จากแนวคิดคลื่นลูกที่ห้าสู่วิสัยทัศน์การสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแห่งปัญญา

ไม่ว่าจะใช้สำนักคิดใด เป้าหมายในการพัฒนาประเทศหรือแม้แต่การพัฒนาเมืองก็ล้วนมีเป้าหมายสุดท้ายคือคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทั้งสิ้น ซึ่งเงื่อนไขจำเป็นหนึ่งของการที่ประชากรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็คือสังคมจะต้องมีประสิทธิภาพในการผลิต (Productive society) ผลผลิตทุกอย่างย่อมเกิดจากการนำ ldquo;ปัจจัยการผลิตrdquo; มาผ่านกระบวนการผลิต ดังนั้นสังคมหนึ่งจะยืนอยู่แถวหน้าในฐานะที่มีศักยภาพในการผลิตสูงได้นั้นก็จะต้องเป็นเจ้าแห่งปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่อรูปแบบการผลิตของยุคนั้นๆ

ความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของกรุงเทพมหานครล้วนได้มาโดยการได้ครอบครองปัจจัยแห่งยุคโดย ldquo;บังเอิญrdquo; ไม่ได้เกิดจากการวางแผนอย่างตั้งใจ เมื่อประมาณ 500 กว่าปีที่แล้ว ldquo;บางกอกrdquo; สามารถถือกำเนิดเป็นเมืองได้ เนื่องจากบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีในปัจจุบันนั้นมีความพอเหมาะพอดีทั้งในแง่ของภูมิประเทศที่สามารถให้เรือมาจอดเทียบท่าได้ และในแง่ของทำเลที่ตั้งที่อยู่ระหว่างอยุธยาที่เจริญรุ่งเรืองและปากแม่น้ำ เมื่อแรกสร้างเมืองนั้นบางกอกจึงทำหน้าที่เป็น ldquo;ศุลกากรrdquo; ของกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำก็ทำให้บางกอกสามารถเลี้ยงตัวเองได้ด้วยเกษตรกรรม
บนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจจาก ldquo;คลื่นลูกที่หนึ่งrdquo; หรือเกษตรกรรมมาสู่ ldquo;คลื่นลูกที่สองrdquo; หรือเป็นอุตสาหกรรมนั้น แม้กรุงเทพมหานครจะสามารถปรับตัวได้อย่างสวยงาม แต่ความสำเร็จของกรุงเทพมหานครในการดึงปัจจัยการผลิตที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มาจากบริบทภายนอกที่เอื้ออำนวย มากกว่าที่จะมาจากการวางแผน



ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างน้อยสองชนิดสำหรับอุตสาหกรรมคือทุนทางกายภาพและแรงงานราคาถูก ในด้านทุนทางกายภาพ เช่น เครื่องจักร นั้น กรุงเทพ ldquo;บังเอิญrdquo; ได้รับอานิสงค์จากญี่ปุ่นซึ่งจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตหลังข้อตกลง Plaza Accord กรุงเทพซึ่งดูเป็นเมืองที่พร้อมที่สุดในตอนนั้นเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นแหล่งดึงดูดเงินลงทุนชั้นดี ส่วนในด้านแรงงานนั้น กรุงเทพมีฐานะเป็นหัวหอกของการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ จึงสามารถดึงแรงงานราคาถูกจากภูมิภาคซึ่งยังติดอยู่ใน ldquo;คลื่นลูกที่หนึ่งrdquo; ด้วยความต่างของค่าจ้างอย่างชัดเจน

เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว กรุงเทพพยายามที่จะเกาะกระแสของ ldquo;คลื่นลูกที่สามrdquo; เพื่อจะเป็นสังคมแห่งข้อมูลสารสนเทศ รัฐบาลกลางได้ตั้งเป้าให้กรุงเทพเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยก่อตั้งกรุงเทพวิเทศธนกิจ (BIBF) ในปี 2535 ด้วยการขาดเงื่อนไขจำเป็นเช่นการมีกฎระเบียบเพื่อควบคุมพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงของสถาบันการเงิน ภาพที่ฝันไว้สวยหรูจึงพังทลายอย่างไม่มีชิ้นดีในเวลาเพียง 5 ปี และนั่นเป็นสัญญาณแรกที่บอกให้รู้ว่าโอกาสและกรุงเทพกำลังจะหมดลง

