ถ่ายโอนการศึกษาต้องมีมาตรฐาน

จากมติคณะรัฐมนตรี 8 พฤศจิกายน 2548 ระบุว่า ldquo;การถ่ายโอนบุคลากรด้านการศึกษาให้อยู่บนพื้นฐานความสมัครใจrdquo; เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) ได้สรุปผลประชุมเรื่อง การถ่ายโอนสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่อยู่ในบัญชี 2 (คือ รร.ที่สมัครใจโอนไปสังกัด อปท. หลังจากที่ ครม.มีมติให้เพิ่มคำว่าสมัครใจ) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 292 แห่ง จากข้อสรุปดังกล่าว ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่า ศธ.จะเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้สถานศึกษาในบัญชีนี้ถ่ายโอนได้ตามจำนวนที่เหมาะสม และให้โอนได้มากที่สุดไม่เกิน 2 เท่าที่ ครม.เคยอนุมัติให้ อปท.แต่ละประเภทรับโอนสถานศึกษาได้จำนวนเท่าใด รวมทั้งขอสงวนไม่ถ่ายโอนโรงเรียนในฝัน โรงเรียนตามพระราชดำริ .ควรพัฒนาตัวชี้วัดและประเมินความพร้อมของ อปท. เพื่อกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเตรียมความพร้อมของแต่ละท้องถิ่น โดยจัดทำตัวชี้วัดที่มีอยู่แล้ว ชุดตัวชี้วัดความพร้อมในการจัดการศึกษาแต่ละระดับ คือ การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ชุดตัวชี้วัดความพร้อมในการจัดการศึกษาสำหรับแต่ละกลุ่มคน เช่น การจัดการศึกษาสำหรับคนปกติ การจัดการศึกษาสำหรับเด็กอัจฉริยะ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ การจัดการศึกษาอิสลาม นอกจากนี้ควรมีตัวชี้วัดความพร้อมของผู้ปกครอง ประชาชน และชุมชนในการสนับสนุนการจัดการศึกษาของ อปท.

ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มี 2 ประเด็นด้วยกัน

ประเด็นแรก การกำหนดให้โอนได้มากที่สุดไม่เกิน 2 เท่าที่ ครม.เคยอนุมัติ ndash; การระบุเช่นนี้ใช้เกณฑ์ใดในการพิจารณาว่าเหตุใดจึงไม่ควรเกิน 2 เท่า ซึ่งผมเห็นว่า การระบุจำนวนจำกัดอย่างไม่มีหลักเกณฑ์รองรับ อาจเป็นการไม่ยุติธรรมสำหรับ อปท.ในบางพื้นที่ที่สามารถรับผิดชอบจำนวนโรงเรียนที่มากกว่านี้ตาม ldquo;ความสมัครใจrdquo; ได้ จึงคิดว่าไม่ควรระบุจำนวนจำกัด แต่ควรใช้หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานอื่นที่เข้มงวดมากกว่าในการกำหนดเงื่อนไข และในระยะแรกควรมีหลักเกณฑ์ในการประเมินและการตรวจสอบที่เข้มงวดเพื่อรักษามาตรฐานด้านการศึกษา

ประเด็นที่สอง การสงวนไม่ถ่ายโอนโรงเรียนในฝัน และโรงเรียนตามพระราชดำริ ndash; หากต้องการยื้อไว้ให้อยู่ในการดูแลของ ศธ ด้วยเกรงว่า เมื่อโอนไป อปท.แล้วจะไม่สามารถรักษามาตรฐาน หรือไม่สามารถสร้างให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ ผมคิดว่า ศธ.ไม่ควรมีความคิดเช่นนี้ เพราะเท่ากับเป็นการดูแคลนและไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของ อปท.แต่ควรให้โอกาส อปท.ในการรักษามาตรฐานและพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนเหล่านี้ ให้เป็นโรงเรียนในฝันต้นแบบของ อปท. โดยมีการกำหนดมาตรฐานขั้นสูงตามที่ควรจะเป็น รวมทั้งมีระบบการตรวจสอบและประเมินผลที่เข้มงวดกว่าโรงเรียนทั่วไป

ผมเคยเสนอว่า หากต้องการให้การถ่ายโอนสถานศึกษามีคุณภาพสูงสุด ศธ

ความเป็นห่วงในความไม่พร้อมของท้องถิ่น แต่ยังอยู่บนพื้นฐาน ldquo;ความสมัครใจrdquo; และการสร้างข้อจำกัดที่ไม่ได้อยู่บนเกณฑ์มาตรฐาน อาจเป็นการแสดงออกซึ่งความไม่ยุติธรรมในการกระจายอำนาจการศึกษาตามที่ควรจะเป็น

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-06-27