การสอน

"จากนิทานเรื่องเต่ากับกระต่าย" เมื่อเต่ากับกระต่ายต้องมาวิ่งแข่งกัน หากมองด้วยสายตาธรรมชาติแล้ว กระต่ายย่อมชนะอย่างแน่นอน  แต่เพราะเต่าทำอย่างเต็มที่หรือทำอย่างดีที่สุด  จึงทำให้ในที่สุดเต่าเข้าเส้นชัยได้ก่อน  ในเหตุการณ์นี้ ถ้ามีใครไปสัมภาษณ์กระต่ายก่อนการแข่งขัน กระต่ายคงไม่รู้ว่าตัวเองจะแพ้  หรือถ้าได้ถามเต่าก่อนการแข่งขัน เต่าก็คงไม่รู้อีกเช่นกันว่าตัวเองจะชนะ

จงใช้ชีวิตราวกับว่าคุณจะตายในวันพรุ่งนี้ และจงเรียนรู้ราวกับว่าคุณจะมีชีวิตอยู่ตลอดไป (Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.)

มหาตมะ คานธี ได้ให้ข้อคิดที่ดีมากสำหรับคนที่ต้องการใช้ชีวิตอย่าง ?รู้คุณค่า? และ ?คุ้มค่า? มากที่สุด ไม่ว่าเราเป็นใคร 

         การจัดการศึกษาแห่งฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนครบทุกองค์ประกอบ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ในที่นี้รวมถึงการสนองตอบความต้องการในการสัมผัสความงามทางด้านศิลปะของนักศึกษาและประชาคมมหาวิทยาลัย เริ่มตั้งแต่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบตัวจนกระทั่งการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยให้มีการบูรณาการศิลปะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมหาวิทยาลัย เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาและประชาคมมหาวิทยาลัยได้ซึมซับและสัมผัสความงามทางด้านศิลปะอย่างเป็นธรรมชาติ อันมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการช่วยบ่มเพาะหล่อหลอมลักษณะนิสัยและจิตใจที่เห็นคุณค่าความงามทางด้านศิลปะให้แก่นักศึกษาและประชาคมมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่ง 

วันสำคัญวันหนึ่งในเดือนเมษายนของทุกปี คือ วันครอบครัว ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เมษายน เป็นวันที่หลายครอบครัวถือโอกาสวันหยุดสงกรานต์กลับไปเยี่ยมคุณพ่อ คุณแม่ บ้างก็พาลูกหลานไปเยี่ยมคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย เป็นช่วงเวลาของการพักผ่อนและเชื่อมความสัมพันธ์ในวงศ์ญาติไปพร้อมกันในโอกาสเดียว เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกครอบครัวญาติพี่น้องพาลูกหลานมาทำความรู้จักกันและกัน ได้รู้ว่าลูกของคนโน้นหลานของคนนี้เป็นอย่างไร หน้าตา นิสัย เป็นอย่างไร ขณะเดียวกันสิ่งที่จะได้ยินตามมามักหนีไม่พ้นคำชมหรือคำตำหนิของผู้ใหญ่ ที่พูดกันในวงญาติทั้งต่อหน้าและหลับหลัง ในทำนองเปรียบเทียบลูกคนนั้นกับลูกคนนี้ หลานคนนั้นกับหลานคนโน้น
พ่อแม่มักจะดีใจหากลูกได้รับคำชมในทางบวก เช่น สวย น่ารัก หล่อ พูดเก่ง เรียนดี ฯลฯ ซึ่งนับเป็นสิ่งดีและพ่อแม่ควรภูมิใจ แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรมองอีกมุมหนึ่งคือ คำชมลักษณะนี้เป็นคำชมบนพื้นฐานของรูปร่างลักษณะภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมา อาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนัก และอาจทำให้เด็กเข้าใจว่า ผู้ใหญ่มองคุณค่าของเขาเพียงสิ่งภายนอกเท่านั้น

