แนวโน้มโลก 2050

 
กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน
 
มีการคาดการณ์ว่าจำนวนมหาเศรษฐีในจีน จะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 80 ซึ่งเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับอินเดียผมได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวโน้มของโลกไปแล้วหลายด้านในช่วงที่ผ่านมา บทความนี้เป็นอีกตอนหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอแนวโน้มของโลกในอนาคตเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับมหาเศรษฐีบนโลกทั้งในบริบทปัจจุบัน และในทศวรรษข้างหน้าว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร และประเทศไทยสามารถเรียนรู้สิ่งใดบ้างจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว


แหล่งที่มาของภาพ : http://img-cdn.jg.jugem.jp/389/2679777/20141018_731587.jpg

ในปี 2010 OECD และ Wolfensohn Center for Development ของสถาบัน Brookings รายงานว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา กำลังซื้อของคนอเมริกาถือได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก แต่ความผันผวนทางเศรษฐกิจในประเทศช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในเศรษฐกิจโลกลดลง ในทางตรงกันข้าม การเติบโตของชนชั้นกลางในเอเชียตลอดช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ชนชั้นกลางกลายเป็นพลังเศรษฐกิจใหม่ของโลก จนมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ชนชั้นกลางเหล่านี้จะกลายเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคตแทนสหรัฐอเมริกา คำถามที่น่าสนใจคือ ผลกระทบและอิทธิพลทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางนี้จะเป็นอย่างไร? นัยยะต่อประเทศไทยมีอะไรบ้าง? และไทยควรเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างไร?


แหล่งที่มาของภาพ : http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000004088701.JPEG

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน


 

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

รายงาน United Nations World Urbanization Prospects กล่าวว่ากว่า2ใน3 ของประชากรโลกทั้งหมดจะอาศัยอยู่ใจกลางเมืองเนื่องด้วยความเป็นเมืองจะขยายออกมากขึ้น และในปี 2050 จำนวนประชากรใน mega cities จะเพิ่มขึ้นอีก 2.5 พันล้านคน โดยใน 2.5 พันล้านคนนี้ ร้อยละ 37 มาจากทวีปเอเชียและแอฟริกา คือ ประเทศจีน อินเดีย และไนจีเรีย ทำให้ในปี 2050 จะมีประชากรมากกว่า 6 พันล้านคน ที่อาศัยอยู่ใน mega cities ทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้จำนวน mega cities ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยโดยตั้งแต่ปี 1990 มีเมืองใหญ่เพียง 10 เมืองเท่านั้น แต่ในปี 2014 นี้ มีเมืองใหญ่ถึง 28 เมืองทั่วโลก คือ 16 เมืองจากเอเชีย 4 เมืองจากละตินอเมริกา 3 เมืองจากทวีปแอฟริกาและยุโรปและอีก 2 เมืองจากทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ส่วนมากแล้ว เมืองใหญ่เหล่านี้ตั้งอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing countries) และหลังจากนี้อีก 15 ปี คือ ในปี 2530 UN คาดว่าจะมีเมืองใหญ่เกิดขึ้นเป็น 41 เมือง


แหล่งที่มาของภาพ : http://s1.hubimg.com/u/5331416_f260.jpg

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

หลังจากที่ผมได้นำเสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากร โครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมของโลกปี ค.ศ.2050 ผ่านบทความทั้ง 3 ชิ้นที่ผ่านมา ยังคงมีอีกหลากหลายประเด็นที่ทุกคนควรรู้และให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ทั้งนี้ประเด็นเรื่องสภาพแวดล้อมเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่ต่างไปจาก 3 ประเด็นข้างต้น ดังนั้น ในบทความฉบับนี้ ผมจึงอยากนำเสนอแนวโน้มโลกปี ค.ศ.2050 ในประเด็นเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดและเราควรจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างไร

โลกในปี ค.ศ.2050 มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมในเรื่องต่อไปนี้

