การศึกษา


แหล่งที่มาของภาพ : http://1.bp.blogspot.com/-2kIcOjSbdqw/T9djptX6mvI/AAAAAAAAAlc/KoIjts5oJUA/s1600/asean1.jpg

ในบทความที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยอันเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในหลายมิติ บทความนี้จะนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ประเด็นสุดท้าย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านความเสี่ยงและเสถียรภาพ และการเปลี่ยนแปลงความเป็นอิสระของการกำหนดนโยบายภาครัฐ

หลังจากที่ผมได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยซึ่งเป็นผลจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มาแล้ว 5 ประเด็น พบว่า ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาประเทศด้วยมุมมองและในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้โดดเด่นท่ามกลางนานาประเทศ ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน รวมถึงมียุทธศาสตร์ในการวางตัวอย่างเหมาะสมกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ เพื่อมีช่องทางและโอกาสในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศอย่างสอดคล้องกับทิศทางของโลก

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นทางการ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ AEC จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทยในอนาคตอย่างไร?

 
 

ในช่วงที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ ?นักเรียนประท้วงขับไล่ผอ.? ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยเหตุผลข้อกล่าวหาที่คล้าย ๆ กัน นั่นคือ มีการบริหารงานไม่โปร่งใส ส่อไปในทางทุจริต โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่เหมาะสม การจัดซื้อจัดจ้าง การซื้อวัสดุการเรียนที่แพงเกินจริงและไม่มีคุณภาพ มีการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงโรงเรียน เงินบริจาค โดยไม่ชัดเจนว่านำไปทำอะไร ฯลฯ

ปรากฏการณ์ทางสังคมนี้ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในมุมลบมุมบวก บางคนมองว่า เด็กสมัยนี้ปกครองยาก ไม่ให้ความเคารพผู้ใหญ่ บางคนมองว่าเป็นการเลียนแบบผู้ใหญ่ ไม่พอใจใคร ก็ออกมาประท้วงขับไล่ บ้างก็มองว่าเด็กเหล่านี้ถูกชักจูงยุยง จากกลุ่มตรงข้ามที่ต้องการทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง

การพัฒนาหลักสูตรสนองตอบการพัฒนาชาติและท้องถิ่นเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาแห่งฮาร์วาร์ด ซึ่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน ฮาร์วาร์ดได้มีการคิดค้น พัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรอย่างเป็นพลวัต ในจำนวนนี้หลายหลักสูตรสร้างผลกระทบเชิงบวกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับชุมชน สังคม ประเทศชาติ และระดับโลก อาทิ วิชาบอสตัน (Boston course) ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานในสังกัดวิทยาลัยเคนเนดี้สคูลแห่งฮาร์วาร์ด (Harvard Kennedy School) วิชาดังกล่าวนี้มีส่วนสำคัญต่อการจัดการประเด็นปัญหาและการพัฒนาสังคมชุมชนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการสร้างผู้นำรุ่นใหม่และการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญของหลักสูตรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมของฮาร์วาร์ด 

          "งานด้านการศึกษา เป็นงานที่สร้างคน" ออกไปรับใช้ในทุกภาคส่วนของไทย ทั้งภาคการเมือง ภาคเศรษฐกิจ ภาคสังคม ฯลฯ การลงทุนทางด้านการศึกษา จึง "สำคัญ" และ "จำเป็น" ยิ่ง!!

 

         แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยลงทุนทางด้านการศึกษา มากเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษากลับตกต่ำ คุณภาพการศึกษาเกือบรั้งท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียน