ข้อควรระวังในการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์
ตัวแทนเอกชนภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้เสนอแนวทางเพื่อฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สรุปเป็นมาตรการ 3 ข้อหลัก คือ
1) นำค่าชำระดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านมาหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 1 แสนบาท จากเดิม 5 หมื่นบาท
3) อุดหนุนเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย 3 หมื่นล้านบาทคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 คงที่ 3 ปีแรก วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้รายย่อยชั้นดี (MLR) และการขอผ่อนปรนการจัดทำเครดิตรายบุคคล
รัฐบาลต้องการให้มาตรการนี้ออกมาภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นอกเหนือจากการกระตุ้นภาคอิเลคทรอนิกส์ ยานยนต์ และการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีหลายประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ อาทิ
ทำให้สถาบันการเงินขาดความยืดหยุ่นในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
การอุดหนุนสินเชื่อซื้อบ้าน โดยกำหนดดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ใน 3 ปีแรก และกำหนดอัตราดอกเบี้ย MLR ในระยะยาว แม้จะเป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่การกำหนดอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวอาจจะสร้างภาระให้กับสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐที่จะต้องถูกบังคับให้เข้าร่วมโครงการนี้
ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
1) นำค่าชำระดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านมาหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 1 แสนบาท จากเดิม 5 หมื่นบาท
2) ลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือร้อยละ 0.01 จากเดิมร้อยละ 2 และลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 จากเดิมร้อยละ 1 โดยครอบคลุมบ้านมือสองและสินทรัพย์รอการขายด้วย
3) อุดหนุนเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย 3 หมื่นล้านบาทคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 คงที่ 3 ปีแรก วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้รายย่อยชั้นดี (MLR) และการขอผ่อนปรนการจัดทำเครดิตรายบุคคล
รัฐบาลต้องการให้มาตรการนี้ออกมาภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นอกเหนือจากการกระตุ้นภาคอิเลคทรอนิกส์ ยานยนต์ และการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีหลายประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ อาทิ
ทำให้สถาบันการเงินขาดความยืดหยุ่นในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
การอุดหนุนสินเชื่อซื้อบ้าน โดยกำหนดดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ใน 3 ปีแรก และกำหนดอัตราดอกเบี้ย MLR ในระยะยาว แม้จะเป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่การกำหนดอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวอาจจะสร้างภาระให้กับสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐที่จะต้องถูกบังคับให้เข้าร่วมโครงการนี้
การกำหนดมาตรการเช่นนี้จะทำให้สถาบันการเงินขาดยืดหยุ่นในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ แม้ลูกหนี้มีความเสี่ยงมาก แต่สถาบันการเงินกลับต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ย MLR ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด สถาบันการเงินจะต้องแบกรับความเสี่ยงไว้เอง และเป็นภาระความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะจะผันแปรตามภาวะเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินด้วย
ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
การขอให้ภาครัฐผ่อนปรนการจัดทำเครดิตรายบุคคล มาจากเหตุผลที่ว่า ที่ผ่านมา สถาบันการเงินมีการใช้ข้อมูลเครดิต (เครดิตบูโร) ร่วมกัน เพื่อการพิจารณาสินเชื่อรายบุคคล ทำให้เกิดปัญหาประชาชนจำนวนหนึ่งขอสินเชื่อซื้อบ้านไม่ผ่าน อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าภาครัฐควรพิจารณามาตรการนี้อย่างรอบคอบ ภาครัฐไม่ควรผ่อนปรนเรื่องดังกล่าวเพียงเพราะต้องการช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาข้อมูลเครดิตรายบุคคล จนละเลยการรักษาวินัยด้านการเงิน แต่ควรปล่อยให้สถาบันการเงินบริหารความเสี่ยงด้วยตนเอง เนื่องจากจะทำให้นโยบายของภาครัฐขาดความน่าเชื่อถือ และอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-04-20