ใช้อำนาจอย่างมีสำนึก
.jpg)
ldquo;นักการเมืองที่กล้าจริงต้องกล้ายอมรับความผิดพลาดของตนเอง กล้าสารภาพผิด และกล้าบอกว่าตัวเองเป็นคนไร้ประโยชน์ แต่กำลังพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อไถ่ถอนความผิด และเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อสังคมในอนาคตrdquo;
พันธะผูกพันรับผิด เป็นหนึ่งในหลักธรรมาภิบาล หรือการบริหารปกครองที่ดี ดังนั้น หากเราต้องการเห็นนายกรัฐมนตรีคนต่อ ๆ ไป บริหารประเทศด้วยสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชน เราจำเป็นต้องเห็นพรรคการเมืองยึดหลักนี้
หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคต้องมีพันธะที่ผูกพันรับผิดชอบกับสมาชิกพรรค และประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนั้น โดยเฉพาะในส่วนของความผิดพลาด ล้มเหลว หรือความขาดตกบกพร่องที่เกิดขึ้นในงานซึ่งตนเองรับผิดชอบ ซึ่งหมายความว่า กระบวนการดำเนินงานต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบและถูกวัดผลการดำเนินงานได้ ทั้งผลงานเชิงปริมาณ คุณภาพ และประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร
ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งสำคัญ คือ เมื่อทำสิ่งใดบกพร่อง ผิดพลาด ต้องแสดงความกล้ารับผิด กล้ารับผิดชอบ หรือแม้กระทั่งกล้าที่จะลาออกจากตำแหน่งสูงสุดของพรรค หากหัวหน้าพรรคมีสำนึกรับผิดเช่นนี้ ย่อมเชื่อมั่นได้ว่า เราจะมีผู้นำประเทศที่กล้าประกาศลาออก โดยไม่โทษหรือกล่าวหาผู้อื่น หรือต้องรอกระบวนการยุติธรรมเข้ามาตัดสินก่อน
ตัวอย่างของนักการเมืองที่แสดงออกถึงพันธะผูกพันรับผิดของตัวเอง โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 นาย ลี แฮซัน นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ยื่นใบลาออกต่อประธานาธิบดีโนห์ มูเฮียน เหตุผลของการยื่นใบลาออกของนายลี แฮซันนั้น เพื่อแสดงความรับผิดชอบ เพราะถูกสื่อมวลชนโจมตีว่า ตนเองนั่นสนใจแต่การเล่นกอล์ฟ ละเลยเรื่องการประท้วงเรียกร้องสวัสดิการของพนักงานการรถไฟแห่งเกาหลีใต้
จากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า เมื่อได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเข้ามาบริหารประเทศ จำเป็นจะต้องบริหารงานให้สอดคล้องกับความไว้วางใจซึ่งเป็นพันธะผูกพันที่มีต่อประชาชน และหากทำให้มวลชนไม่พอใจในการบริหารเพราะการเพิกเฉยต่อความเป็นอยู่ของประชาชน แม้จะเป็นเหตุการณ์เล็กน้อย การกระทำเช่นนี้บ่งชี้ว่า ไม่ยึด ไม่หลงในอำนาจ แต่ เห็นความสำคัญของอำนาจที่ตนได้รับมอบความไว้วางใจมาจากประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงออกถึงพันธะรับผิดในการกระทำของตน
หวนกลับมามองการเมืองบ้านเรา ที่ผ่านมา การเมืองของไทยมีลักษณะในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ เมื่อทำผิดหรือดำเนินการบางอย่างแบบมีลับลมคมใน แม้จะมีการวิพากย์ถึงความไม่เหมาะสมอย่างกว้างขวางในสังคม แต่หากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน หรือ ถูกจับได้แบบคาหนังคาเขา จะไม่เห็นการแสดงออกถึงการรับผิดชอบในการกระทำนั้นจากเหล่านักการเมือง จากฝ่ายบริหาร หรือจากผู้นำพรรคการเมือง การที่การเมืองของไทยมีลักษณะเช่นนี้เอง จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเมืองไทยยังคงเป็นการเมืองสีดำ (Black Politics)
หากผู้นำการเมืองเป็นผู้นำที่มีธรรมาภิบาล โดยยึดหลักพันธะผูกพันรับผิด ประเทศไทยจะมีผู้นำที่ยึดมั่นในพันธะผูกพันที่มีต่อประชาชน มากกว่าที่จะยึดเพียงผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง และจะมีผู้นำที่มีความกล้าพร้อมจะยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง โดยไม่ยึดติดกับอำนาจ แต่ยึดมั่นในคุณธรรมและยึดประชาชน เมื่อเป็นเช่นนี้ สังคมไทยนั้นก้าวไปสู่สังคมที่เป็นประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง
---เจสสมิน เวสต์---
สิ่งสำคัญสำหรับผู้นำทางการเมืองที่สะท้อนจากคำพูดของนักเขียนชาวอเมริกัน ชื่อ เจสสมิน เวสต์ คือ เรื่องของการกล้ายอมรับความผิดพลาดของตนเอง และพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น มิใช่โยนความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่นหรือหลีกหนีความผิดที่เกิดขึ้น
