การประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการศึกษาเมื่อวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์
ภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการศึกษาเมื่อวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่านนายกฯ ได้ประกาศทุ่มงบประมาณหนึ่งแสนล้านบาท ให้แก่การศึกษาสำหรับใช้ในอีก 4 ปีข้างหน้า เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาหนี้ครู การสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารเรียน และระบบสาธารณูปโภคในโรงเรียน การจัดสรรคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา และการลงทุนทำระบบใยแก้วนำแสง สำหรับเครือข่ายการศึกษาทางไกลทั่วประเทศ เป็นต้น งบดังกล่าวจึงถือว่าเป็นงบที่มหาศาลเนื่องจาก ในปีงบประมาณ 2547 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบในส่วนนี้เพียง 14,873 ล้านบาท
ข่าวดังกล่าว ทำให้เราเห็นความตั้งใจที่น่าชื่นชมของรัฐบาล ที่เห็นคุณค่า และความสำคัญของการศึกษามากขึ้นกว่าสมัยที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การ rdquo;ทุ่มงบมหาศาลrdquo; คงไม่สำคัญเท่ากับ การ ldquo;ใช้งบทุกบาทอย่างมีประสิทธิภาพrdquo; เพื่อมิให้เป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการคุณภาพการศึกษาไทย ทั้งนี้ผมขอเสนอเรื่องที่รัฐบาลควรตระหนักที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่
การระวังการทุจริตคอร์รัปชัน อันเกิดจากการประมูล การจัดซื้อจัดจ้างจากโครงการต่าง ๆ เนื่องจากแต่ละโครงการต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการ ระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ มีการตรวจสอบการทำงานระหว่างรัฐ และภาคีอื่น ๆ ในสังคม เช่น โรงเรียน ชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างโปร่งใส และมั่นใจได้ว่า เงินทุกบาทได้ใช้เพื่อการศึกษาจริง
การมุ่งเป้าชัด พัฒนาคน พัฒนาการศึกษา การทุ่มงบประมาณควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาการศึกษา คุณภาพครู คุณภาพผู้เรียน ดังนั้น การทุ่มงบประมาณจำนวนมาก จึงไม่ควรมีเป้าหมายเพียงการสร้างวัตถุที่จับต้องได้ แต่ควรมีการใช้งบประมาณที่ประเมินผลเป็นคุณภาพการศึกษา คุณภาพคนที่วัดผลได้ เช่น พัฒนาห้องสมุด ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการสานต่อนโยบาย แนวทางที่สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาเรื่องคนได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการบังคับใช้ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะเป็นคานงัดในการแก้ปัญหาวิกฤตวิชาชีพครู และหนี้สินครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อควรระวังทั้งสองเรื่องนี้ จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากจะทำให้การทุ่มงบประมาณดังกล่าว มีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ และทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด
ข่าวดังกล่าว ทำให้เราเห็นความตั้งใจที่น่าชื่นชมของรัฐบาล ที่เห็นคุณค่า และความสำคัญของการศึกษามากขึ้นกว่าสมัยที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การ rdquo;ทุ่มงบมหาศาลrdquo; คงไม่สำคัญเท่ากับ การ ldquo;ใช้งบทุกบาทอย่างมีประสิทธิภาพrdquo; เพื่อมิให้เป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการคุณภาพการศึกษาไทย ทั้งนี้ผมขอเสนอเรื่องที่รัฐบาลควรตระหนักที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่
การระวังการทุจริตคอร์รัปชัน อันเกิดจากการประมูล การจัดซื้อจัดจ้างจากโครงการต่าง ๆ เนื่องจากแต่ละโครงการต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการ ระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ มีการตรวจสอบการทำงานระหว่างรัฐ และภาคีอื่น ๆ ในสังคม เช่น โรงเรียน ชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างโปร่งใส และมั่นใจได้ว่า เงินทุกบาทได้ใช้เพื่อการศึกษาจริง
การมุ่งเป้าชัด พัฒนาคน พัฒนาการศึกษา การทุ่มงบประมาณควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาการศึกษา คุณภาพครู คุณภาพผู้เรียน ดังนั้น การทุ่มงบประมาณจำนวนมาก จึงไม่ควรมีเป้าหมายเพียงการสร้างวัตถุที่จับต้องได้ แต่ควรมีการใช้งบประมาณที่ประเมินผลเป็นคุณภาพการศึกษา คุณภาพคนที่วัดผลได้ เช่น พัฒนาห้องสมุด ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการสานต่อนโยบาย แนวทางที่สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาเรื่องคนได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการบังคับใช้ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะเป็นคานงัดในการแก้ปัญหาวิกฤตวิชาชีพครู และหนี้สินครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อควรระวังทั้งสองเรื่องนี้ จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากจะทำให้การทุ่มงบประมาณดังกล่าว มีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ และทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด
Catagories:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2005-03-03
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ ศักยภาพมนุษย์ ในแนวคิด ดร.แดน
Total views: อ่าน 1,500 ครั้ง
บูรณาการวิทยาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ 21
Total views: อ่าน 2,336 ครั้ง
คิดเป็นระบบ Systematic Thinking ช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร
Total views: อ่าน 4,268 ครั้ง
ความสัมพันธ์ของการศึกษากับการเป็นมหาเศรษฐี
Total views: อ่าน 2,081 ครั้ง
STEMMAD-CINDERELLA สร้างบุคลากรด้านนวัตกรรมเพื่อการสร้างชาติ
Total views: อ่าน 4,486 ครั้ง