บุตร

"จากนิทานเรื่องเต่ากับกระต่าย" เมื่อเต่ากับกระต่ายต้องมาวิ่งแข่งกัน หากมองด้วยสายตาธรรมชาติแล้ว กระต่ายย่อมชนะอย่างแน่นอน  แต่เพราะเต่าทำอย่างเต็มที่หรือทำอย่างดีที่สุด  จึงทำให้ในที่สุดเต่าเข้าเส้นชัยได้ก่อน  ในเหตุการณ์นี้ ถ้ามีใครไปสัมภาษณ์กระต่ายก่อนการแข่งขัน กระต่ายคงไม่รู้ว่าตัวเองจะแพ้  หรือถ้าได้ถามเต่าก่อนการแข่งขัน เต่าก็คงไม่รู้อีกเช่นกันว่าตัวเองจะชนะ

ปรากฏการณ์ "เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน" "รวยได้แต่เด็ก" ประสบความสำเร็จ (เป็นเศรษฐี) ตั้งแต่อายุยังน้อย ฯลฯ ที่กำลังเป็นกระแสมาแรงในสังคมไทย ในโลกเสรีทางการค้าและข้อมูลข่าวสารที่เปิดกว้างในปัจจุบันก่อให้เกิดช่องทางในการเป็นเศรษฐีใหม่ หรือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ได้อย่างไม่ยากเย็นนักเมื่อเทียบกับยุคสมัยก่อนหน้า เศรษฐีใหม่วัยหนุ่มสาว ต่างตบเท้าเรียงหน้ากระดานเข้าสู่แวดวงทางธุรกิจ จำนวนมาก มีการเผยแพร่ผลงานความสำเร็จดังกล่าวออกไปอย่างกว้างขวางในทุกทาง ทั้งงานเขียน สื่อทีวี และการกล่าวถึงในสังคมออนไลน์ ก่อเกิดกระแสแรงผลักดันจากต้นแบบหรือไอดอลผู้ประสบความสำเร็จนั้นส่งต่อไปสู่ หนุ่มสาววัยเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ฯลฯ ต่างปรารถนาอยากประสบความสำเร็จเช่นเดียวกันแบบนี้บ้าง โดยนิยามแห่งความสำเร็จ หรือการเป็นเศรษฐี ที่คนส่วนมากเข้าใจหรือให้ความหมายไว้นั่นคือ  การประสบความสำเร็จในธุรกิจการงานจนมีฐานะร่ำรวย มีทรัพย์สินเงินทอง  สินทรัพย์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเพียงพอให้ตนเองมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย อยากได้อะไรก็ได้  มีเสรีภาพทางการเงิน ไปตลอดชีวิต

วันสำคัญวันหนึ่งในเดือนเมษายนของทุกปี คือ วันครอบครัว ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เมษายน เป็นวันที่หลายครอบครัวถือโอกาสวันหยุดสงกรานต์กลับไปเยี่ยมคุณพ่อ คุณแม่ บ้างก็พาลูกหลานไปเยี่ยมคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย เป็นช่วงเวลาของการพักผ่อนและเชื่อมความสัมพันธ์ในวงศ์ญาติไปพร้อมกันในโอกาสเดียว เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกครอบครัวญาติพี่น้องพาลูกหลานมาทำความรู้จักกันและกัน ได้รู้ว่าลูกของคนโน้นหลานของคนนี้เป็นอย่างไร หน้าตา นิสัย เป็นอย่างไร ขณะเดียวกันสิ่งที่จะได้ยินตามมามักหนีไม่พ้นคำชมหรือคำตำหนิของผู้ใหญ่ ที่พูดกันในวงญาติทั้งต่อหน้าและหลับหลัง ในทำนองเปรียบเทียบลูกคนนั้นกับลูกคนนี้ หลานคนนั้นกับหลานคนโน้น
พ่อแม่มักจะดีใจหากลูกได้รับคำชมในทางบวก เช่น สวย น่ารัก หล่อ พูดเก่ง เรียนดี ฯลฯ ซึ่งนับเป็นสิ่งดีและพ่อแม่ควรภูมิใจ แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรมองอีกมุมหนึ่งคือ คำชมลักษณะนี้เป็นคำชมบนพื้นฐานของรูปร่างลักษณะภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมา อาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนัก และอาจทำให้เด็กเข้าใจว่า ผู้ใหญ่มองคุณค่าของเขาเพียงสิ่งภายนอกเท่านั้น

 
ในอดีตเมื่อสังคมเป็นสังคมเกษตรกรรม เราคงเคยได้ยินว่าหลายครอบครัวนิยมมีลูกหลาย ๆ คนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ คือเพื่อมาช่วยทำงาน แม้ว่าค่านิยมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบันคือ แต่ละครอบครัวมีลูกจำนวนน้อยลง แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน อันทำให้เกิดปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ คือ ปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน อิจฉากัน แย่งของกัน รู้สึกไม่รักกัน ชิงดีชิงเด่นกัน ซึ่งจะพบมากในเด็กวัย 1-5 ปี และในหลายกรณี ปัญหานี้ไม่ได้หายไปเมื่อเด็กโตขึ้น กลับยังคงเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องที่ทอดยาวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีพ่อแม่คนใดปรารถนาให้เกิดขึ้น พ่อแม่จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงที่มาของปัญหานี้และแก้ไขด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก