ผูกขาดเนื้อหาสื่อ : กลยุทธ์เอาเปรียบประชาชน
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ปรากฏการณ์ของการใช้สื่อในช่วงเลือกตั้งได้รับความสนใจจากหลายฝ่าย และที่ผ่านมามีการเปิดเผยถึงพฤติกรรมการใช้สื่อเพื่อสร้างคะแนนนิยมของพรรคการเมืองอยู่เป็นเนืองๆ ล่าสุดสำนักวิจัยเอเบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาของการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้ง เรื่อง ldquo;สงครามแย่งชิงเวลาดีของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวภาคค่ำและเช้าในกลุ่มพรรคการเมืองต่างๆrdquo;ที่ดำเนินการมาแล้ว2ครั้ง [1] (รวบรวมโดยประชาชาติธุรกิจ :2548) หรือ การใช้ประโยชน์จากข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของรักษาการนายกฯ และคณะรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายหาเสียง ซึ่งเป็นรูปแบบการนำเสนอที่รัฐบาลสามารถเลือกประเด็นเพื่อให้สื่อนำเสนอ ดังผลที่ปรากฏในงานวิจัยข้างต้น [2] (ประชาชาติธุรกิจ :2548) ซึ่งเสมือนเป็นการเอาเงินภาษีประชาชนทั้งประเทศมาใช้ โดยหวังผลเพียงการประชาสัมพันธ์ผลงานเท่านั้น [3]
ผลสำรวจทั้งสองครั้งคล้ายคลึงกันคือ พรรคไทยรักไทยยังคงครองพื้นที่สื่อโทรทัศน์ทั้งในด้านความถี่และจำนวนเวลาในการนำเสนอ ตลอดจนเนื้อหาของข่าวนั้น พรรคไทยรักไทยได้รับการนำเสนอข่าวในทิศทางที่ดีต่อภาพลักษณ์ของพรรคมากกว่าพรรคการเมืองอื่น
ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนการผูกขาดการใช้สื่อของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ที่สามารถเข้าถึงคนส่วนใหญ่ทั้งในเมืองและชนบท ผ่านการใช้งบฯ ของหน่วยงานและกระทรวงต่าง ๆ ที่ผ่านมาพบว่า ldquo;นับตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ งบฯ โฆษณาประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆrdquo;
การประชาสัมพันธ์นโยบายเหล่านี้ล้วนเป็นสีเทา แล้วแต่มุมมองว่าการกระทำดังกล่าวมีความเหมาะสมหรือไม่ ส่วนหนึ่งอาจมองได้ว่าสิ่งที่ทำอยู่ในขอบเขตอำนาจของรัฐบาลรักษาการจะกระทำได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งจะสังเกตได้ว่า rdquo;ส่วนใหญ่เป็นงบฯ ที่ใช้ในการสร้างภาพลักษณ์องค์กร และโครงการต่อเนื่องที่รัฐบาลชุดนี้ริเริ่มไว้rdquo;
นอกจากการเข้ามาควบคุมและใช้ประโยชน์จากสื่อที่มีหน่วยงานรัฐเป็นเจ้าของแล้ว ในขณะนี้ยังมีความพยายามที่จะสร้าง ldquo;สื่อเทียมrdquo; โดยจาก ldquo;แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพ เรื่อง บทบาทสื่อมวลชนในสถานการณ์ปัจจุบันrdquo; พบว่า ldquo;มีความพยายามจะสร้างสื่ออื่นที่รัฐไม่ได้ควบคุมอย่างทั่วถึง อาทิ สื่อหนังสือพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อข้อความสั้น (SMS) ซึ่งถือเป็นการสร้าง ldquo;สื่อเทียมrdquo; ที่เครือข่ายนักการเมืองพยายามใช้ประโยชน์สนองตอบเป้าหมายทางการเมืองของตนมากกว่าประโยชน์สาธารณะ มีความแตกแยกเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล กับฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล อันเป็นพฤติกรรมที่เคยเกิดขึ้นและนำไปสู่ความรุนแรงในชาติมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในอดีตrdquo;
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยไม่ถูกปิดกั้น หากแต่ขณะนี้พฤติกรรมที่รัฐบาลรักษาการใช้ประโยชน์จากสื่อที่ตนควบคุมได้นั้น ทำให้ประชาชนถูกจำกัดทางเลือกในการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่มีความครบถ้วนและรอบด้าน
[1] ldquo;ชำแหละ งบฯโฆษณา ภาครัฐrdquo;. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ประจำวันที่ 7-10 กรกฎาคม 2548. หน้า 10
[2] อ้างแล้ว ประชาชาติ :2548. หน้า 10
[3] แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพ เรื่อง บทบาทสื่อมวลชนในสถานการณ์ปัจจุบัน
ที่มา : http://www.tja.or.th/modules.php?name=Newsamp;file=articleamp;sid=418 (5 กันยายา 2549: 16.19น.)