?สมัชชาประชาชน? การเมืองบนฐานที่ประชาชนมีส่วนร่วม

ldquo;สมัชชาประชาชนrdquo; การเมืองบนฐานที่ประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมทำ ในการกำหนดทิศทางของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 8 ndash; 9 .. ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดประชุม ldquo;สมัชชาประชาชนrdquo; ที่เมืองทองธานี โดยมีตัวแทนประชาชนจากทุกภาคของประเทศทั้งเยาวชน ผู้นำสตรี เกษตรกร นักวิชาการ นักธุรกิจ ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้นำชุมชน ผู้ปฏิบัติงานเครือข่ายประชาชน จำนวนประมาณ 3,200 คน เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น ในการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และแนวทางในการพัฒนาประเทศในอนาคตข้างหน้า

โดยแนวทางการประชุม จะเริ่มการประชุมโดยการจัดเป็นกลุ่มย่อย
400 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน เพื่อระดมความความคิดเห็นเพื่อเสนอปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางแก้ไข หลังจากนั้นในช่วงบ่ายได้มีการแบ่งกลุ่มใหม่ออกเป็น 100 กลุ่ม กลุ่มละ 32 คน ด้วยการรวม 4 กลุ่มในช่วงเช้าเป็น 1 กลุ่ม เพื่อระดมสมองและนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม และสามารถสรุปเป็นประเด็น 7 หัวข้อหลักที่น่าสนใจคือ 1. ปัญหาชายแดนใต้และความมั่นคง 2.หยุดคอร์รัปชัน สร้างสังคมธรรมาภิบาล 3.ปฏิรูปการเมืองไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกระจายอำนาจ 5.ฝ่าวิกฤตสังคม ฟื้นจริยธรรม 6.พัฒนาเศรษฐกิจไทยสู่ทิศทางใหม่ในอนาคต และ 7.ขจัดความยากจนจะก้าวพ้นได้อย่างไร โดยทั้ง 7 หัวข้อดังกล่าวได้มีการประชุมแบบโต๊ะกลมในวันที่ 9 .. โดยประชาชนที่เข้าร่วมจะเลือกในหัวข้อที่ตนสนใจ พร้อมทั้งสามารถได้พูด ได้แสดงความคิดเห็น ในเรื่องของสภาพปัญหา ตลอดจนมีข้อเสนอ แนวทางในการแก้ไขปัญหา และหาทางออกในประเด็นดังกล่าว และมีการนำเสนอทั้ง 7 ประเด็นในเชิงสังเคราะห์ที่ห้องประชุมใหญ่ในช่วงบ่าย

ปรากฏการณ์
ที่ประชาชนจากเกือบทุกหมู่เหล่า ทุกภูมิภาค เข้ามาร่วมงานสมัชชาประชาชน จะก่อให้มิติใหม่ทางด้านการเมืองและด้านการพัฒนาประเทศ ที่ประชาชนจะไม่เพียงทำหน้าที่ด้านการเมืองเพียงไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุก 4 ปีเท่านั้น หรือรอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐเท่านั้น แต่ลุกขึ้นมาทำหน้าที่ความเป็นพลเมืองของประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่ง กระบวนการสมัชชาประชาชนจะเป็นการส่งเสริมในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมแสดงคิดเห็น ร่วมทำ ร่วมกันแก้ปัญหา ตลอดจนร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

การจัดสมัชชาประชาชนเมื่อวันที่
8 ndash; 9 ..ที่ผ่านมา จะเป็นจุดเริ่มต้นความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับพรรคการเมืองและสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ จะทำให้สังคมไทยขับเคลื่อนไปในทิศทางการมีส่วนร่วมบนฐานที่ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกพรรคการเมืองสามารถที่จะริเริ่มการจัดสมัชชาประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สมัชชาระดับอำเภอ ระดับเขต ระดับจังหวัด หรือระดับประเทศ และรวมไปถึงการจัดสมัชชาอาชีพ สมัชชาการแก้ปัญหาบ้านเมือง ฯลฯ ซึ่งที่สุดแล้ว เรื่องของสังคม เรื่องของประเทศ จะไม่เป็นเพียงภาระหน้าที่ของนักการเมืองต่อไปเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกหมู่อาชีพ สามารถเข้ามามีส่วนกำหนดทิศทางของประเทศไทยในอนาคต

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2005-10-17