เพราะเหตุใด...พันธะผูกพันรับผิด (Accoutability) หรือการรับผิดชอบ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในวิถีการเมืองระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะหัวใจของระบอบประชาธิปไตย คือ อำนาจทางการเมืองของนักการเมืองนั้นมาจากประชาชน ผู้นำประเทศจึงจำเป็นต้องมีพันธะผูกพันรับผิด กับประชาชน ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ทำ
พันธะผูกพันรับผิด เป็นหนึ่งในหลักธรรมาภิบาล หรือการบริหารปกครองที่ดี ดังนั้น หากเราต้องการเห็นนายกรัฐมนตรีคนต่อ ๆ ไป บริหารประเทศด้วยสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชน เราจำเป็นต้องเห็นพรรคการเมืองยึดหลักนี้
หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคต้องมีพันธะที่ผูกพันรับผิดชอบกับสมาชิกพรรค และประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนั้น โดยเฉพาะในส่วนของความผิดพลาด ล้มเหลว หรือความขาดตกบกพร่องที่เกิดขึ้นในงานซึ่งตนเองรับผิดชอบ ซึ่งหมายความว่า กระบวนการดำเนินงานต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบและถูกวัดผลการดำเนินงานได้ ทั้งผลงานเชิงปริมาณ คุณภาพ และประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร
ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งสำคัญ คือ เมื่อทำสิ่งใดบกพร่อง ผิดพลาด ต้องแสดงความกล้ารับผิด กล้ารับผิดชอบ หรือแม้กระทั่งกล้าที่จะลาออกจากตำแหน่งสูงสุดของพรรค หากหัวหน้าพรรคมีสำนึกรับผิดเช่นนี้ ย่อมเชื่อมั่นได้ว่า เราจะมีผู้นำประเทศที่กล้าประกาศลาออก โดยไม่โทษหรือกล่าวหาผู้อื่น หรือต้องรอกระบวนการยุติธรรมเข้ามาตัดสินก่อน
ตัวอย่างของนักการเมืองที่แสดงออกถึงพันธะผูกพันรับผิดของตัวเอง โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 นาย ลี แฮซัน นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ยื่นใบลาออกต่อประธานาธิบดีโนห์ มูเฮียน เหตุผลของการยื่นใบลาออกของนายลี แฮซันนั้น เพื่อแสดงความรับผิดชอบ เพราะถูกสื่อมวลชนโจมตีว่า ตนเองนั่นสนใจแต่การเล่นกอล์ฟ ละเลยเรื่องการประท้วงเรียกร้องสวัสดิการของพนักงานการรถไฟแห่งเกาหลีใต้
จากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า เมื่อได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเข้ามาบริหารประเทศ จำเป็นจะต้องบริหารงานให้สอดคล้องกับความไว้วางใจซึ่งเป็นพันธะผูกพันที่มีต่อประชาชน และหากทำให้มวลชนไม่พอใจในการบริหารเพราะการเพิกเฉยต่อความเป็นอยู่ของประชาชน แม้จะเป็นเหตุการณ์เล็กน้อย การกระทำเช่นนี้บ่งชี้ว่า ไม่ยึด ไม่หลงในอำนาจ แต่ เห็นความสำคัญของอำนาจที่ตนได้รับมอบความไว้วางใจมาจากประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงออกถึงพันธะรับผิดในการกระทำของตน
หวนกลับมามองการเมืองบ้านเรา ที่ผ่านมา การเมืองของไทยมีลักษณะในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ เมื่อทำผิดหรือดำเนินการบางอย่างแบบมีลับลมคมใน แม้จะมีการวิพากย์ถึงความไม่เหมาะสมอย่างกว้างขวางในสังคม แต่หากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน หรือ ถูกจับได้แบบคาหนังคาเขา จะไม่เห็นการแสดงออกถึงการรับผิดชอบในการกระทำนั้นจากเหล่านักการเมือง จากฝ่ายบริหาร หรือจากผู้นำพรรคการเมือง การที่การเมืองของไทยมีลักษณะเช่นนี้เอง จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเมืองไทยยังคงเป็นการเมืองสีดำ (Black Politics)
หากผู้นำการเมืองเป็นผู้นำที่มีธรรมาภิบาล โดยยึดหลักพันธะผูกพันรับผิด ประเทศไทยจะมีผู้นำที่ยึดมั่นในพันธะผูกพันที่มีต่อประชาชน มากกว่าที่จะยึดเพียงผลประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง และจะมีผู้นำที่มีความกล้าพร้อมจะยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง โดยไม่ยึดติดกับอำนาจ แต่ยึดมั่นในคุณธรรมและยึดประชาชน เมื่อเป็นเช่นนี้ สังคมไทยนั้นก้าวไปสู่สังคมที่เป็นประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง
* นำมาจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2550
แสดงความคิดเห็น
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-11-23