นโยบายรัฐบาล : สาเหตุบั่นทอนเสรีภาพทางเศรษฐกิจ

จากรายงานการจัดอันดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจปี 2549 ที่จัดทำโดยวอลล์ สตรีท เจอร์นอล และมูลนิธิเฮอริเทจ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 71 จาก 157 ประเทศ ซึ่งเป็นทิศทางที่มีอันดับต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

แสดงให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายของรัฐบาลมีความขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับการที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 87 บัญญัติว่า ldquo;รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม hellip; และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม hellip;rdquo;

เห็นได้จากการที่รัฐบาลออกนโยบายที่สวนทางต่อแนวทางการสร้างเสรีภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น

นโยบายที่เน้นการแทรกแซงกลไกตลาด ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การอุดหนุนราคาน้ำมันเป็นเวลายาวนานตั้งแต่เดือน ม.. 2547 ถึง มิ.. 2548 ส่งผลทำให้เกิดการบิดเบือนในระบบเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และก่อให้เกิดภาระหนี้ของกองทุนน้ำมันเกือบ 1 แสนล้านบาท รวมทั้งการแทรกแซงราคาสินค้าซึ่งเป็นนโยบายที่ขาดประสิทธิภาพและไม่ยั่งยืน ส่งผลให้เกิดการกักตุนสินค้าและเกิดการซื้อขายในตลาดมืด ดังเช่นปัญหาการควบคุมราคาน้ำตาลที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน

นโยบายที่มุ่งให้รัฐดำเนินบทบาทแทนภาคเอกชน โดยเฉพาะนโยบายที่ให้ภาครัฐเข้าไปมีส่วนในระบบเศรษฐกิจ อาทิ โครงการไทยแลนด์พลาซ่า โครงการไทยแลนด์อีลีทการ์ด การจัดตั้งคาร์เทล (Cartel) เพื่อกำหนดราคาผลผลิตที่ไทยเป็นผู้ส่งออกมาก หรือการค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้า (barter trade) ซึ่งรัฐบาลทำหน้าที่เป็นนายหน้าค้าขายสินค้าแทนเอกชน ซึ่งยังไม่พบว่ามีโครงการใดที่ประสบความสำเร็จที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ รัฐบาลยังพยายามที่จะเข้าไปดำเนินกิจการที่เอกชนสามารถทำได้ ดังเช่นการแก้ไขกฎหมายการยางแห่งประเทศไทย ให้การยางฯทำธุรกิจที่ภาคเอกชนสามารถทำได้และไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องทำแข่งกับเอกชนแต่อย่างใด หรือการกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ผูกขาดสัมปทานการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต แทนที่จะเปิดให้มีการแข่งขันกันประมูลสัมปทานอย่างเสรีและเป็นธรรม

นโยบายที่เอื้อต่อการคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นผลสะท้อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจที่ขาดเสรีภาพและความเป็นธรรม ภาคเอกชนมีต้นทุนแอบแฝงที่เกิดจากการเรียกรับสินบน การกีดกันงานของภาครัฐให้กับพวกพ้องของคนมีอำนาจ การกีดกันคู่แข่งหรือให้สิทธิพิเศษแก่ธุรกิจเอกชนที่เป็นพวกพ้อง ซึ่งทำให้เกิดการผูกขาดหรือแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม

ดังเห็นได้จาก ดัชนีตลาดที่ไม่เป็นทางการ (informal market) ซึ่งอ้างอิงคะแนนจากดัชนีการรับรู้ระดับการคอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ได้ให้ข้อมูลอย่างน่าสนใจว่า คะแนนของประเทศไทยในดัชนีตัวนี้เพิ่มขึ้นจาก 2.0 (ต่ำ) ในปี 2537-2544 เป็น 3.5 (ปานกลาง-สูง) ในปี 2545-2549 หมายความว่า นับตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศเมื่อ 5 ปีที่แล้ว นักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศรับรู้ได้อย่างชัดเจนว่า ต้นทุนแอบแฝงในระบบเศรษฐกิจอันเกิดจากการคอร์รัปชันนั้นเพิ่มสูงขึ้นมาก

การที่รัฐบาลพยายามเปิดเสรีอย่างรีบเร่งนั้น เป็นการเปิดเสรีในกิจการที่พวกพ้องของคนในรัฐบาลไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับมีนโยบายปกป้องอย่างถึงที่สุด สำหรับกิจการที่คนในรัฐบาลเป็นเจ้าของหรือต้องการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ จึงไม่น่าแปลกใจเลยหากผลการจัดอันดับเสรีภาพทางเศรษฐกิจไทยจะตกต่ำลงเรื่อย ๆ เพราะนโยบายของรัฐบาลที่แม้บอกว่า เป็นการสร้างเสรีภาพทางเศรษฐกิจแต่ท้ายที่สุดแล้วกลับเป็นเพียงแค่ ldquo;เสรีภาพจอมปลอมrdquo; เท่านั้น

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-01-08