มีบางคนเคยกล่าวว่าวิกฤติการณ์การเงินและเศรษฐกิจปี 2540 เป็นการปลุกให้คนไทย (รวมทั้งคนกรุงเทพ) ตื่นขึ้นมาจากความฝันอันสวยหรูเพื่อรับรู้ความเป็นจริง คำพูดนี้อาจจะถูกต้อง ผมคิดว่าเราที่ส่วนใหญ่มีฐานะเป็นคนกรุงเทพนั้น ต้องเผชิญกับความจริงที่ว่าความ ldquo;บังเอิญrdquo; ที่กำลังจะลาจากเราไป และถูกแทนที่ด้วยความเป็นจริงที่ไม่น่าอภิรมย์นักอันกำลังถาโถมมาภายในปี 2020 นี้
 

ปัจจัยที่เคยหนุนให้กรุงเทพรุ่งเรืองใน ldquo;คลื่นลูกที่สองrdquo; หรือเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมนั้นกำลังจะหายไป สำหรับปัจจัยด้านกำลังแรงงานนั้น ประเทศไทยรวมทั้งกรุงเทพกำลังเข้าสู่ ldquo;สังคมผู้สูงอายุrdquo; (Aging Population) จากการฉายภาพประชากรไทยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สัดส่วนประชากรในเขตกทม.ที่อายุเกิน 60 ปี จะเพิ่มจากร้อยละ 9.6 ในปี 2008 เป็นร้อยละ 16.9 ของประชากรในกรุงเทพทั้งหมดในปี 2020 ซึ่งถือว่าเพิ่มเกือบ 2 เท่า พร้อมๆ กับภาวะที่ประชากรวัยทำงาน (15-60 ปี) มีจำนวนลดลง และมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 70.4 ในปี 2008 เหลือร้อยละ 65.4 ในปี 2020

ปรากฏการณ์สังคมผู้สูงอายุนั้นมีผู้ศึกษาและพูดถึงประเด็นเรื่องปัญหาสวัสดิการผู้สูงอายุไปมากแล้ว แต่ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ ldquo;หน้าต่างแห่งโอกาสrdquo; (window of opportunity) ของประเทศไทยและกรุงเทพกำลังจะปิดลงภายในปี 2020 เนื่องจากประเทศจะขาดแรงงานในวัยหนุ่มสาวเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ความจริงแล้วปฐมบทของสิ่งที่ผมคาดการณ์นั้นได้เริ่มไปแล้ว เราได้เห็นอัตราการว่างงานที่ต่ำเพียงร้อยละ 1 ซึ่งอาจถือว่าต่ำที่สุดในโลก เราได้เห็นการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างชาติเพื่อชดเชยการขาดแคลนแรงงาน ปัญหานี้จะทวีความรุนแรงขึ้นอีกมากในปี 2020

สำหรับปัจจัยด้านทุนกายภาพนั้น เมื่อเทียบกับเมืองอื่นในโลกแล้วกรุงเทพไม่ใช่เมืองที่มีเงินถุงเงินถัง ทุนทางภายภาพจำนวนมากในกรุงเทพจึงมีเหตุมาจากการไหลเข้าของทุนต่างประเทศ แต่ปัจจุบันกรุงเทพมีคู่แข่งในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้นมากมายกว่าช่วงปลายทศวรรษ 80rsquo;s ถึงต้นทศวรรษ 90rsquo;s เราจึงหวังให้ภายในปี 2020 มีเหตุการณ์แบบช่วงนั้นอีกคงจะไม่ได้

กรุงเทพได้ก้าวผ่านคลื่นลูกที่หนึ่งไปเรียบร้อยแล้ว และกำลังสับสนปนเประหว่างคลื่นลูกที่สองและลูกที่สามซึ่งก็กำลังจะผ่านไปเช่นกัน ผมมองเห็นคลื่นลูกที่สี่และลูกที่ห้าที่กำลังตามมาติดๆ กันและคงเห็นเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนในปี 2020 ที่กำลังจะมาถึง

ในอดีตกาล บางสังคมเคยวัดความร่ำรวยของคนจากจำนวนวัวหรือแกะ แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและปศุสัตว์แบบ Mass Production วัวหรือแกะก็กลายเป็นของสามัญที่คนกินกันทุกวันและไม่มีความหมายอันใด สิ่งนี้สะท้อนการเปลี่ยนจากยุคเกษตรกรรมมาเป็นยุคอุตสาหกรรม และในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้เราก็เห็นชัดเจนว่าทิศทางของความมั่งคั่งเปลี่ยนจากเจ้าของทุนกายภาพ เช่น เจ้าของโรงงาน มาเป็นผู้กุมช่องทางการไหลของการติดต่อสื่อสาร เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และมาเป็นอินเตอร์เน็ตในที่สุด นี่เป็นการสะท้อนจุดสูงสุดของคลื่นลูกที่สามหรือสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร ผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยแห่งยุค นั่นก็คือ ldquo;สื่อrdquo; จึงได้ครอบครองความมั่งคั่งและอำนาจ

