วิชาสร้างความสุข สร้างผู้เรียนรู้จักตนเอง

หากจะกล่าวถึงวิชายอดนิยมที่นักศึกษานิยมลงทะเบียนเรียนมากเป็นอันดับต้น ๆ หรือในปีท้าย ๆ นี้เรียกว่า ldquo;อันดับหนึ่งrdquo; หลายคนคงนึกถึงวิชาจิตวิทยาเชิงบวก ldquo;Psychology 1504: Positive Psychologyrdquo; โดย อาจารย์ Tal D. Ben-Shahar เพราะได้รับความสนใจจากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (CNN) หนังสือพิมพ์บอสตัน โกลบ (The Boston Globe) รวมถึง หนังสือพิมพ์ฮาร์วาร์ดคริมสัน (The Harvard Crimson) เนื่องจากแต่ละภาคเรียนจะมีผู้มาลงทะเบียนไม่ต่ำกว่า 800 คน

เสน่ห์ที่ดึงดูดผู้เรียนจำนวนมากจนถึงขั้นที่นักศึกษาผู้สนใจจะต้องประมูลแข่งกันอย่างดุเดือดเพื่อให้ได้เรียนวิชานี้ สาเหตุเนื่องจากผู้สอนที่มีเป้าหมายชัดเจน และมีวิธีสอนที่แตกต่างเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความสุขด้วยตนเอง

เป้าหมายหลัก เพื่อสร้างผู้เรียนรู้จักตนเอง
เป้าหมายหลักของการเรียนวิชานี้ คือ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รู้จักตนเอง รู้จักชีวิต รู้ว่าอะไรทำให้คนมีความสุข และนำหลักคิดที่ได้จากการเรียนเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้น เป็นพลเมืองที่ดี เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

อาจารย์
Tal D. Ben-Shahar ได้กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญของการสอนวิชานี้คือ การสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง ldquo;การคิดแบบหอคอยงาช้างrdquo; กับ ldquo;การเดินบนถนนจริงrdquo; กล่าวคือ เป็นการสร้างทักษะการผสมผสานความรู้ทางวิชาการให้เข้ากับชีวิตจริง เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตในสังคม

การสอนที่ต่างจากชั้นเรียนทั่วไป ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องครำเคร่งกับการทำการบ้าน รายงานและการสอบ แต่ชั้นเรียนนี้จะฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถจัดการกับความเครียด สิ่งรบกวนที่ทำให้ตนรู้สึกไม่มีความสุขได้ด้วยตนเอง

ตัวอย่างเช่น บางครั้งผู้สอนจะหรี่ไฟในห้องลง และให้ผู้เรียนทำสมาธิ กำหนดลมหายใจ 2-3 นาที คิดทบทวนและปลดปล่อยตัวเองจากความเหนื่อยล้าที่เผชิญมาตลอดทั้งวัน การเปิดวีดีโอคลิปเกี่ยวกับการหัวเราะอย่างมีคุณภาพ การชมภาพยนตร์ที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการอยู่เพื่อผู้อื่น

เสียงสะท้อนจากผู้เรียนวิชานี้มีความสอดคล้องกันในแง่ที่ว่า ตลอด 90 นาทีของการเรียนทุกคนได้รับกำลังใจและสามารถยิ้มได้ การเรียนวิชานี้ได้ทำให้รู้จักตนเองมากขึ้น รู้สึกถึงชีวิตที่ถูกเติมเต็มและเข้าใจความหมายของชีวิต (
''a fulfilling and flourishing life")
วิชาแห่งการสร้างความสุขนี้ เป็นการเรียนที่ตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบัน ขณะที่คนในสังคมแสวงหาความสุข หากแต่ยังไม่รู้จักความสุขที่แท้จริงมาจากไหน

คำตอบหนึ่งที่ผมขอสะท้อนมาสู่สังคมปัจจุบันคือ คนจะมีความสุขได้มาจาก การคิดและทำสิ่งที่มีความหมาย ถูกเติมเต็มในความรู้สึก เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีคุณค่า รู้จักตนเอง เห็นคุณค่าตนเอง รวมถึงการใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

หลักคิดนี้สามารถนำมาใช้กับทุกคนในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ในขณะนี้สังคมกำลังห่วงใยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทั้งพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง มุ่งเน้นความบันเทิงชั่วคราว ไม่เห็นคุณค่าตนเอง อันอาจมีสาเหตุมาจากเด็กในวัยนี้ต้องการแสวงหาตัวตน แต่ขาดการชี้แนะอย่างเหมาะสม

ในความเห็นของผมการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน จึงควรเริ่มจากการปรับโลกทัศน์ ชีวทัศน์ อันเป็นจุดกำหนดพฤติกรรม เพื่อให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย รู้จักคุณค่าของตนเอง และใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น เพื่อเสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้เติบโตอย่างมีศักยภาพและมีความสุข

ด้วยเหตุนี้กระบวนการอบรมบ่มเพาะผู้เรียน จึงควรเริ่มวางรากฐานตั้งแต่ในวัยเยาว์ และมีความต่อเนื่องในแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ผู้เรียนถูกวางรากฐาน ความคิดตั้งแต่แรก และพัฒนาอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับช่วงวัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
การส่งเสริมผู้เรียนให้รู้จักตนเอง เสริมทักษะด้านการคิด การควบคุมตนเอง ความอดทนอดกลั้น รู้จักเผชิญปัญหา จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเกราะป้องกันตนเอง เรียนรู้ที่จะตอบสนองสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและนำสู่ความสำเร็จได้ ท่ามกลางสภาพความกดดันอันเนื่องมาจากการแข่งขันที่รุนแรงและการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต
admin
เผยแพร่: 
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
เมื่อ: 
2007-10-12