|
พผด.
|
มฌม.
|
รช.
|
ปชร.
|
|
ขนาดของพรรค
|
ใหญ่
|
ใหญ่
|
กลาง
|
กลาง
|
M
|
S-M
|
เล็ก
|
|
กลุ่มเป้าหมาย
|
ทั้งประเทศ
|
ทั้งประเทศ
|
ชนบท
|
ชนบท
|
ทั้งประเทศ
|
เมือง
|
ชนบท
|
|
ให้ความสำคัญกับการใช้นโยบายหาเสียง
|
5
|
5
|
2
|
3
|
5
|
3
|
2
|
|
แนวคิดของนโยบาย
|
ประชานิยม
|
4
|
3
|
2
|
2
|
5
|
2
|
5
|
เสรีนิยม
|
2
|
3
|
4
|
4
|
1
|
4
|
1
|
หมายเหตุ: 1 = น้อยที่สุด, 2 = น้อย, 3 = ปานกลาง, 4 = มาก, และ 5 = มากที่สุด
ที่มา: ผู้เขียนวิเคราะห์เอง
* นำมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันพุธที่ 12 ธันวาคม 2550
แสดงความคิดเห็น
Catagories:
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-12-14
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 158 ครั้ง
คนไทยเรียนรู้อะไร จากบทเพลงสุดท้ายของพี่ศรี
Total views: อ่าน 74 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร
Total views: อ่าน 239 ครั้ง
บทบาทของไทยและอาเซียนต่อการรวมเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว
Total views: อ่าน 1,998 ครั้ง
การสร้างคุณภาพชีวิตเมืองเพื่อการสร้างชาติ ด้วยโมเดลเมืองน่าอยู่ 12 มิติ: Dr.Dan Can Do’s Livable City Model
Total views: อ่าน 2,638 ครั้ง