แต่อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคลื่นลูกสามกำลังจะซาไป สมัยก่อนข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องที่หาได้ยากยิ่ง แต่ปัจจุบันผมคิดว่ากำลังจะเกิด ldquo;การล้นทะลักของข้อมูลข่าวสารrdquo; ข้อมูลข่าวสารเริ่มเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ เช่น เราจะเห็นว่าเทคโนโลยีทางอินเทอร์เน็ตทำให้ปัจจุบันคนรู้ข่าวได้ไวมาก สถานีโทรทัศน์มิได้ผูกขาดในการเสนอข้อมูลอีกต่อไป และจะเข้าสู่คลื่นลูกที่สี่หรือ ldquo;สังคมแห่งความรู้rdquo; และสุดท้ายจะถึงคลื่นลูกที่ห้าหรือ ldquo;สังคมแห่งปัญญาrdquo; ในที่สุด
ในสังคมแห่งความรู้นั้นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอะไรใหม่ๆ จะเป็นมั่งคั่งขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว เงินทุนจะไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไปเพราะเงินทุนในโลกซึ่งมีอยู่มหาศาลจะไหลไปสู่คนที่มีความคิดที่ยอดเยี่ยม เช่นเราเห็นนักศึกษามหาวิทยาลัย Harvard ที่คิดเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการติดต่อกับเพื่อนอย่าง Facebook ก็กลายเป็นเศรษฐีได้ในเวลาไม่นาน ซึ่งผมเชื่อว่าในปี 2020 เศรษฐกิจในลักษณะนี้ซึ่งเรียกว่า ldquo;Creative Economyrdquo; จะกลายเป็นกระแสของเศรษฐกิจโลก หลังจากนั้นจะตามมาด้วยสังคมแห่งปัญญานั้นหมายรวมถึงการที่ ldquo;ความรู้คู่คุณธรรมrdquo; เพราะผมเชื่อว่าลึกที่สุดแล้ว มนุษย์แสวงหา ldquo;แบบแห่งความดี ความงาม และความจริงrdquo; ในที่สุด
 


หากผู้บริหารกรุงเทพมหานครอยากให้คนกรุงเทพฯ มีคุณภาพชีวิตที่ทัดเทียมกับเมืองอื่นของโลก เงื่อนไขจำเป็นก็คือการมีเศรษฐกิจที่ได้รับการพัฒนาให้รุดหน้าซึ่งจะเอื้อให้มีทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามมาได้ แต่ทั้งนี้ตัวการพัฒนาเศรษฐกิจเองต้องมิใช่กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ตามมาเสียเอง

ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่าการตั้งวิสัยทัศน์เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเจ้า ldquo;ปัจจัยแห่งยุคrdquo; เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง และขอยืนยันว่าการทำให้คนกรุงเทพโดยเฉพาะเด็กกรุงเทพคิดเป็นและมีความคิดสร้างสรรค์พร้อมด้วยคุณธรรมนั้นไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายที่ดีอันหนึ่ง แต่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะเป็นคานงัดเพื่อจะเปลี่ยนกรุงเทพของเราในอนาคต

ดังนั้นในแง่ของการออกแบบนโยบายนั้น ต้องมีนโยบายจำนวนมากเพื่อสร้างระบบที่จะกระตุ้นให้เด็กกรุงเทพฯ แสวงหาการเรียนรู้และมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ต้องมีการจัดแข่งขันระดับชาติประจำปีในทุกแขนงวิชาและสาขาทักษะอย่างยิ่งใหญ่เพื่อจูงใจให้เด็กเกิดความอยากพัฒนาตนเองให้เป็นเลิศในด้านของตน เป็นต้น รวมทั้งการสร้างระบบเพื่อทำให้ ldquo;คนทำดีได้ดีrdquo; เช่น การพัฒนาให้มีสมุดพกความดีขึ้นมานอกเหนือจากเกรดเฉลี่ย นี่เป็นเพียงตัวอย่างน้อยนิดของนโยบายที่จะสนับสนุนให้คนกรุงเทพมีความรู้และปัญญา
ผมฝันอยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งปัญญาครับ

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2009-12-08