การลงทุน

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2018 ผมในฐานะประธานสถาบันการสร้างชาติ ได้กล่าวปาฐกถาในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติว่าด้วยการสร้างชาติ ครั้งที่ 2 (ICNB 2018) ในหัวข้อเรื่อง “นวัตกรรมยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทเพื่อการสร้างชาติ”

โลกกำลังอยู่ในสังคมข้อมูลข่าวสารคาบเกี่ยวกับสังคมความรู้ ผู้ที่สามารถจัดการข้อมูลและเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้ ย่อมมีความได้เปรียบเพราะการประยุกต์ใช้ความรู้จะนำไปสู่การต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากการนำเครื่องจักร หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น International Federation of Robotics คาดการณ์ว่า ภายในปี 2561 หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกจะมีจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านยูนิต และ BCG คาดว่า ในปี 2568 หุ่นยนต์หรือ AI จะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ถึง 1 ใน 4 และธนาคารกลางอังกฤษคาดว่า ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า งานในอังกฤษและสหรัฐฯ กว่า 40-50% จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ ในบทความตอนนี้ จะนำเสนอ 2 ประการสุดท้ายของแนวโน้มการเงินการธนาคารในศตวรรษที่ 21 ดังต่อไปนี้

ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคนทั้งในสหรัฐฯ และประเทศแถบแคริเบียน รวมถึงประเทศเปอร์โตริโก อันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากครับ เปอร์โตริโกมีชื่อทางการว่า เครือรัฐเปอร์โตริโก ถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง


แหล่งที่มาของภาพ : http://1.bp.blogspot.com/-2kIcOjSbdqw/T9djptX6mvI/AAAAAAAAAlc/KoIjts5oJUA/s1600/asean1.jpg

ในบทความที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยอันเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในหลายมิติ บทความนี้จะนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ประเด็นสุดท้าย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านความเสี่ยงและเสถียรภาพ และการเปลี่ยนแปลงความเป็นอิสระของการกำหนดนโยบายภาครัฐ

หลังจากที่ผมได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยซึ่งเป็นผลจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มาแล้ว 5 ประเด็น พบว่า ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาประเทศด้วยมุมมองและในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้โดดเด่นท่ามกลางนานาประเทศ ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน รวมถึงมียุทธศาสตร์ในการวางตัวอย่างเหมาะสมกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ เพื่อมีช่องทางและโอกาสในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศอย่างสอดคล้องกับทิศทางของโลก

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นทางการ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ AEC จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทยในอนาคตอย่างไร?

ปรากฏการณ์ "เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน" "รวยได้แต่เด็ก" ประสบความสำเร็จ (เป็นเศรษฐี) ตั้งแต่อายุยังน้อย ฯลฯ ที่กำลังเป็นกระแสมาแรงในสังคมไทย ในโลกเสรีทางการค้าและข้อมูลข่าวสารที่เปิดกว้างในปัจจุบันก่อให้เกิดช่องทางในการเป็นเศรษฐีใหม่ หรือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ได้อย่างไม่ยากเย็นนักเมื่อเทียบกับยุคสมัยก่อนหน้า เศรษฐีใหม่วัยหนุ่มสาว ต่างตบเท้าเรียงหน้ากระดานเข้าสู่แวดวงทางธุรกิจ จำนวนมาก มีการเผยแพร่ผลงานความสำเร็จดังกล่าวออกไปอย่างกว้างขวางในทุกทาง ทั้งงานเขียน สื่อทีวี และการกล่าวถึงในสังคมออนไลน์ ก่อเกิดกระแสแรงผลักดันจากต้นแบบหรือไอดอลผู้ประสบความสำเร็จนั้นส่งต่อไปสู่ หนุ่มสาววัยเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ฯลฯ ต่างปรารถนาอยากประสบความสำเร็จเช่นเดียวกันแบบนี้บ้าง โดยนิยามแห่งความสำเร็จ หรือการเป็นเศรษฐี ที่คนส่วนมากเข้าใจหรือให้ความหมายไว้นั่นคือ  การประสบความสำเร็จในธุรกิจการงานจนมีฐานะร่ำรวย มีทรัพย์สินเงินทอง  สินทรัพย์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเพียงพอให้ตนเองมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย อยากได้อะไรก็ได้  มีเสรีภาพทางการเงิน ไปตลอดชีวิต


แหล่งที่มาของภาพ : http://smallbiztrends.com/wp-content/uploads/2012/04/business-incubator.jpg

บทความที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงเนื้อหาบางส่วนที่ผมได้กล่าวปาฐกถาเปิดการประชุมนานาชาติ  ?International Congress of Business Incubators? โดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป ณ ประเทศสเปน ซึ่งผมได้ฉายภาพของธุรกิจใหม่ และการบ่มเพาะธุรกิจในอนาคต 3 ด้าน คือ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของธุรกิจใหม่ ความต้องการธุรกิจใหม่ที่ให้ผลตอบแทนเร็วขึ้น และการเปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ในบทความตอนนี้ ผมจะกล่าวถึงแนวโน้มที่เหลืออยู่อีก 4 ประการ


แหล่งที่มาของภาพ : http://trak.in/wp-content/uploads/2012/03/startup-incubators.jpg

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้รับเชิญไปกล่าวปาฐกถาเปิดการประชุม International Congress of Business Incubators ที่ประเทศสเปน โดยสหภาพยุโรป (European Union) ได้มอบหมายให้ Chamber Institute for Business Creation and Development ซึ่งก่อตั้งโดยหอการค้าของประเทศสเปน เป็นผู้ดำเนินการ โดยเชิญ business incubators ชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม ผมขอนำเนื้อหาบางส่วนของปาฐกถานี้มาเล่าให้ฟัง

ผมได้รับเชิญไปบรรยายในการประชุมพลังงาน ทรัพยากร และการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจัดโดย BOAO Forum for Asia และ Asian Strategy and Leadership Institute ที่ประเทศมาเลเซีย หัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้ คือ "One Belt and One Road & Asian Energy/Resources Cooperation"
 
"One Belt and One Road" (OBOR) เป็นความริเริ่มของรัฐบาลจีน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมในอดีต ซึ่งเชื่อมโยงทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเส้นทางสายไหมประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือ เส้นทางทะเล (the Maritime silk road) และเส้นทางบก (the Silk Road Economic Belt)