ข้อมูลใน Wealth Report ปี 2012 จัดทำโดย ไนท์ แฟรงค์ (Knight Frank) และ ซิตี้ ไพรเวท แบงค์ (Citi Private Bank) รายงานว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงเศรษฐกิจสหรัฐและกลายเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2020 แต่อันดับจะถูกเปลี่ยนเป็นประเทศอินเดีย ที่จะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2050 ประกอบกับเมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียได้เปิดตัวนโยบายการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Policy - FTP) ฉบับปี ค.ศ. 2015 - 2020 อย่างเป็นทางการ หลังจากรัฐบาลใหม่ของอินเดียภายใต้การนำของนายนเรนทรา โมดี ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของไทยด้วย คำถามที่น่าสนใจตามมาคือ ทิศทางนโยบายในด้านต่างๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าของประเทศอินเดียนั้นเป็นอย่างไร และจะมีนัยทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างไร 

การศึกษาภาคฤดูใบไม้ร่วง ปี 2015 (Fall 2015) ระหว่างช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมที่กำลังจะถึงนี้เป็นก้าวแรกและเป็นก้าวสำคัญสำหรับฮาร์วาร์ดในการเริ่มต้นให้มีกฎแห่งเกียรติยศ หรือ Honor Code ด้านความซื่อสัตย์และสัตย์จริงทางวิชาการ (academic integrity)  ภายในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง ภายหลังจากที่มีการพัฒนากรอบความคิดและวางแผนดำเนินการมายาวนานกว่า 4 ปีก่อนหน้านี้  ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับกฎแห่งเกียรติยศด้านความซื่อสัตย์ทางวิชาการนี้อย่างมาก โดยถือเป็นเสมือนหัวใจของพันธกิจวิชาการ (heart of academic mission) ที่นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคนของฮาร์วาร์ดต้องปฏิบัติตาม

     คนดี คือ คนที่เห็นแก่ส่วนรวม มากกว่า ส่วนตัว
     นิยาม ?คนดี? ในมุมมองของผมสรุปง่าย ๆ จะต้องเป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แต่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่น และประโยชน์ส่วนรวมในมุมที่กว้างที่สุดก่อนเสมอ
     หากทุกแวดวงวิชาชีพ คนทำงานทุกคนยึดนิยามคนดีเช่นนี้ สังคมจะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ค่านิยมการแข่งขัน เพื่อความสำเร็จโดยยึด มูลค่า เป็นหลัก เช่น องค์กรมุ่งทำกำไร ทำยอดขาย กินส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด โดยไม่ใส่ใจประโยชน์หรือปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมากเพียงพอ หรือ คนทำงาน ทำเพื่อให้ตัวเองได้เงิน ได้ชื่อเสียง ได้ผลตอบแทนมากที่สุด และจะไม่ทำถ้าตัวเองไม่ได้ประโยชน์ โดยไม่ได้ดูว่าจะสร้างความเสียหายต่อผู้อื่นอย่างไร ฯลฯ ย่อมจะเปลี่ยนมาเป็นการคำนึงถึง คุณค่า ของสิ่งที่ทำมากยิ่งขึ้น เช่น ทำสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เอาเปรียบ ยึดมั่นในจรรยาบรรณ เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายร่วมกัน

วันสำคัญวันหนึ่งในเดือนเมษายนของทุกปี คือ วันครอบครัว ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เมษายน เป็นวันที่หลายครอบครัวถือโอกาสวันหยุดสงกรานต์กลับไปเยี่ยมคุณพ่อ คุณแม่ บ้างก็พาลูกหลานไปเยี่ยมคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย เป็นช่วงเวลาของการพักผ่อนและเชื่อมความสัมพันธ์ในวงศ์ญาติไปพร้อมกันในโอกาสเดียว เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกครอบครัวญาติพี่น้องพาลูกหลานมาทำความรู้จักกันและกัน ได้รู้ว่าลูกของคนโน้นหลานของคนนี้เป็นอย่างไร หน้าตา นิสัย เป็นอย่างไร ขณะเดียวกันสิ่งที่จะได้ยินตามมามักหนีไม่พ้นคำชมหรือคำตำหนิของผู้ใหญ่ ที่พูดกันในวงญาติทั้งต่อหน้าและหลับหลัง ในทำนองเปรียบเทียบลูกคนนั้นกับลูกคนนี้ หลานคนนั้นกับหลานคนโน้น
พ่อแม่มักจะดีใจหากลูกได้รับคำชมในทางบวก เช่น สวย น่ารัก หล่อ พูดเก่ง เรียนดี ฯลฯ ซึ่งนับเป็นสิ่งดีและพ่อแม่ควรภูมิใจ แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรมองอีกมุมหนึ่งคือ คำชมลักษณะนี้เป็นคำชมบนพื้นฐานของรูปร่างลักษณะภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมา อาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนัก และอาจทำให้เด็กเข้าใจว่า ผู้ใหญ่มองคุณค่าของเขาเพียงสิ่งภายนอกเท่านั้น

