อารยปริทัศน์ : มุมมองแบบชนะ- ชนะ
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.stevewiens.com/wp-content/uploads/2013/04/looking-glass-721.jpg
การสนทนาที่แท้จริง เมื่อฟังแล้ว ต้องคิดตาม ต้องเกิดข้อสงสัย และต้องตั้งคำถามเป็น และเมื่อเกิดการซักถามจนเข้าใจกระจ่างแล้ว เราจะเกิด ?มุมมอง? ต่อเรื่องดังกล่าว ซึ่งอาจจะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ในแต่ละคน
คนในสังคม เมื่อรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม มักจะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเหล่านั้น ไปตามมุมมองความคิดของตน ในเรื่องเดียวกัน อาจมีมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย
คำถามคือ เราควรมีมุมมองต่อประเด็นต่าง ๆ ในเมื่อเรารับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด การสื่อสาร ในวงสนทนา หรือการับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อย่างไร?
เราควรมีมุมมองที่อารยะ หรือ อารยปริทัศน์
อารยปริทัศน์ หมายถึง มุมมองต่อประเด็นสนทนา ที่กำกับด้วยหลักปรัชญาอารยะ มีปรัชญาปัจเจกอารยะ - ความดี ความงาม ความจริงที่แท้จริง กำกับ และมีปรัชญาสังคมอารยะ ? เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ที่พึงกระทำ กำกับ ประกอบด้วย
มุมมองที่เปิดกว้าง ? ยึดหลักแต่ไม่ยึดติด
มุมมองที่เปิดกว้าง หมายถึง มุมมองที่ละวางซึ่ง ?อคติ? ไม่ยึดอคติในใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งที่ฉันคิดนั้นถูกต้องที่สุด แต่มีใจที่เป็นกลาง เป็นธรรม ในการรับฟังประเด็นของผู้อื่น คิดเสมอว่า สิ่งที่เขาคิดอาจถูกต้อง มีเหตุมีผล ซึ่งหลังจากที่ได้รับฟังข้อมูลอย่างเข้าใจกระจ่างแล้ว ได้ซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ได้ประเมินด้วยเหตุผลอย่างครบถ้วนแล้ว มุมมองความคิดเดิมของเราพร้อมที่จะเปลี่ยนไป ไม่ยึดติดมุมมองเดิม ถ้าพิจารณาแล้ว มันดีกว่า งามกว่า ถูกต้องเหมาะสมกว่า
มุมมองมุ่งส่วนรวม ? ไม่เห็นแก่ตัว
เราควรมีมุมมองที่ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่มุ่งเพียงเป้าหมายเพื่อประโยชน์ที่ตนเองต้องการเท่านั้น แต่ต้องมีมุมมองเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์ของทุกฝ่าย เมื่อเห็นประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ในใจต้องตั้งคำถามแล้วว่า มันดีไหม มันงามไหม มันจริงไหม? มันเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมไหม? มันก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวหรือไม่? มุมมองที่อารยะแบบนี้ จะนำไปสู่การการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
มุมมองชนะทุกฝ่าย ? ไม่ใช่ฉันชนะ-เธอแพ้
เมื่อมุมมองกำกับด้วยหลักปรัชญาอารยะ จะเป็นมุมมองที่มุ่งเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย และเป็นมุมมองที่มองแบบองค์รวม มองอย่างบูรณาการ มองครบวงจร มองทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงเป็นมุมมองที่เกิดประโยชน์ และไม่สร้างปัญหา เพราะไม่มองกันเป็นศัตรูที่ต้องกำจัด แต่เป็นผู้ที่ต้องร่วมมือกัน ? ชนะทุกฝ่าย ไม่ใช่ฉันถูก เธอผิด / ฉันต้องชนะ เธอต้องแพ้
เราไม่จำเป็นต้องเห็นเหมือนกันหมด เราอาจมีมุมมองในเรื่องเดียวกัน แตกต่างกัน มุมมองแตกต่างได้ แต่ต้องไม่แตกแยก โดยตระหนักว่า ชัยชนะบนซากปรักหักพังนั้น ไม่มีคุณค่าอะไรเลย มุมมองที่อารยะ จึงเป็นการมองแบบองค์รวม ไม่ได้มองแบบ ฉันต้องชนะ เธอต้องแพ้ ไม่ได้มองแบบ ได้อย่างเสียอย่าง แต่มีมุมมองเพื่อสันติ หรือ ความอยู่รอดของภาพรวมสูงสุด
อารยปริทัศน์ เป็นขั้นที่สามของอารยสนทนา มุมมองที่เรามีต่อประเด็นสาธารณะ จะนำไปสู่ขั้นต่อไปคือ การถกแถลง ร่วมกันในสังคม
ผมได้กล่าวไว้ในหนังสือ ข้อคิดเพื่อกำลังใจว่า ?ตัวเรากำหนดผลในอนาคต โลกนี้สีเทาอ่อนหรือเทาแก่ อยู่ที่ตาของเราจะมองเห็นเป็นเช่นไร?
การมองโลกแบบอารยะมีมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ แบบอารยะ ด้วยใจที่ไม่เห็นแก่ตัว แต่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เห็นแก่ประโยชน์ของทุกฝ่าย เป็นมุมมองที่ดี ที่งาม ที่จริง อย่างแท้จริง จะช่วยเสริมสร้างอนาคตที่ดีกว่าร่วมกันได้แน่นอน
ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com
Catagories:
Tags:
Post date:
Tuesday, 19 November, 2013 - 14:17
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
คนไทยยุคใหม่ ดี เก่ง กล้า!
Total views: อ่าน 1,732 ครั้ง
สร้างเยาวชน “ดี เก่ง กล้า” เพื่อการสร้างชาติ
Total views: อ่าน 7,497 ครั้ง
อารยสามัคคี: พลังสามัคคีบนฐานความดี ความงาม ความจริง
Total views: อ่าน 65,467 ครั้ง
อารยพิจารณา : รอบคอบ เพื่อผลดียั่งยืน
Total views: อ่าน 11,976 ครั้ง
อารยาธิปไตย: ประชาธิปไตยบนฐานธรรมาธิปไตย
Total views: อ่าน 6,545 ครั้ง