 
ในอดีตเมื่อสังคมเป็นสังคมเกษตรกรรม เราคงเคยได้ยินว่าหลายครอบครัวนิยมมีลูกหลาย ๆ คนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ คือเพื่อมาช่วยทำงาน แม้ว่าค่านิยมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบันคือ แต่ละครอบครัวมีลูกจำนวนน้อยลง แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน อันทำให้เกิดปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ คือ ปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน อิจฉากัน แย่งของกัน รู้สึกไม่รักกัน ชิงดีชิงเด่นกัน ซึ่งจะพบมากในเด็กวัย 1-5 ปี และในหลายกรณี ปัญหานี้ไม่ได้หายไปเมื่อเด็กโตขึ้น กลับยังคงเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องที่ทอดยาวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีพ่อแม่คนใดปรารถนาให้เกิดขึ้น พ่อแม่จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงที่มาของปัญหานี้และแก้ไขด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก 

ผู้เขียนได้เห็นสรุปสถิติการฆ่าตัวตายปี 2557  ผ่านทางรายการข่าวเมื่อช่วงเดือนธ.ค.ปี 2557 ที่ผ่านมา  ในข่าวบอกว่ามีสถิติเด็ก อายุ 13 ปี ฆ่าตัวตายด้วยทำให้รู้สึกสะเทือนใจ ว่าทำไมเด็กอายุน้อยขนาดนี้จึงคิดฆ่าตัวตาย หรือเด็กขนาดนี้มีปัญหาชีวิตมากจนไม่สามารถแก้ไขได้  จึงได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการฆ่าตัวตายและทราบว่า  ?เรื่องการฆ่าตัวตาย?  กำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจและ  *WHO ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 10 กันยายนของทุกปีเป็น "วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก" (World Suicide Prevention Day) โดยประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) มี ?ดอกสะมาเรีย? เป็นสัญลักษณ์การป้องกันการฆ่าตัวตายของประเทศไทย ในปีนี้ รณรงค์ภายใต้แนวคิด ?ทั่วโลกประสานใจ ป้องกันการฆ่าตัวตาย? ซึ่งองค์การอนามัยโลกประมาณการว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายมากกว่า 800,000 ราย หรือ เฉลี่ย 1 คน ในทุกๆ 40 วินาที คาดการณ์ว่า ในปี 2563 จะมีคนเสียชีวิตถึง 1.53 ล้านคน จึงกำหนดให้ประเทศสมาชิกร่วมแก้ไขปัญหาและลดอัตราการฆ่าตัวตายลงให้ได้ถึงร้อยละ 10 โดยประเทศไทยในปี 2556 พบผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากกว่า 3,900 รายต่อปี คิดเป็นอัตรา 6.08 คนต่อประชากรแสนคน หรือเฉลี่ยเดือนละ 328 คน หรือวันละ 10-12 คน คิดเป็นทุก 2 ชั่วโมงมีคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน*
 
นิตยสารแม่และเด็ก
คอลัมน์ ครอบครัวสุขสันต์
 
ปัญหาเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนใหญ่เกิดจากการดำเนินชีวิตโดยยึดตามกระแสสังคม อารมณ์ความรู้สึก ความปรารถนาต่อสิ่งเร้าที่มายั่วยวน จนขาดการยับยั้งชั่งใจ ส่งผลต่อการตอบสนองที่ผิดพลาดและเกิดผลเชิงลบทั้งต่อตนเองและสังคมในภาพรวมตามมาอีกมากมาย ตัวอย่างเช่น การชิงสุกก่อนห่าม ตั้งครรภ์ในวัยเรียน เนื่องจากไม่สามารถทนต่อแรงดึงดูดทางเพศได้ ? นักศึกษาขายบริการทางเพศเพื่อนำเงินไปซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ เนื่องจากไม่สามารถบังคับใจตนเองให้ทนต่อความต้องการอยากได้อยากมีเหมือนคนอื่น ? นักเรียนต่างสถาบันยกพวกตีกัน เนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธแค้นที่อีกฝ่ายมาพูดจาดูถูกฝ่ายตน  ฯลฯ
 
ปัญหาที่เกิดขึ้นสะท้อนการขาดความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ การประเมินสิ่งผิดสิ่งถูก การเห็นแก่ความสุขระยะสั้น จนละเลยผลร้ายในระยะยาวที่ตามมา หรือเรียกว่า ขาดความสามารถในการบังคับตนเอง