ยึดความเที่ยงธรรม..รับประกัน ?ก้าวหน้า?
ถ้าให้เลือกร่วมงานกับคน 2 คน เราจะเลือกทำงานกับใคร?
คนแรก หัวหน้างานรับประกันให้ว่า ?คน ๆ นี้ พูดคำไหนคำนั้น ....รับปากแล้ว เขาจะต้องทำจนสำเร็จให้ได้?
คนที่สอง เพื่อนร่วมงานกล่าวว่า ?คน ๆ นี้ ต่อหน้าหัวหน้าทำเป็นขยันขันแข็ง แต่พอลับหลังแอบเอางานส่วนตัวมาทำเป็นประจำ?
แน่นอนว่า เราคงเลือกทำงานร่วมกับคนแรก เพราะมั่นใจว่างานจะเสร็จ และเราย่อมชอบคนที่ปฏิบัติอย่าง ?ตรงไปตรงมา? มากกว่าร่วมงานกับคนที่ไม่น่าไว้วางใจ ต่อหน้าอย่างหนึ่ง ลับหลังอีกอย่างหนึ่ง
คนที่มีเล่ห์เหลี่ยมอาจทำสิ่งที่สร้างความพึงพอใจให้ตนเอง...ซึ่งมีคนเดียว แต่คนที่ตรงไปตรงมา ย่อมสร้างความพึงพอใจให้ทุกคนที่ปฏิสัมพันธ์ด้วย...ซึ่งอาจมีจำนวนตั้งแต่ 1 คน จนนับไม่ถ้วน
คนที่มี ?ความเที่ยงธรรม? ย่อมฉายแววแห่งความเป็น ?คนดี? และเปิดโอกาสแห่งความก้าวหน้า สู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ได้ในอนาคต
ความเที่ยงธรรม คืออะไร?
คำว่า ความเที่ยงธรรม มาจากภาษาอังกฤษว่า integrity ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่มีคำแปลภาษาไทยที่ครอบคลุมนิยามศัพท์อย่างครบถ้วน โดยคำว่า integrity มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า integer หมายถึง wholeness หรือ ความครบถ้วน สมบูรณ์ บริบูรณ์ ความเป็นจำนวนเต็ม
คนที่มี integrity จึงให้ความหมายถึง คนที่แสดงตัวตนที่แท้จริงอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นคนที่ซื่อตรงต่อหลักคุณธรรมที่ยึดถืออยู่ภายใน ซื่อสัตย์ต่อความจริง ทั้งความคิด คำพูด และการกระทำ จะสอดคล้องกับความคิด ความเชื่อ หลักการ ค่านิยมที่ยึดถืออยู่ภายใน และแสดงออกอย่างสอดคล้องคงเส้นคงวาตลอดทาง
ลักษณะของคนที่มี integrity หรือ มีความเที่ยงธรรมในใจ จึงเป็นการผสานคุณลักษณะต่าง ๆ ของคุณธรรมเอาไว้ด้วยกัน แสดงออกเป็นคนที่มีลักษณะที่ดีต่อไปนี้ อาทิ
?ความซื่อสัตย์? ทั้งซื่อสัตย์ต่อความจริง ซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น มีพฤติกรรมที่ถูกต้องทั้งต่อหน้าและลับหลัง
?ไว้วางใจได้? มีความจริงใจ เคารพในกติกา รักษาสัญญา พูดคำไหนคำนั้น ไม่เจ้าเล่ห์หลอกลวง
?รับผิดรับชอบ? กล้าทำ กล้ารับ ทุ่มเทลงมือทำภารกิจให้ลุล่วง และยอมรับผลการกระทำที่เกิดขึ้น ไม่แก้ตัว ไม่โยนความผิด
?มีใจเป็นธรรม? กล้ายืนหยัดในความถูกต้อง ไม่เบี่ยงเบนความถูกต้องหรือถูกทำให้ลำเอียงด้วยอคติ ความสัมพันธ์ ผลประโยชน์ส่วนตัว หรือสิ่งล่อใจใด ๆ
ความเที่ยงธรรมเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ ?คนดี? ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทผู้นำหรือไม่ ความเที่ยงธรรมจะช่วยเสริมสร้าง ?ทุนทางชื่อเสียง? ของเรา ทำให้เป็นคนที่ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ไม่ว่าทำงานที่ใดย่อมได้รับการยอมรับ ส่งผลให้ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตและการทำงานย่อมติดตามมา
ยิ่งคนในระดับหัวหน้า ผู้บริหาร หรือ ?ผู้นำ? ยิ่งต้องมีความเที่ยงธรรมเป็นฐานคุณธรรมประจำใจ จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับ ทำให้เกิดความศรัทธา บารมี ทำให้คนอื่นพร้อมที่จะตามเราในฐานะที่เราเป็นผู้นำ
ในทางตรงกันข้าม หากคนมีอำนาจ มีความเก่งกาจ มีผลงานดี แต่บกพร่องในข้อนี้ ย่อมสามารถสร้างผลเสียหรือหายนะยิ่งใหญ่ได้ เช่น ผู้นำที่คิดอย่าง พูดอย่าง ทำอย่าง ผู้นำที่หลอกลวงผู้อื่นเพื่อฉกฉวยประโยชน์ใส่ตน ผู้นำที่ไม่รักษาคำพูด ขาด ความรับผิดชอบ ย่อมไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ ไม่เป็นที่ศรัทธา สร้างความเสียหายต่อส่วนรวม และจะถูกโค่นอำนาจได้ในที่สุด
การพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มี ความเที่ยงธรรม จึงเป็นเรื่องที่คนทำงานทุกคน ควรเรียนรู้ให้เข้าใจ หากเราต้องการความสำเร็จในชีวิตอนาคต
ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ? คิด พูด ทำ สอดคล้องตลอดทาง ฝึกตนเองให้ทำดี ทำถูกต้อง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สิ่งที่เราคิด พูด ทำ จะต้องสอดคล้องกันตลอดทาง ต้องไม่เป็นพวก ?ปากว่าตาขยิบ? ?มือถือสาก ปากถือศีล? ?คิดอย่าง พูดอย่าง ทำอย่าง? โดยหมั่นสำรวจตัวเองว่า ในสถานการณ์ต่าง ๆ เราซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นมากน้อยเพียงใด? มีเรื่องใดบ้างที่เรารู้ว่า ?ผิด? แต่ก็ยังทำ เพราะไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็นหรือไม่? ถ้ามีให้รีบแก้ไข
ยืนหยัดที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง ? มาตรฐานคุณธรรมจริยธรรมต้องคงเส้นคงวา เลือกที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อเหตุผลที่ถูกต้อง ใช้มาตรฐานเดียวกันอย่างเป็นธรรม โดยคิดว่า ถ้าสิ่งนั้นไม่ดีสำหรับเราแล้ว ย่อมไม่ดีต่อคนอื่นด้วย ถ้าเราไม่ทำเช่นนั้นกับตนเอง เราก็ไม่ควรทำเช่นนั้นกับคนอื่นด้วย เราต้องไม่ทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่โกหกหลอกลวง แต่คำนึงถึงผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา ปฏิบัติต่อทุกฝ่ายอย่างยุติธรรม
รับผิดชอบต่อคำพูดและการกระทำของตน ? เมื่อกล้าทำ ต้องกล้ารับ เราต้องเป็นคนที่ไม่รับปากใครแบบง่าย ๆ แบบขอไปที แต่คิดอย่างรอบคอบแล้วว่าสามารถทำได้จริง ทำได้สำเร็จ และรับผิดชอบทำจนสำเร็จ รักษาสัญญาที่ให้ไว้ และหากผลลัพธ์ออกมาเช่นไร ก็พร้อมที่ยอมรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น เมื่อทำผิดจะยินดีรับผิดและแก้ไข ไม่แก้ตัวโยนความผิด เอาตัวรอด
ในสถานการณ์ปกติ เราอาจไม่สามารถวัดว่า ใครมีความเที่ยงธรรมมากน้อยกว่ากัน แต่ในภาวะวิกฤต ภาวะที่ต้องเลือกระหว่าง ได้ กับ เสีย จะเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่า สถานะความเที่ยงธรรมในใจเรานั้น...มากน้อยเพียงใด...
งานวันนี้
ปีที่ 16 ฉบับที่ 694 วันที่ 8-15 กรกฎาคม 2557
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
แหล่งที่มาของภาพ : http://sogoodwebstorage.blob.core.windows.net/upload/27/JncxaoUd94.png
Tags:
Post date:
Friday, 21 August, 2015 - 10:54
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เมื่อธรรมาภิบาลสั่นคลอน: บทเรียนและทางออกสำหรับตลาดทุนไทย
Total views: อ่าน 36 ครั้ง
แชร์ไอเดีย นโยบายการจัดการยาบ้าออกจากสังคมไทย
Total views: อ่าน 63 ครั้ง
ค่าแรงขั้นต่ำ: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
Total views: อ่าน 247 ครั้ง
การหมิ่นประมาท คือ ฆาตกรรมชื่อเสียง
Total views: อ่าน 224 ครั้ง
Passive Outcome
Total views: อ่าน 284 ครั้ง