คิดริเริ่มเก่ง อนาคตไกล
ผู้นำที่ขาดความคิดริเริ่ม และไม่เคยสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือ ผู้สร้างความเสี่ยง ?ล้มเหลว? ในการนำคน นำองค์กรสู่อนาคต และพลาดเป้าหมายวิสัยทัศน์ที่วางไว้...
อนาคตเป็นของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าเสมอ ผู้นำที่มี ?ความคิดริเริ่ม? และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ย่อมมีโอกาสก้าวไปก่อน ก้าวไปไกล ก้าวไปสู่อนาคต ที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า
ตรงข้ามกับผู้นำที่นำแบบไปเรื่อย ๆ พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รักษาระบบแบบอนุรักษ์นิยม ไม่คิดจะริเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ดีกว่าด้วยตนเอง ถ้าไม่มีใครสั่งหรือไม่มีสถานการณ์บีบบังคับ อาจนำได้ในสถานการณ์ปกติ แต่จะไม่ใช่ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ยิ่งใหญ่ และไม่ใช่ผู้นำที่ปรับตัวเข้ากับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
ผู้นำที่นำองค์กรประสบความสำเร็จ มักเป็นพวก ?คิดดี คิดได้ ทำเป็น? คิดริเริ่มสร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง แสวงหา แนวทางใหม่ ๆ เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น ฉลาดขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สร้างผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้มากขึ้น หรือเรียกว่า การมีความคิดเชิงนวัตกรรม
การมีความคิดเชิงนวัตกรรม หมายถึง การคิดริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีขึ้นกว่าเดิม และพยายามหาวิธีนำแนวคิดใหม่เหล่านี้ มาทำให้เป็นจริง นำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ การใช้วิธีการใหม่ การประยุกต์ใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ เช่น ทำให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น สร้างผลลัพธ์ได้มากขึ้น โดยใช้ต้นทุนลดลง ใช้ทรัพยากรลดลง เป็นต้น
ไม่เพียงคนที่เป็นผู้นำหรือผู้บริหารองค์กร แต่คนทำงานทุกคนควรฝึกนิสัยคิดริเริ่ม เพื่อให้เราสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มโอกาสการเป็นผู้นำ และโอกาสความสำเร็จได้
คำถามคือ เราจะสามารถพัฒนาความสามารถในการคิดริเริ่มได้อย่างไร?
คิดริเริ่มเป็นนิสัย สร้างสิ่งใหม่เป็นธรรมชาติ ในการทำงานเราควรฝึกคิดริเริ่มสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องคอยให้ใครมาสั่ง ไม่ต้องรอให้สถานการณ์บีบบังคับแล้วจึงค่อยทำ แต่คิดริเริ่มเป็นนิสัย มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา อยากเห็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม อยากทำให้ดีกว่าเดิม อยากให้เกิดผลลัพธ์ที่มีพลังมากกว่าเดิม ฯลฯ ไม่พอใจกับรูปแบบและวิธีการแบบเดิม ๆ ไม่พึงพอใจในผลลัพธ์เดิม ๆ ไม่แช่อยู่กับความสำเร็จเดิม ๆ
เราควรริเริ่มหาทางปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน พยายามหาวิธีที่ดีขึ้น ฉลาดขึ้น นำเสนอสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ ๆ แนวทางใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง มุ่งสร้างผลลัพธ์เพิ่มขึ้นในขอบเขตงานที่ตนรับผิดชอบ โดยคิดเสมอว่า ?จะทำให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร?? ?มีวิธีใดบ้างที่ช่วยให้เกิดผลลัพธ์ทวีคูณขึ้น?? ?เราจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อลูกค้าได้เร็วที่สุดอย่างไร ถ้าใช้เวลาเท่าเดิม คนเท่าเดิม?? ฯลฯ
