ครม. สมควรเรียนเศรษฐศาสตร์พื้นฐานเพิ่ม (1)

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก

ldquo;เศรษฐศาสตร์เข้าใจยากจังrdquo; นี่เป็นคำบ่นของหลาย ๆ คน ทั้งผู้ที่เคยเรียน และผู้ที่ไม่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์แต่มีโอกาสได้ฟังเรื่องราวข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์ ซึ่งความจริงแล้วคำพูดดังกล่าวมีส่วนถูกอยู่บ้าง เนื่องจากแก่นของวิชาเศรษฐศาสตร์มิใช่เรื่องของเนื้อหาสาระและข้อมูล แต่เป็นเรื่องของวิธีการและเครื่องมือในการคิดชุดหนึ่ง ดังนั้นผู้ที่ไม่ชอบการคิดที่สลับซับซ้อนจึงอาจรู้สึกว่ายาก

ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวอาจรวมถึงคณะรัฐมนตรีรักษาการณ์ชุดปัจจุบันด้วย

ถึงแม้ว่ารัฐมนตรีทุกกระทรวงจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโดยตรง แต่คุณทักษิณอ้างอยู่เสมอว่า สถานการณ์โลกในปัจจุบันเป็นยุคของทุนนิยมข้ามชาติและยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรมีความเข้าใจ ดังนั้นรัฐมนตรีทุกคนใน ครม. จึงควรมีความรู้ในวิชาเศรษฐและรู้จักเศรษฐกิจไทยด้วย แม้จะไม่ได้รับผิดชอบกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโดยตรงก็ตาม-ศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

รัฐมนตรีท่านใดที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะไปศึกษาหาความรู้จากผู้รู้ทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอยู่มากมายในฐานะที่ปรึกษาของรัฐบาลรักษาการณ์ชุดนี้ ก่อนที่จะไปปล่อยไก่ต่อหน้าสื่อมวลชน

ตัวอย่างที่ผมขอยกขึ้นมาในบทความนี้ คือการที่รักษาการณ์รัฐมนตรีท่านหนึ่งในรัฐบาลชุดนี้ได้ออกมาตอบโต้อย่างเข้าใจผิด ต่อกรณีที่ (TDRI) ระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมาไม่ได้เกิดจากนโยบายของรัฐบาล โดย รักษาการณ์ รมว.ท่านนี้กล่าวว่า ldquo;ถ้ารัฐบาลอยู่เฉย ๆ ไม่ทำงาน เศรษฐกิจจะดีขึ้นได้อย่างไรrdquo;

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ผมจึงมีประเด็นที่อยากวิเคราะห์ถึงความเห็นของรักษาการณ์ รมว.ท่านนี้ ดังนี้

ประการแรก การตอบโต้ที่ผิดประเด็น
การตอบโต้ของรักษาการณ์ รมว.เป็นการตอบโต้ที่ผิดประเด็น เพราะทีดีอาร์ไอไม่ได้ระบุว่า รัฐบาลอยู่เฉย ๆ หรือไม่มีความพยายามในการทำงานแต่อย่างใด ตรงกันข้ามผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่มีโครงการจำนวนมาก แต่ประเด็นที่ทีดีอาร์ไอกล่าวถึง เป็นประเด็นเกี่ยวกับผลของการทำงาน
มิใช่ปริมาณของงานที่รัฐบาลทำ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทีดีอาร์ไอกล่าวถึงความไม่มีประสิทธิผลของนโยบายของรัฐบาลในการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว

ประการที่สอง การทำงานมากไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจโต
ทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์บางสำนัก เช่น สำนัก
Classic และ Neoclassic เป็นต้น ได้ให้ข้อสรุปว่า ldquo;The best government is the least governmentrdquo; หรือแปลว่า ldquo;รัฐบาลที่อยู่เฉย ๆ เป็นรัฐบาลที่ดีที่สุดrdquo; อนึ่ง รัฐบาลที่อยู่เฉย ๆ ในที่นี้มิได้หมายความว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ทำอะไรเลย แต่เป็นรัฐบาลที่ไม่เข้าไปแทรกแซงระบบเศรษฐกิจด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การตั้งเพดานราคาหรือการอุดหนุน (subsidy) สินค้าบางชนิดเพื่อให้ราคาต่ำลง หรือการตั้งราคาขั้นต่ำเพื่อให้ราคาสินค้าสูงขึ้นโดยที่มิได้เป็นไปตามกลไกตลาด เป็นต้น ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ในสำนักนี้ หน้าที่ที่รัฐบาลควรทำอย่างยิ่งคือ การรักษากฎกติกา (rule) ของสังคมและเศรษฐกิจให้มีระเบียบ ไม่วุ่นวายโกลาหล เพื่อให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างเต็มที่

ต่อคำถามว่า ldquo;ถ้ารัฐบาลอยู่เฉย ๆ ไม่ทำงาน เศรษฐกิจจะดีขึ้นได้อย่างไรrdquo; ผมขอช่วยชี้แจงสั้น ๆ ว่า นักเศรษฐศาสตร์ในสำนักนี้ได้อธิบาย ทั้งจากใคร่ครวญด้วยเหตุผลและด้วยประสบการณ์เชิงประจักษ์จากรัฐบาลในประเทศของเขาว่า การที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจด้วยโครงการต่าง ๆ มากมายนั้น นอกจากจะทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้สังคมได้รับสวัสดิการลดลงแล้ว ยังก่อให้เกิดต้นทุนต่อสังคมจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic rent) ซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกว่า การโกงกิน ที่ทำให้ประชาชนต้องแบกภาระด้วยการเสียภาษีอีกด้วย

ประการสุดท้าย ภาครัฐมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจไทยน้อย

หากพิจารณาโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะพบว่า ภาครัฐมีอิทธิพลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มากนัก ซึ่งผมต้องขออธิบายเป็นขั้นตอนดังนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นวัดจากอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติ และรายได้ประชาชาตินั้นคิดจากตัวแปรเศรษฐกิจ 5 ตัว คือ การบริโภคภาคเอกชน การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐ การส่งออก และการนำเข้า ดังนั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจจึงเกิดจากปัจจัยที่จะมากระทบตัวแปร 5 ตัวนี้

ด้วยเหตุที่ประเทศไทยเป็นประเทศเปิด ซึ่งเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าของไทยในปัจจุบัน ที่มีมูลค่ารวมกันมากว่ารายได้ประชาชาติ การส่งออกและนำเข้าจึงมีสัดส่วนค่อนข้างมากในรายได้ประชาชาติ ในขณะที่ตัวแปรด้านการส่งออกและนำเข้านั้นมีปัจจัยหลักที่มากำหนดคือภาวะเศรษฐกิจโลก ดังนั้นเศรษฐกิจโลกจึงเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยมาก ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของรายได้ประชาชาติ นโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลจึงมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยตรงเพียงส่วนน้อยเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ
ภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ

ผมเข้าใจดีว่าการตอบโต้ของรักษาการณ์ รมว.ท่านนี้เป็นเพียงการตอบโต้ทางการเมือง ซึ่งสามารถทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์ เกิดความเข้าใจผิดต่อการวิเคราะห์เชิงวิชาการของทีดีอาร์ไอได้ แต่สำหรับผู้ที่รู้เศรษฐศาสตร์จะเข้าใจดีว่า เนื้อหาของการตอบโต้นั้นสะท้อนถึงการ
ขาดความเข้าใจและไม่ได้ตอบโต้กลับอย่างมีเหตุผลแต่อย่างใด

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-04-04