ประเทศที่มีรายได้สูง

ความเข้มแข็งของภาคบริการจะช่วยสร้างโอกาสมากขึ้น สร้างงานเพิ่มขึ้น และยกระดับรายได้คนไทยให้สูงขึ้น ผมได้ศึกษาประวัติศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ของประเทศรายได้สูงเกิดใหม่ พบว่า หนึ่งในบทเรียนจากต่างประเทศในการก้าวข้ามผ่านกับดักรายได้ปานกลาง คือ การผลักดันให้ภาคบริการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันสัดส่วนกำลังแรงงานภาคบริการในประเทศต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แรงงานในภาคเกษตรของประเทศรายได้สูงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยภาคบริการเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง
เมื่อมองการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า เราไม่ได้ออกแบบอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์  คนในชาติมองไม่เห็นอนาคตว่า ประเทศชาติจะลงเอยอย่างไรในระยะยาว เพราะมุ่งเน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พรรคการเมืองเน้นทำนโยบายระยะสั้นเอาใจประชาชน และเปลี่ยนนโยบายทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐบาล

     ประเทศมาเลเซียมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศรายได้สูง (รายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 15,000 ดอลลาร์ ตามเกณฑ์ของธนาคารโลก) ภายในปี 2020 โดยปัจจุบัน ประเทศมาเลเซียมีรายได้ต่อหัวประชากร (GNI per capita, Atlas method) ในปี 2016 อยู่ที่ 9,860 ดอลลาร์ ขณะที่ประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวประชากรอยู่ที่ 5,640 ดอลลาร์ 
เมื่อไม่นานมานี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาแห่งปีTHAILAND 2018 จุดเปลี่ยนและความท้าทาย โดยมีเนื้อหาสำคัญ คือ ปี 2018 จะเป็นปีที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ยุครุ่งเรืองและจะใช้โอกาสที่มีอยู่เร่งแก้ไขปัญหาความยากจน โดยตั้งเป้าว่าคนไทยทุกคนที่ยังยากจนอยู่จะต้องหายจนให้ได้ในปีหน้า

ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคนทั้งในสหรัฐฯ และประเทศแถบแคริเบียน รวมถึงประเทศเปอร์โตริโก อันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากครับ เปอร์โตริโกมีชื่อทางการว่า เครือรัฐเปอร์โตริโก ถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559 ผมได้มีโอกาสบรรยายเรื่อง ?ยุทธศาสตร์แรงงานไทยเพื่อประเทศไทยมีรายได้สูง? ในการสัมมนาโครงการสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ ที่จัดโดยกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยมองถึงภาพรวมปัญหาแรงงานไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาแรงงาน รวมทั้งการเตรียมพร้อมแรงานไทยเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง

ผมเห็นว่า การเตรียมพร้อมและการพัฒนาด้านแรงงานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สังเกตได้จากปัญหาแรงงานและตลาดแรงงานไทยในปัจจุบัน จึงปรารถนาที่จะนำเสนอทิศทางและแนวทางการเป็นแรงงานที่มีคุณภาพแก่แรงงานไทยทุกคน

หลายประเทศกำลังติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle income trap) ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย กล่าวคือ ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถขยับไปเป็นประเทศรายได้สูง แม้จะสามารถสร้างรายได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมและการส่งออก จนทำให้ประชาชนในประเทศมีความกินดีอยู่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง (high income countries) ได้ เนื่องจากเหตุที่ขาดแนวทางที่เหมาะสมหลายประการในการพัฒนาขีดความสามารถในภาคการผลิต บริการ และเกษตรของตน 

 
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความตั้งใจจะก้าวไปสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง เห็นได้จากนโยบายและวิสัยทัศน์ของประเทศในปัจจุบันที่อยู่ในช่วงปฏิรูปพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวไปสู่ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีหลายประเทศที่สามารถก้าวข้ามจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูงได้ หนึ่งในนั้น คือ ประเทศไอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจและสามารถนำมาเป็นบทเรียนให้กับระบบเศรษฐกิจประเทศไทยได้
 
เศรษฐกิจของไอร์แลนด์มีการขยายตัวอย่างมาก รายได้ต่อหัวของประชากร (GDP per capita) ในปีค.ศ.1970 อยู่ที่ 10,297 ดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเป็น 45,735 ดอลลาร์ หรือสูงขึ้นถึง 4.4 เท่า ในปีค.ศ.2007 หากพิจารณาประเทศร่ำรวย 20 อันดับแรกของโลก ไอร์แลนด์ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในช่วงปี 1973 ? 2007 นอกจากนี้หากพิจารณาวัฏจักรธุรกิจโลกทั้ง 4 ครั้ง คือ 1973 ? 1979, 1979 ? 1989, 1989 ? 2000, 2000 ?
 
ประเทศยากจนที่สามารถพัฒนาตัวเองจนเป็นประเทศรายได้สูงในโลกนี้มีอยู่หลายประเทศ เกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความน่าสนใจและถือว่าเป็นบทเรียนที่ดีให้กับประเทศไทย
 
เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่ย่ำแย่ภายหลังสงครามเกาหลีในช่วงปี ค.ศ.1950-1953 ดังนั้น นอกจากการรอรับการช่วยเหลือจากต่างประเทศรัฐบาลเกาหลีจึงมีความพยายามที่จะลดปัญหาความยากไร้ภายในประเทศผ่านการสนับสนุนให้ประชาชนทำอาชีพเกษตรกรรมและผลักดันให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนผลิตสินค้าภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งนี้การที่เกาหลีใต้ได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจลดลงภายหลังจากที่สภาพเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มเติบโตที่มากยิ่งขึ้นประกอบกับการลงทุนในภาคเกษตรกรรมไม่เหมาะสมแก่บริบทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกต่อไปการวางแผนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจครั้งสำคัญของเกาหลีใต้ในทศวรรษที่ 1960 จึงเกิดขึ้นและส่งผลทำให้ประเทศเกาหลีใต้สามารถเปลี่ยนผ่านเป็นประเทศที่มีรายได้สูงในเวลาต่อมาในปี 1995 (รายได้เฉลี่ยต่อหัวคือ 12,403 ดอลลาร์สหรัฐ)

 
ประเทศฟินแลนด์มีการเน้นย้ำในเรื่องการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจมหภาคและวัฏจักรเศรษฐกิจ วางบทบาทของธนาคารแห่งประเทศอย่างชัดเจนประเทศเศรษฐกิจรายได้ปานกลาง (middle-income country) เป็นประเทศที่ได้เดินทางมาครึ่งหนึ่งของการก้าวสู่ประเทศรายได้สูง แต่ครึ่งทางของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ประเทศไทยได้ติดอยู่ที่ครึ่งทางนี้เป็นระยะเวลาหลายทศวรรษแล้ว ขณะนี้ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องก้าวให้พ้นสภาวะของการติดกับดัก (trap) เพื่อไปให้ถึงจุดหมายการเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง สิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินหน้าและหลุดพ้นจากกับดักนี้ คือ การค้นพบปัจจัยขับเคลื่อน ภายใต้เงื่อนไขที่สมเหตุสมผลของแต่ละช่วงเวลา