SE อยู่รอดได้ ต้อง Niche และ Need
บทความนี้เป็นการนำเสนอลักษณะร่วมของผู้ประกอบการทางสังคมในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการทางสังคมให้สำเร็จได้ โดยยกกรณีตัวอย่างของการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่มีส่วนเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้คนในสังคม ดังนี้
ผู้ประกอบการทางสังคมควรดำเนินกิจการที่ถนัดมากที่สุด (Niche)
คำว่า ldquo;ความถนัดrdquo; ในที่นี้หมายถึง กิจกรรมการระดมทุนมาให้ได้ระดับหนึ่งที่จะพอเพียงต่อการดำเนินกิจการขององค์กรโดยใช้เวลาน้อยที่สุดโดยผู้ประกอบการทางสังคมที่ดีต้องทำในสิ่งที่ตนถนัดมากที่สุด เพราะจะช่วยให้เป็นการใช้ทรัพยากรเกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น หากผู้ประกอบการทางสังคมต้องการสร้างโรงเรียนตามอัธยาศัย เพื่อสอนภาษาอังกฤษแก่เด็กในชุมชนแออัด แต่มีปัญหาตรงที่ไม่มีความสามารถในการสอนภาษาอังกฤษ มีเพียงความสามารถทางธุรกิจและการระดมทุน ประกอบกับมีสายสัมพันธ์กับนักธุรกิจ ครู และอาสาสมัครที่มีทักษะภาษาอังกฤษ ทางออกที่มีความเป็นไปได้คือ ผู้ประกอบการทางสังคมควรเป็นสื่อกลางในการประสานงานกับสายสัมพันธ์ให้เข้ามาสอน และขอระดมทุนจากนักธุรกิจด้วยกันมาสร้างโรงเรียนตามอัธยาศัยได้สำเร็จ
กองทุนเวลาได้รับการตอบรับอย่างดีจากคนในสังคม ทั้งจากครู นักเรียน ดารานักร้อง นักแสดง คนในชุมชนต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครร่วมทำกิจกรรม และในอนาคตอันใกล้ จะมีกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อสนองตอบผู้ที่ต้องการเข้ามาช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ
ผู้ประกอบการทางสังคมควรตอบสนองความต้องการ (Need)
ผู้ประกอบการทางสังคมที่ดีจะสามารถตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นด้านการเรียนรู้ของคนในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ที่จัดตามกลไกตลาดและการเรียนรู้ที่จัดโดยรัฐ แต่ทั้งนี้ต้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบการทางสังคมเข้าใจปัญหาและความต้องการของคนในสังคมอย่างแท้จริง เพราะผู้จัดการศึกษาตามกลไกตลาดและรัฐค่อนข้างห่างจากกลุ่มเป้าหมาย จึงไม่สามารถเข้าถึงความต้องการด้านการเรียนรู้ที่แท้จริงของคนในสังคมได้ โดยเริ่มจากการที่ผู้ประกอบการทางสังคมเข้าไปใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย จนกระทั่งมองเห็นปัญหาและความต้องการ แล้วจึงก่อตั้งกลุ่มหรือองค์กรเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีความสามารถในการจ่ายค่าเล่าเรียนที่เพิ่มตามกลไกตลาด และอุดช่องว่างในการเรียนรู้ระหว่างรัฐกับกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่าง Homeboy Industries ก่อตั้งเมื่อปี 1998 โดยบาทหลวงเกรเกอรี่ เจ. บอยล์ (Gregory J. Boyle) เป็นผู้ประกอบการทางสังคม เน้นช่วยเหลือเด็กที่เสี่ยงก่ออาชญากรรมในลอสแอนเจลิส (Los Angeles) ซึ่งเป็นกลุ่มที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถเข้าถึง ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ก่อปัญหาสังคมอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากผู้ก่อตั้งรู้ถึงความสามารถและความต้องการของเด็กและวัยรุ่นกลุ่มนี้ คือ ต้องการด้านอาชีพ และประสบความสำเร็จในการหาเลี้ยงตนเองได้ จึงตัดสินใจเข้าไปช่วยเหลือด้านอาชีพ โดยฝึกอบรมอาชีพที่ตนเองถนัดและมีรายได้ไปพร้อมกัน ซึ่งทำให้ Homeboy Industries มีส่วนช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงให้มีรายได้เป็นของตนเอง และส่วนหนึ่งเป็นรายได้ที่นำกลับมาจัดกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน Homeboy Industries นำเด็กจำนวนมากเข้าสู่การทำธุรกิจหลายรูปแบบ เช่น ร้านขนมปัง ร้านสกรีนภาพ ร้านสเต็ก ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า เด็ก ผู้ใหญ่ บุรุษ สตรี หมวก และการซ่อมบำรุง โดยแต่ละเดือนมีเด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับความช่วยเหลือกว่า 1 พันคน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการทางสังคมจะสามารถช่วยเหลือสังคม โดยใช้สิ่งที่ถนัด สามารถดำเนินกิจการให้อยู่รอด ตอบสนองและเข้าถึงความต้องการในการเรียนรู้ของคนในสังคมแล้ว ปัจจัยสำคัญคือการที่ภาครัฐให้การสนับสนุน โดยเฉพาะในระยะตั้งต้น โดยรัฐควรกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ที่สนับสนุนให้ ผู้ประกอบการทางสังคม มีส่วนพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่คนในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส หรือไม่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ การกำหนดให้นโยบายทุกกระทรวง มีส่วนสนับสนุนผู้ประกอบการทางสังคม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก การประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จัดโดยผู้ประกอบการทางสังคม รวมถึงการศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ในการสนับสนุนผู้ประกอบการทางสังคม ที่มีส่วนสนับสนุนการเรียนรู้ให้คนในสังคมโดยวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างความต้องการรับบริการการเรียนรู้และการให้บริการการเรียนรู้จากภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม เพื่อหาจุดที่ผู้ประกอบการทางสังคมสามารถเข้าไปดำเนินการได้ รวมถึงการวิจัยหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผู้ประกอบการทางสังคมในบริบทวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เพื่อสามารถดำเนินกิจการได้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมและสามารถอยู่รอดได้