ร่าง พ.ร.บ. ค้าปลีก: เครื่องมือผิดประเภทในการช่วยโชห่วย
*ภาพจาก http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/uploadfile/18/jpg/ค้าปลีก1.jpg
สงครามการค้าปลีกและค้าส่งเปรียบได้กับการเล่นกระดานหกระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายใดมีอำนาจต่อรองมากกว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไปได้มากกว่า ส่วนผู้บริโภคจะได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อมีความสมดุลของอำนาจต่อรองของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
ยุคก่อนปี 2540 ฝ่ายผู้ประกอบการค้าดั้งเดิมซึ่งประกอบด้วย ผู้ผลิตสินค้า (Supplier) ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกหรือ ldquo;โชห่วยrdquo; เป็นฝ่ายที่มีอำนาจต่อรองสูงมากจึงได้รับประโยชน์มาก เพราะยังไม่มีคู่แข่งมากนัก ขณะที่ฝ่ายผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาแพง
หลังปี 2540 เป็นต้นมา กลุ่มผู้ประกอบการค้าสมัยใหม่ (Modern Trade) ได้แก่ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (Hyper Mart) และร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store) ได้ทะลักเข้ามาในประเทศไทยและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยใช้กลยุทธ์การขายสินค้าราคาถูกและให้ความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า ซึ่งผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการค้าสมัยใหม่ดึงมาได้นั้น เป็นกำไรส่วนหนึ่งจากฝ่ายผู้ประกอบการค้าดั้งเดิม ทำให้ฝ่ายผู้ประกอบการค้าดั้งเดิมได้รับผลกระทบ ร้านค้าปลีกถูกแย่งลูกค้า ผู้ค้าส่งถูกตัดวงจรธุรกิจ ส่วนผู้ผลิตมีกำไรลดลง เนื่องจากต้องขายสินค้าราคาต่ำให้กับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ซึ่งมีอำนาจต่อรองสูงกว่า
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ.hellip; (บทความนี้จะเรียกว่า ร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก) ฉบับที่ได้รับการแก้ไขจากสำนักงานกฤษฎีกา ระบุหลักการและเหตุผลว่า สมควรมีการจัดระเบียบการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งบางประเภท (ค้าปลีกหรือค้าส่งขนาดใหญ่ และร้านสะดวกซื้อ) เพื่อให้การประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งทุกประเภทดำรงอยู่ได้ตามสภาพเศรษฐกิจการค้าและสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งควรมีมาตรการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งรายย่อยดั้งเดิม
พรบ. ค้าปลีก: เครื่องมือผิดประเภท
ใจความสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ค้าปลีกเป็นการจัดสรรอำนาจให้กับคณะกรรมการการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งในการกำหนดนโยบาย มาตรการและแผนการจัดระบบการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง และเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งรายย่อยดั้งเดิม และให้อำนาจอธิบดี (สำหรับกรุงเทพมหานคร) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (สำหรับจังหวัดอื่น) ในการกำกับดูแลและให้อนุญาตการขยายสาขาของกิจการค้าปลีกในแต่ละจังหวัด
ร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีก จึงอาจไม่สามารถแก้ปัญหาในธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์ เพราะไม่ทำให้เกิดความสมดุลของอำนาจต่อรองของทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ
ประการแรก มิได้ทำให้อำนาจผูกขาดที่มีอยู่เดิมลดลง การบังคับใช้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีแนวโน้มที่จะรักษาอำนาจผูกขาดของผู้ประกอบการค้าดั้งเดิมในพื้นที่ที่ยังไม่ถูกบุกรุกโดยห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ด้วยการจำกัดการจัดตั้งห้างขนาดใหญ่หรือร้านสะดวกซื้อแห่งใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการค้าที่เป็นเจ้าถิ่นเดิมได้รับประโยชน์ เพราะสามารถกีดกันไม่ให้ผู้แข่งขันรายใหม่เข้ามาแข่งขันได้
สำหรับพื้นที่ที่มีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ตั้งอยู่แล้ว อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเข้มงวดในการจำกัดการขยายตัวของห้างยักษ์มากเกินไป เพราะถูกกดดันจากกระแสการต่อต้านห้างต่างชาติ ทำให้กิจการค้าปลีกรายใหม่เข้ามาแข่งขันได้ยาก ห้างขนาดใหญ่รายเก่าจึงได้ประโยชน์จากการผูกขาดในท้องถิ่น
ประการที่สอง มิได้มีหลักประกันว่าจะทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เพราะกฎหมายเปิดกว้างให้คณะกรรมการกำหนดกรอบกติกา ซึ่งไม่มีสิ่งที่ยืนยันว่าคณะกรรมการจะสามารถกำหนดกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรม และยังไม่มีอำนาจในการกำหนดกติกาการแข่งขันทางการค้า (เพราะเป็นอำนาจของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า) ทั้ง ๆ ที่ข้อร้องเรียนเรื่องการใช้กลยุทธ์การค้าที่ไม่เป็นธรรมเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดของปัญหาธุรกิจค้าปลีก รวมทั้งไม่ได้มีอำนาจโดยตรงในการดำเนินมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการค้าดั้งเดิมให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