1. น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายเป็นวงกว้าง
ในปี ค.ศ.2050 แผ่นน้ำแข็งจำนวนมากที่เคยปกคลุมน่านน้ำแถบมหาสมุทรอาร์กติกจะละลายเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งจะเป็นผลดีในการทำให้เกิดเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศสายใหม่ ที่จะช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าทางทะเลจากเอเชียไปยังชายฝั่งอีสต์โคสต์ (East Coast) ของสหรัฐฯ ได้มากกว่าในปัจจุบัน (Warmer climate to open new Arctic shipping routes by 2050 -study, 2013)

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ พบว่าในปี 2047 จะเป็นครั้งแรกของโลกที่จำนวนประชากรอายุ 60 ปี มีมากกว่าประชากรเด็กบทความก่อนหน้านี้ ผมได้กล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2050 ไปแล้วว่าจะมีทิศทางในอนาคตเป็นอย่างไร ประเทศใดบ้างที่จะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่อไป และประเทศไทยควรปรับตัวอย่างไรให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกในอนาคต

ทว่า ยังมีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคม เนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ ผมขอนำเสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางสังคมสำคัญที่จะเกิดขึ้นในปี 2050 ดังต่อไปนี้

ลักษณะโครงสร้างทางสังคมในอีก 40 ปีข้างหน้า จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หรือกล่าวได้ว่า สังคมโลกในอนาคตจะเป็นสังคมที่ผู้สูงอายุครอบครองก็เป็นได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรของโลก ที่คนเกิดน้อยลงและอายุยืนมากขึ้น ทำให้ประชากรทั่วโลกจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้นอย่างน้อย 9 ปี และประชากรทั่วโลกที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีจำนวน 2 พันกว่าล้านคน คิดเป็นสัดส่วนได้ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งโลก ซึ่งพบได้ในเกือบทุกประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะประเทศอิตาลี เยอรมัน อังกฤษ และสแกนดิเนเวีย รวมไปถึงประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2010 และจากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ พบว่า ในปี 2047 จะเป็นครั้งแรกของโลกที่จำนวนประชากรอายุ 60 ปี จะมีมากกว่าจำนวนประชากรเด็ก นอกจากนี้ จากการคาดการณ์จำนวนประชากรผู้สูงอายุในปี 2050 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากเป็นอันดับที่ 2 คือ รองจากประเทศสิงคโปร์ และประเทศลาว เป็นประเทศที่มีสัดส่วนของจำนวนประชากรผู้สูงอายุต่ำที่สุดในกลุ่ม

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

หลังจากที่ได้นำเสนอทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านโครงสร้างประชากรทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2050 ผ่านบทความตอนที่แล้วในตอนนี้ผมจึงอยากนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติอื่นๆ เพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของโลกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดประเทศใดบ้างที่จะก้าวเข้ามาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่อไปในปี 2050 และประเทศไทยควรปรับตัวอย่างไรให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกในอนาคต

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเสวนา"การจัดการด้าน Supply Chain และ Logistics เพื่อเตรียมพร้อมรองรับประชาคมอาเซียน"ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้หัวข้อบรรยายเรื่อง "Global Trend 2050 (แนวโน้มโลกปี 2050)" ซึ่งผมได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในปี 2050 บทความนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่ผมได้นำเสนอไปในงานเสวนาดังกล่าว โดยในตอนแรกจะกล่าวถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกในปี 2050 ว่าจะเปลี่ยนไปอย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

เมื่อดูจากการคาดการณ์จำนวนประชากรโลกปี 2050 พบว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้น 38% จาก 6.9 พันล้านคน เป็น 9.6 พันล้านคน โดยประชากรจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้นอย่างน้อย 9 ปี ประชากรอายุ 15-64 ปีจะเพิ่มขึ้น 33% ในขณะที่ประชากรอายุมากกว่า 65 ปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 181% ดังนั้น หากพิจารณาแนวโน้มดังกล่าวประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากหลากหลายปัจจัย จะเห็นได้ว่าการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันได้แก่ อาหาร น้ำ และพลังงาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรมนุษย์วัยแรงงาน จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