นัยทางการเมืองของโครงการ ?บ้านหลังแรก?
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
กระทรวงการคลังมีแนวคิดผลักดันโครงการ ldquo;บ้านหลังแรกrdquo; โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษา และมีเงินเดือนไม่เกิน 2 หมื่นบาท ได้เป็นเจ้าของบ้านหลังแรกในชีวิตราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยให้กู้เงินอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 5 ต่อปี เป็นเวลา15 ปี ซึ่งรัฐบาลจะแบกภาระดอกเบี้ยส่วนต่างจากนี้เอง
โครงการด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลที่ผ่านมาคือ บ้านเอื้ออาทร ที่มีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองที่ยังไม่มีอยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมีระดับรายได้ครัวเรือนละไม่เกิน15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นระดับรายได้ปี 2546 แต่ ผู้กู้ต้องรับภาระดอกเบี้ยลอยตัว ทำให้สามารถคาดการณ์ถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนได้ค่อนข้างยาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในช่วงที่ผ่านมาและแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้ภาระการผ่อนชำระต่อเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จนกลายเป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้ประชาชนแทนที่การเอื้ออาทร
การต่อยอดโครงการบ้านเอื้ออาทรด้วยโครงการ ldquo;บ้านหลังแรกrdquo; นั้น จึงดูผิดทิศผิดทาง เนื่องจากกลุ่มคนที่ต้องการซื้อบ้านหลังแรกเป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้างมีฐานะที่ดีกว่ากลุ่มคนที่ซื้อบ้านเอื้ออาทร จึงน่าสังเกตว่า เหตุใดรัฐจึงไม่เข้าช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่กู้เงินเพื่อมาซื้อบ้านเอื้ออาทร ซึ่งกำลังมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอยู่ในขณะนี้
ยิ่งไปกว่านั้น โครงการนี้ยังไม่เป็นธรรมต่อผู้มีรายได้น้อย เพราะรัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่ออุดหนุนแก่ผู้ที่ซื้อบ้านเอื้ออาทรหลังละ 8 หมื่นบาท แต่สำหรับโครงการบ้านหลังแรกนั้น รัฐบาลอาจจะต้องใช้เงินมากกว่าในการช่วยเหลือให้ผู้จบการศึกษาใหม่มีบ้านเป็นของตนเอง ทั้งๆ ที่ผู้จบการศึกษาใหม่เพียงคนเดียวอาจจะมีรายได้ต่อเดือนมากกว่าครอบครัวที่ซื้อบ้านเอื้ออาทรทั้งครอบครัวพฤติกรรมของรัฐบาลทำให้ผมนึกถึงบทวิเคราะห์ของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ ที่ระบุว่า ldquo;โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ได้รับคะแนนนิยมมากแล้ว จึงทำให้รัฐบาลไม่สนใจพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้น แต่จะนำงบประมาณไปสร้างนโยบายใหม่ เพื่อหาคะแนนนิยมมากกว่าrdquo;[1]
[1] ldquo;อัมมาร ชี้เศรษฐกิจใกล้ทางตัน จี้รัฐดันขีดแข่งขัน วาระแห่งชาติrdquo; กรุงเทพธุรกิจ (30 พ.ค. 2549) หน้า 3.
สมมติว่าผู้จบการศึกษาใหม่กู้ซื้อบ้านหลังละ 1 ล้านบาท โดยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี และกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยของตลาดตลอดระยะเวลา 15 ปีอยู่ที่ร้อยละ 7.75 ต่อปีเท่ากับดอกเบี้ยในปัจจุบัน รวมทั้งกำหนดผู้จบการศึกษาใหม่คนดังกล่าวมีรายได้เฉลี่ย 15,000 บาทต่อเดือน และจ่ายชำระหนี้ประมาณ 5,000 บาทต่อเดือน ผลการคำนวณพบว่า รัฐบาลจะต้องชดเชยดอกเบี้ยตลอด 15 ปีให้กับคนดังกล่าวรวมกันถึง 239,250 บาท ซึ่งเป็นเงินอุดหนุนมากกว่าครอบครัวที่ซื้อบ้านเอื้ออาทร
การกำหนดนโยบายบ้านหลังแรก แม้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการช่วยเหลือให้คนรุ่นใหม่มีบ้านอยู่อาศัย แต่เมื่อพิจารณาลำดับความสำคัญและความเป็นธรรมในการจัดสรรงบเพื่อช่วยให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย เราจะพบว่าการ ลำดับความสำคัญผิด และให้การอุดหนุนอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้มีรายได้น้อย เพราะรัฐบาลไม่ได้มีมาตรการช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อยที่มีปัญหาในการผ่อนบ้านเอื้ออาทร และยังให้การอุดหนุนผู้มีรายได้สูงกว่าด้วยจำนวนเงินมากกว่า
เช่นเดียวกับ นโยบายบ้านหลังแรกที่เป็นการหาเสียงกับกลุ่มคนกลุ่มใหม่ โดยไม่สนใจว่านโยบายเดิมที่ได้ออกไปแล้วจะมีผลเป็นอย่างไร เพราะรัฐบาลได้คะแนนเสียงจากโครงการบ้านเอื้ออาทรไปแล้ว