ประการที่สาม มิได้ให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ทั้งที่ผู้บริโภคเป็นคนส่วนใหญ่ แต่คณะกรรมการการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งกลับมีตัวแทนผู้บริโภคเพียง 1 คนจากคณะกรรมการ 19 คน (รัฐมนตรีและภาคราชการ 10 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง 4 คน และตัวแทนภาคธุรกิจเอกชนและผู้บริโภค 5 คน) จึงไม่น่าจะทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง
นอกจากนี้ การให้อำนาจในการอนุญาตขยายสาขาแก่อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้ง นับเป็นการถอยหลังจากเดิมที่ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตจัดตั้งกิจการค้าปลีกหรือค้าส่ง จึงไม่มีเหตุจูงใจที่อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดจะดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของแต่ละพื้นที่
ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า: เครื่องมือที่ถูกต้อง
1) ให้ประชาชนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ: ระบบประชามติ
ตามทฤษฎี Public Choice ในวิชาเศรษฐศาสตร์การคลังนั้น การตัดสินใจควรเป็นของผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั้งหมดในสังคม ดังนั้นผมจึงเสนอว่า ปัญหาเรื่องการอนุญาตให้จัดตั้งหรือไม่ให้จัดตั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในแต่ละพื้นที่ ควรแก้ไขโดยการทำประชามติในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่าต้องการให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เข้ามาตั้งในพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่หรือไม่
แม้ว่ารัฐบาลไม่ควรเข้าไปควบคุมห้างค้าปลีกขนาดใหญ่โดยตรง แต่รัฐควรจัดการกับกลยุทธ์ทางการค้าที่ทำลายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะกลยุทธ์ Loss leading ซึ่งเป็นการลดราคาสินค้าบางชนิดให้ต่ำกว่าต้นทุน โดยห้างค้าปลีกขนาดใหญ่สามารถทำเช่นนี้ได้ด้วยการชดเชยด้วยกำไรจากการขายสินค้าอื่น และการให้ผู้ผลิตเข้าร่วมโครงการลดราคาโดยการแบกรับภาระต้นทุนส่วนหนึ่งด้วย กลยุทธ์การค้าเช่นนี้ของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่จะทำให้โชร้านห่วยตายลงไปในที่สุด
หากรัฐบาลมีความตั้งใจจะจัดการกับกลยุทธ์ทางการค้าของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ รัฐบาลจำเป็นต้องทบทวน พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า เพื่อทำให้กฎหมายสามารถบังคับใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ เนื่องจากเนื้อหาใน พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้ายังไม่ได้ครอบคลุมถึงกลยุทธ์การค้าที่ไม่เป็นธรรมของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
3) พัฒนาโชห่วยให้แข่งขันได้ โดยมีแนวทางหลัก 2 ประการคือ
ดังนั้นรัฐบาลควรมีการปรับปรุงนิยามของธุรกิจ ที่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งตามมาตรา 20 (3) ของร่าง พ.ร.บ.นี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการโชว์ห่วยที่ต้องการปรับปรุงร้านของตนเอง สามารถเข้าไปเป็นสมาชิกของระบบแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่รัฐบาลต้องการสนับสนุน หรือระบบแฟรนไชส์ที่คิดค่าตอบแทนในราคาถูก โดยไม่ต้องขออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
การหาช่องว่างการตลาดของร้านโชห่วย
ร้านโชห่วยที่ยังคงอยู่รอดได้เพราะมีจุดเด่นเฉพาะตัวหรือสามารถหาช่องว่างทางการตลาดได้ (niche market)เช่น ความยืดหยุ่นในการซื้อสินค้า (แบ่งขายสินค้า) การเป็นที่พบปะของคนในชุมชน การขายสินค้าเฉพาะอย่างที่ร้านค้าสมัยใหม่ไม่มี การส่งสินค้าถึงบ้าน เป็นต้น การหาช่องว่างทางการตลาดจะทำให้โชห่วยสามารถอยู่รอดได้ แม้ในภาวะที่มีการบุกรุกของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
ปัญหาธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งไม่อาจถูกแก้ไขอย่างสมบูรณ์ด้วยการออกกฎหมายฉบับนี้ เพราะเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีผลได้ผลเสียที่ต้องพิจารณารอบด้าน การแก้ปัญหาอาจเป็นไปได้ยากหากมอบอำนาจการตัดสินใจให้คณะกรรมการที่มีภาคราชการเป็นส่วนใหญ่ การให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ตัดสินใจและแก้ปัญหาเอง น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่สามารถรักษาผลประโยชน์ของประชาชนไว้ได้