กรุงเทพฯ เสี่ยงน้ำท่วมขัง ต้องเตรียมรับมือ
กรุงเทพฯ เป็นเมืองหนึ่งที่ถูกจับตามองว่า สุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม อันเนื่องจากผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติถี่มากขึ้น โดยเฉพาะพายุจากทะเลจีนใต้ ผลการศึกษาหลายชิ้นที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) และหน่วยงานอื่น ๆ พบว่า ภายในปี พ.ศ.2558 จะมีเมืองอย่างน้อย 21 เมืองที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่ง มีความเสี่ยงสูงที่จะจมน้ำ โดยหนึ่งในนั้นคือ กรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ที่ส่งผลให้ กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองน้ำท่วมในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น การทรุดตัวของแผ่นดินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกรมแผนที่ทหารได้ทำการสำรวจพบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมามีการทรุดตัวของแผ่นดินในหลายพื้นที่ เขตที่ดินทรุดมากที่สุด คือ เขตบางกะปิ ทรุดตัวลงไปถึง 1 เมตร
การเตรียมการเพื่อรองรับน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ในขณะนี้เป็นเพียงการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำเหนือไหลหลากเท่านั้น ถือว่ายังมีความน่าเป็นห่วงว่า อาจไม่พอสำหรับการรับมือกับปัญหาปริมาณน้ำที่มีมาก รวมถึงกำลังสูบน้ำที่มีอยู่ อาจไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำที่มีมากหากเกิดพายุพัดเข้ามาทางปากแม่น้ำ
กรุงเทพฯ จึงอยู่ในความเสี่ยงสูงในการที่จะเกิดน้ำท่วมขังอย่างรุนแรง เป็นเหมือนเมืองอยู่ในน้ำ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในกรุงเทพฯ เท่านั้น รวมถึงหากมีน้ำท่วมขัง ที่จะส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง โดยเฉพาะน้ำเสียที่รวมกับน้ำในคลอง เป็นแหล่งรวมเชื้อโรค เช่น เชื้อราหรือโปรโตซัว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของทุกคน
การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมขังนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ กทม. ต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการประสาน ผลักดันการรับมือกับน้ำท่วม กับทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพราะเรื่องน้ำท่วม เป็นการจัดการน้ำทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการป้องกันปัญหาในอนาคต
ตัวอย่างเช่น จัดการน้ำก่อนมาถึง กทม. เน้นประสานกับจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ สร้างแนวป้องกันน้ำ เช่น การสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะของคลื่นตามชายฝั่ง ศึกษาแนวทางป้องกันปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานที่เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังต้องบริหารจัดงานงานประจำที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชาวกรุงเทพฯ ว่าน้ำจะไม่ท่วมขัง ด้วยสาเหตุท่อระบายน้ำอุดตัน คูคลองตื้น โดย กทม.จะมีป้ายกำหนดการขุดลอกคูคลอง และป้ายขุดลอกท่อระบายน้ำ ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อเป็นการแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบว่าทางกทม. ได้เข้ามาตรวจสอบแล้ว และกำหนดวันที่ชัดเจนว่า จะเข้ามาดำเนินการขุดลอกเมื่อไร หากทาง กทม. ไม่ได้เข้ามาดำเนินการตามที่ได้แจ้งไว้ ประชาชนสามารถร้องเรียนได้
เรื่องโลกร้อน น้ำท่วม ต้องเป็น ldquo;เรื่องร้อนrdquo; ที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาพูดคุย และเตรียมรับมือ โดยผมจะประสาน ผลักดันทุกฝ่าย เพื่อ กทม. ในปี 2020 จะเป็นเมืองน่าอยู่ ที่ชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องกลัวน้ำท่วม
Catagories:
Tags:
เผยแพร่:
หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์
เมื่อ:
2008-07-19
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ค่าแรงขั้นต่ำ: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
Total views: อ่าน 118 ครั้ง
การหมิ่นประมาท คือ ฆาตกรรมชื่อเสียง
Total views: อ่าน 84 ครั้ง
Passive Outcome
Total views: อ่าน 202 ครั้ง
เกียรติระบบ : Honour System สังคมให้เกียรติ หลู่เกียรติ ทอนเกียรติ ตู่เกียรติ
Total views: อ่าน 166 ครั้ง
ยุติสงคราม สร้างสันติภาพโลกถาวร (ซ้ำ)
Total views: อ่าน 149 ครั้ง