ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร?
เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลจีนและญี่ปุ่นได้ประชุมร่วมกันเพื่อหามาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของจีนและญี่ปุ่น มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเป็นที่สนใจของคนในโลกไม่น้อยไปกว่าในสหรัฐ เนื่องจากจีนและญี่ปุ่นถือเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน เป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าความร่วมมือระหว่างจีนและญี่ปุ่นนั้นจะทำเศรษฐกิจของจีนและญี่ปุ่นนั้นฟื้นตัวได้แค่ไหนและมีผลทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้เร็วขึ้นหรือไม่?
การวิเคราะห์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นจะช่วยให้เราเข้าใจการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกันเนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเชื่อเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น สำหรับผมแล้วผมเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในลักษณะของ ldquo;ตัว Urdquo; เนื่องจาก
เศรษฐกิจจะไม่ตกต่ำยาวนานเป็นรูปตัว ldquo;Lrdquo; เพราะ ในช่วงที่ผ่านมามีสัญญาณที่ดีขึ้น เช่น ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา เดือน เม.ย.ปรับเพิ่มเป็นบวกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางปี 2551 หรือ Bloomberg Professional Global Confidence Index จากการสำรวจผู้ใช้บริการ Bloomberg เพื่อประเมินความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลก ในเดือน เม.ย.สูงสุดรอบใน 11 เดือน เป็นต้น
ในสหรัฐและจีน เช่นเดียวกัน ไม่ใช่แค่เพียงดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีสัญญาณอื่นที่เห็นได้อีก เช่น ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐชี้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดที่ได้รับจาก 5 มลรัฐ จาก 12 มลรัฐ เป็นการรายงานถึงการผ่อนคลายจากภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจในประเทศหรือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ลดลง 345,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าที่คาดไว้ 520,000 ตำแหน่ง สะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐกำลังทุเลาลง
ในขณะที่จีนนั้นก็มีสัญญาณที่ดีเห็นได้จากเมื่อเดือนพ.ค. Morgan Stanley ปรับประมาณการณ์ GDP ปี 2009 เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 7 ndash; 8% อีกทั้งเดือนมี.ค.ดัชนี PMI (Purchasing Managerrsquo;s Index) เพิ่มขึ้นสู่ระดับที่สูงกว่า 50 ซึ่งเชื่อว่าผู้บริโภคยังคงซื้อบ้าน ซื้อรถ อย่างต่อเนื่อง หรือในไตรมาส 1 ของปี 2009 ยอดการปล่อยสินเชื่อ ที่สูงถึง 6.78 แสนล้าน เท่ากับยอดเงินกู้ตลอดทั้งปี 2550 เป็นต้น
นอกจากนี้เรายังได้เห็นความพยายามของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่จะดำเนินนโยบายร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมาแข็งแกร่งได้ โดยไม่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวยาวนานเหมือนปัญหาเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นกับญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1990
การฟื้นตัวจะไม่รวดเร็วเป็นรูปตัว ldquo;Vrdquo; เนื่องจาก ปัญหาต้องอาศัยระยะเวลาแก้ไข เศรษฐกิจโลกจะไม่ฟื้นตัวเร็ว เนื่องจาก ภาคการเงินของสหรัฐยังคงมีปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ทำให้ภาคการเงินเล็กลง อ่อนแอมากขึ้น ต้องใช้เวลาแก้ไข ประกอบกับบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ในสหรัฐต้องปิดกิจการและล้มละลาย ตั้งแต่ ต.ค. 2550 ndash; ต.ค.2551 มีร้านค้าปลีก Chain Store ในสหรัฐฯ ได้ปิดกิจการไปแล้วกว่า 5,289 แห่ง หรือ จีเอ็ม บริษัทผลิตรถยนต์ในสหรัฐ ต้องยื่นล้มละลายเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งด้วยเหตุนี้เองทำให้ภาคการผลิตยังคงมีปัญหา และการจ้างงานยังต่ำ กำลังซื้อของประชาชนยังไม่กลับคืนมามากนัก
นอกจากนี้ญี่ปุ่นซึ่งเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกก็ยังคงมีปัญหา ภาคการผลิตญี่ปุ่นเดือดร้อนหนัก เพราะ ปี 2551 นั้น บริษัท 12,681 แห่งล้มละลายในญี่ปุ่น โดยมีมูลค่าหนี้รวม 11,910 ล้านล้านเยน (4.65 ล้านล้านบาท) มากกว่าปี 2550 ถึงสองเท่า และญี่ปุ่นยังมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ การพึ่งการส่งออกในการฟื้นตัว แต่ความต้องการสินค้าลดลงทั่วโลก ทำให้ยอดส่งออกของญี่ปุ่นนั้นยังคงติดลบสูงมาก การหวังพึ่งภาคส่งออกเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสำหรับญี่ปุ่น จึงต้องอาศัยเวลา
** นำมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ตีพิมพ์เมื่อวันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2552