บัณฑิตเป็น ?สมอง ตา หู หัวใจ ปาก มือ? มดลูกของสังคม

สภาพสังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้ การอุดมศึกษานับเป็นแหล่งขุมกำลังในการผลิตองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญสู่สังคม เพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิตและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยควรตระหนักและให้ความสำคัญสร้าง ldquo;คนเก่ง ดีและกล้าrdquo; สู่สังคม เพื่อให้ตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักดิ์ศรี มีความสุข และมีส่วนพัฒนาสังคมด้วย ผมเสนอเป้าหมายและกรอบผลิตบัณฑิตให้มีลักษณะดังนี้
เป็นสมองให้สังคม คือ เป็นผู้มีข้อมูล เป็นนักคิด เป็นแหล่งช่วยคิดแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมตามความรู้ความสามารถตนเรียนให้รู้ลึกซึ้งถึงพรมแดนความรู้ในสาขาที่เรียน หมั่นแสวงหาความรู้ รู้กว้าง นักศึกษาควรสนใจศึกษาความรู้อื่นนอกเหนือสาขาที่ตนเรียน เพราะการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาในประเด็นต่าง ๆ ต้องใช้ความรู้บูรณาการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นสหวิทยาการ
เป็นตาให้สังคม มองเห็นแนวโน้มอนาคต โดย วิเคราะห์อดีต เข้าใจปัจจุบัน และชี้นำอนาคต โดยนักศึกษามีความสามารถคาดการณ์แนวโน้มความเป็นไปได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นที่พึ่งให้สังคมเห็นทิศทางอนาคตว่าจะไปอย่างไร โดยนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงอนาคต เป็นพื้นฐาน ซึ่งผมได้เขียนไว้ในหนังสือ ldquo;การคิดเชิงอนาคตrdquo;
เป็นหูให้สังคมจงหูไว แต่ไม่ใช่หูเบา ต้องมีหูที่เปิดรับฟังว่าสังคมว่าอะไร ต้องการสิ่งใด โดยฟัง วิเคราะห์กลั่นกรองสถานการณ์ จัดเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม มิใช่ทำเป็นไม่ร้อนรู้หนาวไม่ใช่เรื่องตัว แต่จงเป็นหูที่เปิดกว้าง - หูแนบพื้น หูแนบอยู่ที่ดินเข้าใกล้คนหลากประเภท อย่าฟังแบบล่องลอย แต่ต้องฟังแล้วคิด มีกลไกรับฟังอย่างเป็นระบบ
เป็นหัวใจให้สังคม เป็นผู้มีมโนธรรมเป็นลักษณะชีวิต มีจุดยืน กล้าแสดงออกและทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยอาจมีร่วมวิพากษ์และนำเสนอทางออกให้สังคมบนฐานคุณธรรมจริยธรรม พยายามไขว่คว้าเรียนรู้เชิงปรัชญา รู้ ความจริง ความดี ความงาม ทำกิจกรรมเชิงสาธารณะ โดยเรียนรู้และทำกิจกรรมที่ช่วยเหลือและพัฒนาสังคมร่วมด้วย
เป็นปากให้สังคม พูดแทนสังคม สะท้อนปัญหาและความทุกข์ยากสังคม เป็นกระบอกเสียงเสนอทางออกให้สังคม ทำหน้าที่เป็นปากให้กับสังคม โดยรวมกลุ่มนักศึกษาเข้มแข็ง เพื่อวิพากษ์และนำเสนอทางออก โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใด ยืนบนความถูกต้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
เป็นมือให้สังคม โดยเชื่อมโยงทฤษฎีวิชาการสู่ภาคปฏิบัติ ไม่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง ถลกแขนเสื้อทำจริง ทำเป็น ldquo;ตัวแบบrdquo; ให้สังคมได้เห็นและทำตาม แม้จะเป็นจุลภาพเล็ก ๆ เพื่อสังคมจะสามารถมาเลียนแบบแล้วเอาไปขยายผล
เป็นมดลูกให้สังคม ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องเป็น ldquo;มดลูกให้สังคมrdquo; คลอดกำเนิดและฟูมฟักเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นคนแบบที่เราต้องการ ให้เป็น ldquo;คนดี เก่ง กล้าrdquo; สู่สังคม
* นำมาจากหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ ฉบับวันศุกร์ที่8 สิงหาคม 2551
admin
Catagories: 
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2008-08-12