ความคิดสร้างสรรค์

ในบทความครั้งที่แล้ว ผมได้เขียนถึงผลการสำรวจในภาพรวมของประสิทธิผลภาคเอกชน (Private Sector Effectiveness: PVE) ที่เป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งภายใต้ดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย หรือ Thailand Effectiveness Index (TE Index)

ภาคเอกชนในที่นี้ หมายถึง ธุรกิจเอกชนไทยหรือต่างชาติที่ดำเนินการในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร เช่น ร้านค้า สถานประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน

จากการอภิปรายผลดัชนีประสิทธิผลภาคเอกชน ประเด็นสำคัญ คือ ภาคเอกชนไม่ได้คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาวเท่าที่ควร กล่าวคือ ยังลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาไม่มากพอ และการคิดค้นหรือประดิษฐ์เชิงนวัตกรรมยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ บทความตอนนี้จึงจะลงลึกในประเด็นดังกล่าว

ดัชนีประสิทธิผลภาคเอกชน แบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดด้านการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หมวดความรับผิดชอบต่อสังคม และหมวดสถาบันภาคเอกชน ซึ่งหมวดสถาบันภาคเอกชนได้คะแนนต่ำสุด

     ผู้นำที่ขาดความคิดริเริ่ม และไม่เคยสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือ ผู้สร้างความเสี่ยง ?ล้มเหลว? ในการนำคน นำองค์กรสู่อนาคต และพลาดเป้าหมายวิสัยทัศน์ที่วางไว้... 
     อนาคตเป็นของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าเสมอ ผู้นำที่มี ?ความคิดริเริ่ม? และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ย่อมมีโอกาสก้าวไปก่อน ก้าวไปไกล ก้าวไปสู่อนาคต ที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า 
     ตรงข้ามกับผู้นำที่นำแบบไปเรื่อย ๆ พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รักษาระบบแบบอนุรักษ์นิยม ไม่คิดจะริเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ดีกว่าด้วยตนเอง ถ้าไม่มีใครสั่งหรือไม่มีสถานการณ์บีบบังคับ อาจนำได้ในสถานการณ์ปกติ แต่จะไม่ใช่ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ยิ่งใหญ่ และไม่ใช่ผู้นำที่ปรับตัวเข้ากับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้