ไทยควรเร่งพัฒนาการเกษตร เพื่อแข่งขันในเวทีประชาคมอาเซียน 2558
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดปี 2558 จะมีภาคหนึ่งที่เสียเปรียบมาก คือ ภาคเกษตรเพราะเกษตรไทยผลิตผลผลิตมาประมาณ 10% ของรายได้มวลรวมประชาชาติ (GDP) มีคนเกือบครึ่งหนึ่งหรือ เกือบ 40% แน่นอนว่าคนภาคเกษตรของเราจน และพอมาเจอ ASEAN Economic Communityหรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเข้าไปอีก ก็จะยิ่งทำให้เกิดมีบางภาคได้เปรียบและบางภาคเสียเปรียบ สุทธิแล้วทุกคนจะดีขึ้นทุกประเทศ แต่ในประเทศไทยของเราเมื่อเข้าสู่ประชาคมนี้อย่างเต็มรูปแบบ ภาคหนึ่งที่มักจะเสียเปรียบพอสมควรโดยรวมๆคือภาคเกษตร เพราะเกษตรนั้นมีคนชนบทอยู่มาก จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปถ้าเราไม่เตรียมตัวภาคเกษตรให้ดี
ผมได้เสนอเรื่องนี้มานานเป็นบทความข้อเขียนตั้งแต่เราเริ่มต้นมีข่าวเรื่องจะเกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาจจะยาวยี่สิบปีมาแล้วว่า ต้องชดเชยคนเสียเปรียบ คนได้เปรียบต้องชดเชยคนเสียเปรียบ ถามว่ากลไกลการชดเชยถ้าไม่เกิดจะเกิดอะไรขึ้น คนที่เดือนร้อนเขาไม่ได้มีความผิด เขาทำอาชีพนี้ตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำมายาวนานเป็นร้อยปี แล้วอยู่ดีๆรัฐบาลก็มาเซ็น(แกร๊กเดียว) ปรากฏว่าคนเหล่านี้ตกงานเลยค้าขายไม่ได้ โดยเฉพาะผลิตแล้วไม่มีใครซื้อเพราะของตัวเองผลิตมาแพงกว่าคนอื่น และถูกทำลายล้างให้หมดไปจากโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย ก็น่าสงสารมากเพราะไม่ใช่ความผิดของเขา เพราะเรามีการโยกนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คนเสียเปรียบเหล่านี้ เราต้องชดเชยเขา ชดเชยก็ต้องเอาคนที่ได้เปรียบจากการทำสัญญานี้มาช่วยคนที่เสียเปรียบ ฉะนั้นจะช่วยอย่างไร ถ้าเราไม่จัดระเบียบ แต่ถ้าเราจัดระเบียบดีๆก็จะต้องใช้วิธีกลไกตลาดที่ผมเคยเสนอมาแล้ว นั่นก็คือ คนไหนที่ต้องการให้มีการปกป้อง ไม่ปกป้องอุตสาหกรรม หรือภาคเศรษฐกิจใด จำเป็นจะต้องมีกลไกตลาดในการที่จะประมูล ผมคิดแนวใหม่ให้และพอได้ส่วนเกินนี้มา ก็นำมาแจกคนที่ยากจน ที่อยู่ในภาคที่เสียเปรียบ จึงทำให้เกิดการชดเชย ทำแบบนี้จะมีเงินพอชดเชย แต่ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็จะเกิดแบบที่เห็นเป็นประจำ คือ พอคนไหนเสียเปรียบ รัฐก็ไม่สนใจ เขาก็ร้องแร่แห่กระเชอ พอรัฐไม่ได้ยิน เขาก็มาเดินขบวน มาปิดล้อมทำเนียบ เหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นเป็นประจำ ทำให้ต้นทุนแพงที่รัฐบาลต้องมาแก้ปัญหาเป็นจุดๆ ต้นทุนเวลาของรัฐบาลแทนที่จะใช้เวลาไปดูแลประเทศให้ผาสุก ก็เสียเวลากับปัญหาหลายเรื่องมากมายไปหมด ต้นทุนประชาชนก็แพง เพราะว่ากว่าจะได้การเหลียวแลก็ต้องมานอนค้างหน้าทำเนียบ ก็เป็นเรื่องที่ไร้สาระที่รัฐที่ฉลาดต้องมองการไกลและแก้ปัญหาจริง ผมคิดว่าภาคเกษตรบางตัวจะเกิดปัญหาร้ายแรงตามมาอย่างแน่นอน และภาคเกษตรเราอยู่กับสินค้าบางตัวเป็นหลักก็จะเกิดปัญหาตามมา ยกตัวอย่าง ข้าว ข้าวเราสู้เวียดนามไม่ได้เพราะว่าต้นทุนเวียดนามถูกกว่า จะเหลือแต่ข้าวหอมมะลิ ข้าวประเภทหอมๆที่ยังอยู่ได้ ส่วนข้าวอื่นๆในอนาคตจะอยู่อย่างไร ชาวนาที่ปลูกข้าวต้องมาร้องเรียนแน่นอน ผมยังคิดถึงอีกหลายอย่างเลย ตอนนี้ยางราคาดีมากเพราะว่าจีนซื้อเรียบหมดเลย ก็เลยปลูกยางกันทั่วประเทศ ถ้าวันใดจีนเลิกซื้อขึ้นมาเพราะว่ามีมากเพียงพอ มีสิ่งอื่นทดแทน เช่น ยางสังเคราะห์ หรือจะมีจากแหล่งอื่นที่ถูกกว่า เช่นเขมร หรือจากที่อื่นที่ถูกกว่าเรา ยางก็จะเดือนร้อนและต้องระวังเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเพลินกับสิ่งที่เราได้มา และในความเป็นจริงต้นยางที่เราปลูกกันทั้งประเทศนี้ จะบอกความลับให้คือเราปลูกโดยใช้ tissue culture ทันสมัยก็เลยมีหน้าตาทางชีวะวิทยาคล้ายกันไปหมด ดังนั้นถ้าเกิดการมีโรคระบาดมาครั้งหนึ่ง ก็จะตายกันทั้งประเทศเกิดความอันตรายมาก ฉะนั้นต้องคิดดีๆในโลกที่ต้องอยู่ในประชาคมอาเซียนนี้ ภาคเกษตรมีปัญหามาก ผมอยากฝากให้คิดรายย่อยๆจะอยู่รอดได้อย่างไร เราต้องรวมกันเป็นรายใหญ่ๆ อาจจะใช้สหกรณ์นำมาปฎิรูป ปฎิรูปสหกรณ์ใหม่ให้ต่อผืนไร่ผืนนาให้เป็นผืนใหญ่จะได้ต้นทุนต่อไร่ถูกลง ใช้เครื่องมือเกษตรกรรม เช่น แทรคเตอร์ เครื่องมือการใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นได้ เป็นฟาร์มขนาดใหญ่แต่ว่ามาจัดระบบสหกรณ์ใหม่ ยังสามารถช่วยรายย่อยได้ รายเล็กๆจริงๆอาจจะต้องหาจุดแกร่งบางอย่างที่จะต้องแสดงจุดแตกต่างที่ได้ผลที่ผลิตสิ่งที่คนอื่นๆเขาไม่ทำกัน เพื่อที่เราจะเห็นคุณค่าและราคา อาจอยู่รอดได้ในรายเล็กแต่ต้องมีจุดแกร่ง ผมเสนอ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น เขาฉลาด เขาทำแตงโมลูกสี่เหลี่ยมจะได้แพ็คง่าย อย่างนี้เรียกว่าจุดแกร่ง ถ้าเราจะสามารถหาจุดที่เราผลิตอะไรออกมาแล้วอยู่รอดได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดี คอรัปชั่นก็ต้องเลิก เงินที่คอรัปชั่นทั้งหลายก็นำมาทำชลประธานให้เกษตรกร ดำเนินการหาพันธุ์พืชที่ดีๆ หาพันธุ์สัตว์ที่ดีๆเพื่อทำให้ผลผลิตมันดี ต่อไร่ก็จะเป็นผลดีต่อเกษตรกรทำโครงสร้างพื้นฐานในด้านเกษตรให้ดี ทำการแบ่งเขต(zoning)เกษตรให้ดีว่าตรงไหนดินฟ้าอากาศเหมาะๆตรงไหนจะเพาะปลูกอะไร
สิ่งนี้ได้เสนอมายี่สิบปีแล้วในหนังสือเศรษฐกิจกระแสกลางของผม ก็ยังตอกย้ำให้ชัดเจนยาวนานเท่าไหร่ว่าควรทำเสียทีอยากฝากว่าถ้าไม่เตรียมตัวอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกการชดเชยคนที่เสียเปรียบปัญหาก็จะตามมามากมายเลยหลังจากที่มีประชาคมอาเซียนเต็มรูปแบบปี 2558