กระตุ้นทีมงานคิดริเริ่ม ปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์ ในการทำงานเป็นทีมจะเดินหน้าอย่างมีพลัง ถ้าทุกคนออกแรงเต็มที่ในการช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่เอื้อให้ความฝันที่มีร่วมกันเป็นจริง เราจึงควรมีส่วนทำหน้าที่ผลักดัน กระตุ้น และสนับสนุน ให้ทีมงานคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ แนวทางใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้งานในความรับผิดชอบก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยสื่อสารข้อมูลให้ชัดเจน ในเป้าหมาย เป้าประสงค์ที่ต้องการ
หากเราอยู่ในฐานะหัวหน้างาน หรือผู้บริหาร เราควรเป็นแบบอย่างนักคิดริเริ่ม สร้างแรงบันดาลใจให้คนกล้าคิดนอกกรอบ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ทีมงานให้ได้มากที่สุด ท้าทายให้ทีมงานเชื่อมั่นในตนเอง ส่งเสริมกำลังใจ ให้ความเชื่อมั่นว่าจะสร้างผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์ได้ หากความคิดริเริ่มนั้นถูกนำไปปฏิบัติได้จริงและควรส่งเสริมให้องค์กรสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ขับเคลื่อนกระบวนการนำความคิด ปฏิบัติได้จริง ไอเดียดี ๆ ที่ไม่ถูกนำมาใช้ก็ไม่ต่างกับการฝันเฟื่อง หรือฝันกลางวัน ดังนั้น ทุกความคิดดี ๆ ต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ในการนำมาใช้จริง เราจึงต้องพยายามหาทางเอาไอเดียเหล่านั้นมาทำให้เกิดขึ้นจริง
ทุกองค์กรควรมีการส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างนวัตกรรมให้สำเร็จ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน จาก Ideation ? ไอเดียสร้างสรรค์ คัดเลือกแนวคิดใหม่ ๆ ที่มั่นใจว่าคิดได้ดีกว่าเดิม ใช้การได้ดีกว่าเดิม เกิดจากการทะลุทะลวงทางความคิดของทุกคนในทีม นำไปสู่ Implementation ? ปฏิบัติได้จริง โดยประเมินไอเดียนั้นอย่างละเอียดรอบคอบ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มั่นใจว่านำไปปฏิบัติได้ ใช้ประโยชน์ได้จริง และที่สำคัญนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ผลิตออกมานั้น ต้องมี Impact ? สร้างผลกระทบเชิงบวก นวัตกรรมนั้นไม่เพียงมีผลผลิต (output) แต่ต้องมุ่งผลลัพธ์ (outcome) เห็นผลลัพธ์ชัดเจน ส่งผลกระทบเชิงบวกตามเป้าประสงค์
หากเราสามารถปลดปล่อยศักยภาพในการคิดริเริ่มและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ออกมาได้มากเพียงใด เราจะพบว่า เรากลายเป็น ?ผู้นำแห่งอนาคต? และเป็นที่ต้องการของทุกองค์กร
งานวันนี้
ปีที่ 16 ฉบับที่ 701 วันที่ 26 สิงหาคม -2 กันยายน 2557
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
Catagories:
Tags:
Post date:
Tuesday, 27 October, 2015 - 15:54
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
การส่งเสริมความร่วมมือไทย อินเดีย เพื่อการสร้างชาติ
Total views: อ่าน 1,249 ครั้ง
ปัจจัยความสำเร็จสู่ประเทศชั้นนำด้านนวัตกรรม
Total views: อ่าน 2,126 ครั้ง
ยุทธศาสตร์การบริหาร 8E : ตอนที่ 3 ประสิทธิผล
Total views: อ่าน 5,210 ครั้ง
เก่งจริง ต้องร่วมทีมได้
Total views: อ่าน 5,340 ครั้ง
ยุทธศาสตร์การบริหาร 8E : ตอนที่ 2 ประสิทธิการ
Total views: อ่าน 4,821 ครั้ง