กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน
โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติหรือ PISA (Program for International Student Assessment) ที่เน้นการประเมินศักยภาพของนักเรียนอายุ 15 ปี จาก 65 ประเทศทั่วโลก ในการใช้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในชีวิต ผลปรากฏว่า ในปี ค.ศ. 2012 ที่ผ่านมา มหานครเซี่ยงไฮ้ของจีนสามารถทำคะแนนสอบเป็นอันดับ 1 ในทุกรายวิชา อันได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ 613 คะแนน จากคะแนนเฉลี่ย 494 คะแนน วิชาการอ่าน 570 คะแนน จากคะแนนเฉลี่ย 496 คะแนน และวิชาวิทยาศาสตร์ 580 คะแนน จากคะแนนเฉลี่ย 501 คะแนน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจให้กับทั่วโลกว่า เซี่ยงไฮ้สามารถพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพได้อย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลทำให้เซี่ยงไฮ้ประสบความสำเร็จทางการศึกษาในปัจจุบัน
February 2014
บทเรียนจากการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในมหานครเซี่ยงไฮ้
การพัฒนาตัวชี้วัดโลกาภิวัตน์ (ตอนที่ 2)
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.innovationmanagement.se/wp-content/uploads/2013/02/how-to-develop-your-innovation-management-consulting-business-in-tough-times1.jpg
เดลินิวส์
คอลัมน์ ?แนวคิด ดร.แดน?
ในบทความตอนที่ 1 ผมได้อธิบายถึงข้อวิพากษ์เกี่ยวกับการวัดโลกาภิวัตน์ใน 2 ประเด็น คือ ความไม่ชัดเจนของนิยามโลกาภิวัตน์และความไม่ชัดเจนของความสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัตน์กับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ และในบทความตอนนี้เป็นการอธิบายข้อวิพากษ์ในประเด็นสุดท้าย คือ "ความไม่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาของประเทศในเอเชีย" เป็นข้อวิพากษ์ที่บอกถึงความไม่สอดคล้องของชุดตัวชี้วัดโลกาภิวัตน์อาจไม่เหมาะสำหรับใช้วัดกับทุกประเทศ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาประเทศและบริบทของการพัฒนาแตกต่างกัน
การพัฒนาตัวชี้วัดโลกาภิวัตน์ (ตอนที่ 1)
เดลินิวส์
คอลัมน์ ?แนวคิด ดร.แดน?
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้รับเชิญไปปาฐกถาในงาน Asia Perspectives 2014 ที่จัดโดย Maulana Abul Kalam Azad Institute of Asian Studies (MAKAIAS) ณ ประเทศอินเดีย โดยผู้จัดได้ขอให้ผมบรรยายเกี่ยวกับการวัดโลกาภิวัตน์ของประเทศในเอเชีย
การศึกษาเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ (globalization) ได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่การสร้างดัชนีชี้วัดโลกาภิวัตน์อย่างเป็นระบบเพิ่งเกิดขึ้นเพียงสิบกว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น โดยอาจแบ่งกลุ่มของตัวชี้วัดโลกาภิวัตน์ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ดัชนีเดี่ยว (single index) และชุดของดัชนี (composite index)
ซิลิคอน เวลลี่ กับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ต้องเร่งแก้ไข
แหล่งที่มาของภาพ : http://crazy-frankenstein.com/free-wallpapers-files/city/sao-paulo-wallpapers/favela-sao-paulo-city-wallpapers-1680x1050.jpg
ย้อนกลับไปในปลายทศวรรษ 1990 ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เชื่อว่าเทคโนโลยี คือสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของคนในประเทศให้ดีขึ้นได้
แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนส่วนหนึ่งกลับไม่คิดเช่นนั้น เพราะ ณ ปัจจุบัน การขยายตัวและความสำเร็จของบริษัทเทคโนโลยียังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ซิลิคอน เวลลี่ (Silicon Valley) ดินแดนที่เป็นที่ตั้งของบริษัททางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของโลกที่ที่มีความเหลื่อมล้ำในสังคมมากเป็นอันดับต้นๆ ของสหรัฐฯ
ทำงานดึกแบบไม่อ้วน ไม่เพลีย
โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips
คนทำงานจำนวนไม่น้อยประสบกับปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง เพราะไม่รู้วิธีเตรียมพร้อม ปรับตัวให้เหมาะสมที่จะทำงานช่วงกลางคืน รายงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การทำงานดึกมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของคนทำงาน
แอนเดรีย สเปธ แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ทำการวิจัยด้านการนอนหลับและนาฬิกาชีวภาพ โดยนำคนมากินนอนกันอยู่ในห้องวิจัยได้รับอาหารในแต่ละมื้อตามเวลาที่กำหนดและสามารถรับประทานอะไรเพิ่มเติมในช่วงเวลาอื่นๆได้ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกกำลังกาย และถูกจำกัดให้นอนได้เพียง 4 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 คืนติดต่อกัน ผลปรากฏว่าน้ำหนักขึ้นมากกว่าผู้ที่ถูกควบคุมให้นอนเป็นเวลา 10 ชั่วโมงในแต่ละคืน