ประสิทธิภาพ

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอยุทธศาสตร์การบริหาร 8E ซึ่งเป็น Model ใหม่ที่ผมสร้างขึ้น E ตัวที่หนึ่ง ได้แก่ Efficiency หรือประสิทธิภาพ อันเป็นการบริหารและจัดสรรปัจจัยนำเข้า (inputs) หรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไปแล้ว สำหรับบทความในตอนนี้ ผมจะนำเสนอยุทธศาสตร์ E ตัวที่สอง ที่นับว่าเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการบริหาร นั่นคือ Excellence คือ ความดีเลิศในกระบวนการ หรือขอเรียกว่าประสิทธิการ

หากพิจารณาในเชิงหลักการ การจำนำข้าวดูเหมือนเป็นแนวคิดที่ดี กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำในช่วงที่ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมาก ชาวนาจะนำข้าวไปจำนำก่อนเพื่อรอเวลาที่ราคาข้าวสูงขึ้นแล้วจึงไถ่ถอนข้าวออกมาจำหน่าย

อย่างไรก็ดี การจำนำมีข้อจำกัดในการนำมาใช้กับข้าวเปลือก เนื่องจากการจำนำข้าวมีต้นทุนการดำเนินการสูง โดยเฉพาะต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการเก็บรักษา รวมทั้งยังมีต้นทุนจากการเสื่อมคุณภาพของผลผลิตข้าว ดังนั้นราคารับจำนำจำเป็นต้องต่ำกว่าราคาตลาดมากพอสมควร เพื่อให้ชาวนาที่นำข้าวมาจำนำมีแรงจูงใจมาไถ่ถอนข้าวออกไป หรือเพื่อให้ผู้รับจำนำข้าวมีกำไรหรือไม่ขาดทุนเมื่อนำข้าวที่หลุดจำนำออกขายทอดตลาด

ในภาคปฏิบัติ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไม่ใช่การรับจำนำข้าวตามแนวคิดข้างต้น แต่เป็นการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรเพื่อมาเก็บรักษาและจัดจำหน่ายเอง ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นนโยบายสงเคราะห์ด้านรายได้แก่เกษตรกร เพราะรัฐบาลรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมากจนเป็นไปไม่ได้ที่เกษตรกรจะกลับมาไถ่ถอนข้าวออกไป