 
ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาภาพรวมทั้งมหาวิทยาลัย และยังให้ความสำคัญกับการกระจายความรับผิดชอบลงสู่ระดับวิทยาลัย โดยให้เป็นเป้าหมายร่วมกันที่แต่ละวิทยาลัยของฮาร์วาร์ดจะต้องขับเคลื่อนภารกิจทางด้านการศึกษาตามจุดแกร่งของตนเอง อาทิ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การทำวิจัย การให้บริการวิชาการแก่สังคมและประชาคมมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลทำให้วิทยาลัยต่าง ๆ ของฮาร์วาร์ดสามารถสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น  ระดับองค์กร ระดับชุมชน ระดับสังคมประเทศชาติ และระดับโลก อาทิ วิทยาลัยเคนเนดี้สคูลแห่งฮาร์วาร์ด (Harvard Kennedy School) ที่เป็นแหล่งบ่มเพาะหล่อหลอมสร้างคนเปลี่ยนโลก หรือ วิทยาลัยธุรกิจแห่งฮาร์วาร์ด (Harvard Business School) แหล่งผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงป้อนสู่สถานประกอบการชั้นนำทั่วโลก เป็นต้น    

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า "คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด คือ คนที่ไม่เคยทำอะไรใหม่เลย" (Anyone who has never made a mistake has never tried anything new.)
 
ประวัติคนที่ประสบความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวนมาก มักมีส่วนหนึ่งที่คล้าย ๆ กัน นั่นคือ ประวัติความผิดพลาด ล้มเหลว และต้องเดินอยู่บนเส้นทางอันเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม ก่อนที่จะคว้าความสำเร็จได้

 
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความตั้งใจจะก้าวไปสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง เห็นได้จากนโยบายและวิสัยทัศน์ของประเทศในปัจจุบันที่อยู่ในช่วงปฏิรูปพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวไปสู่ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีหลายประเทศที่สามารถก้าวข้ามจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูงได้ หนึ่งในนั้น คือ ประเทศไอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจและสามารถนำมาเป็นบทเรียนให้กับระบบเศรษฐกิจประเทศไทยได้
 
เศรษฐกิจของไอร์แลนด์มีการขยายตัวอย่างมาก รายได้ต่อหัวของประชากร (GDP per capita) ในปีค.ศ.1970 อยู่ที่ 10,297 ดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเป็น 45,735 ดอลลาร์ หรือสูงขึ้นถึง 4.4 เท่า ในปีค.ศ.2007 หากพิจารณาประเทศร่ำรวย 20 อันดับแรกของโลก ไอร์แลนด์ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในช่วงปี 1973 ? 2007 นอกจากนี้หากพิจารณาวัฏจักรธุรกิจโลกทั้ง 4 ครั้ง คือ 1973 ? 1979, 1979 ? 1989, 1989 ? 2000, 2000 ?
การพัฒนาหลักสูตรสนองตอบการพัฒนาชาติและท้องถิ่นเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาแห่งฮาร์วาร์ด ซึ่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน ฮาร์วาร์ดได้มีการคิดค้น พัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรอย่างเป็นพลวัต ในจำนวนนี้หลายหลักสูตรสร้างผลกระทบเชิงบวกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับชุมชน สังคม ประเทศชาติ และระดับโลก อาทิ วิชาบอสตัน (Boston course) ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานในสังกัดวิทยาลัยเคนเนดี้สคูลแห่งฮาร์วาร์ด (Harvard Kennedy School) วิชาดังกล่าวนี้มีส่วนสำคัญต่อการจัดการประเด็นปัญหาและการพัฒนาสังคมชุมชนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการสร้างผู้นำรุ่นใหม่และการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญของหลักสูตรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมของฮาร์วาร์ด 

สมัยนี้จบปริญญาตรีไม่พอ ต้องต่อปริญญาโท ปริญญาเอก เพราะถ้ามีความรู้สูง เราย่อมมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่า...
สมัยนี้เรียนรู้จากสถานศึกษาไม่พอ ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องขวนขวานหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทั้งการเข้าร่วมอบรมสัมมนา เข้าร่วมหลักสูตรต่าง ๆ เรียนรู้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ทันโลก มิเช่นนั้นจะตกยุค ไม่สามารถแข่งขันได้...